เถรี
21-10-2016, 16:35
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เราถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ดังที่ได้กล่าวไปตั้งแต่ตอนก่อนที่เราจะเจริญพระกรรมฐานแล้วว่า ส่วนใหญ่พวกเราไปไขว่คว้าหาหลักธรรมที่เกินความต้องการอย่างแท้จริง แทนที่จะมุ่งตรงเข้าหา ศีล สมาธิ ปัญญา ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เราก็ไปแสวงหาฤทธิ์เดชความสนุกสนานต่าง ๆ มาใส่ตัว ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติยากแล้ว ยังทำให้ยึดติดได้ง่ายด้วย
โดยเฉพาะว่า ในยุคสมัยนี้ความเป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคลก็ดี วิปจิตัญญูบุคคลก็ดี ทั้งสองประเภทนี้แทบจะไม่เหลือให้เห็นแล้ว พวกเราควรจะกำหนดตนเองว่า เราทั้งหลายเป็นแค่เนยยะ คือเวไนยสัตว์ที่สั่งสอนได้ แต่ต้องจ้ำจี้จ้ำไชกันอยู่บ่อย ๆ
การที่จะให้ครูบาอาจารย์ท่านมาจ้ำจี้จ้ำไชบ่อย ๆ ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แต่ตัวเราต้องรู้จักตักเตือนตนเอง ย้ำเตือนตนเองอยู่บ่อย ๆ ว่า เรามาปฏิบัติธรรม เราทำอะไร ? เพื่ออะไร ? อาการเตือนตนของตนทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราทั้งหลายรู้ตัว สำรวจตนเองดูว่าในหลักการปฏิบัติของเรามีข้อบกพร่องตรงไหนหรือไม่ ? ศีลทุกสิกขาบทมีข้อใดบกพร่องบ้าง ? การทำสมาธิของเราได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปบ้างหรือไม่ ? และท้ายสุดเราได้ใช้ปัญญาในการพินิจพิจารณาให้เห็น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนของร่างกายเรา ของร่างกายคนอื่น ของสัตว์อื่น ๆ บ้างหรือไม่ ? ถ้าเรารู้จักเตือนตนเองในลักษณะอย่างนี้ โอกาสที่เราปฏิบัติธรรมแล้วก้าวหน้าก็จะมีสูง
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ดังที่ได้กล่าวไปตั้งแต่ตอนก่อนที่เราจะเจริญพระกรรมฐานแล้วว่า ส่วนใหญ่พวกเราไปไขว่คว้าหาหลักธรรมที่เกินความต้องการอย่างแท้จริง แทนที่จะมุ่งตรงเข้าหา ศีล สมาธิ ปัญญา ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เราก็ไปแสวงหาฤทธิ์เดชความสนุกสนานต่าง ๆ มาใส่ตัว ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติยากแล้ว ยังทำให้ยึดติดได้ง่ายด้วย
โดยเฉพาะว่า ในยุคสมัยนี้ความเป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคลก็ดี วิปจิตัญญูบุคคลก็ดี ทั้งสองประเภทนี้แทบจะไม่เหลือให้เห็นแล้ว พวกเราควรจะกำหนดตนเองว่า เราทั้งหลายเป็นแค่เนยยะ คือเวไนยสัตว์ที่สั่งสอนได้ แต่ต้องจ้ำจี้จ้ำไชกันอยู่บ่อย ๆ
การที่จะให้ครูบาอาจารย์ท่านมาจ้ำจี้จ้ำไชบ่อย ๆ ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แต่ตัวเราต้องรู้จักตักเตือนตนเอง ย้ำเตือนตนเองอยู่บ่อย ๆ ว่า เรามาปฏิบัติธรรม เราทำอะไร ? เพื่ออะไร ? อาการเตือนตนของตนทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราทั้งหลายรู้ตัว สำรวจตนเองดูว่าในหลักการปฏิบัติของเรามีข้อบกพร่องตรงไหนหรือไม่ ? ศีลทุกสิกขาบทมีข้อใดบกพร่องบ้าง ? การทำสมาธิของเราได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปบ้างหรือไม่ ? และท้ายสุดเราได้ใช้ปัญญาในการพินิจพิจารณาให้เห็น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนของร่างกายเรา ของร่างกายคนอื่น ของสัตว์อื่น ๆ บ้างหรือไม่ ? ถ้าเรารู้จักเตือนตนเองในลักษณะอย่างนี้ โอกาสที่เราปฏิบัติธรรมแล้วก้าวหน้าก็จะมีสูง