เถรี
14-10-2016, 08:21
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เราถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือการปฏิบัติของพวกเรา ที่ส่วนหนึ่งอยู่ในลักษณะของคนใจร้อน ใจเร็ว อยากจะเร่งรัดให้สำเร็จอย่างนั้น ให้ได้อย่างนี้ ซึ่งลักษณะอย่างนั้นเป็นการวางกำลังใจที่ผิด เพราะว่าตัวอยากนั้นเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ทำให้กำลังใจของเราเข้าไม่ถึงความดี โดยเฉพาะคือทำให้ทรงฌานไม่ได้
เพราะว่าการที่เราจะทรงฌานได้ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น ต้องมีอุเบกขาประกอบอยู่ในอารมณ์ฌานทุกขั้นตอน ก็คือ องค์ฌานที่ประกอบไปด้วยวิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคตารมณ์นั้น ตัวเอกัคตารมณ์ คืออารมณ์ใจที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวนั่นแหละที่มีอุเบกขาอยู่ด้วย
การปฏิบัติภาวนาก็ดี การพิจารณาของเราก็ดี ต้องค่อย ๆ ตั้งใจทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ย่อท้อ เมื่อเราเกิดฉันทะ คือความยินดีและพอใจขึ้นมาแล้ว ก็เท่ากับว่าเราเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งต้นกรรมฐานลงไป ก็ต้องตั้งหน้าตั้งตารดน้ำพรวนดิน เพื่อให้ต้นกรรมฐานของเราค่อย ๆ งอกงามขึ้นมา แต่พวกเราส่วนใหญ่แล้วไปใจร้อน บางทีเพิ่งขึ้นมายังมีแค่ใบเลี้ยง แต่ไปดึงยอดเพื่อให้โตเร็ว ๆ ก็มีแต่จะโดนถอนหลุดขึ้นมาทั้งรากทั้งโคน
ต้นไม้กรรมฐานของเรานั้น เมื่อถึงวาระที่เหมาะสม ย่อมออกดอกออกผลให้พวกเราได้ชื่นชมกันเอง ถ้าไม่ถึงวาระ ต่อให้เราพยายามให้ตายอย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะมีดอกมีผลให้เราชื่นชมได้ ก็แปลว่าเราต้องทุ่มเทกับการปฏิบัติ ค่อย ๆ สะสม ศีล สมาธิ ปัญญา ของเราไปเรื่อย ๆ พอถึงระดับที่เพียงพอแล้ว ผลตอบแทนก็ย่อมเกิดขึ้น คือเราสามารถทรงฌานสมาบัติได้ สามารถนำเอากำลังฌานนั้นไปกดกิเลสได้ เมื่อกดกิเลสได้แล้ว ฌานยังเป็นเครื่องช่วยให้สภาพจิตมีกำลังในการตัดกิเลสนั้นด้วย
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือการปฏิบัติของพวกเรา ที่ส่วนหนึ่งอยู่ในลักษณะของคนใจร้อน ใจเร็ว อยากจะเร่งรัดให้สำเร็จอย่างนั้น ให้ได้อย่างนี้ ซึ่งลักษณะอย่างนั้นเป็นการวางกำลังใจที่ผิด เพราะว่าตัวอยากนั้นเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ทำให้กำลังใจของเราเข้าไม่ถึงความดี โดยเฉพาะคือทำให้ทรงฌานไม่ได้
เพราะว่าการที่เราจะทรงฌานได้ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น ต้องมีอุเบกขาประกอบอยู่ในอารมณ์ฌานทุกขั้นตอน ก็คือ องค์ฌานที่ประกอบไปด้วยวิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคตารมณ์นั้น ตัวเอกัคตารมณ์ คืออารมณ์ใจที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวนั่นแหละที่มีอุเบกขาอยู่ด้วย
การปฏิบัติภาวนาก็ดี การพิจารณาของเราก็ดี ต้องค่อย ๆ ตั้งใจทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ย่อท้อ เมื่อเราเกิดฉันทะ คือความยินดีและพอใจขึ้นมาแล้ว ก็เท่ากับว่าเราเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งต้นกรรมฐานลงไป ก็ต้องตั้งหน้าตั้งตารดน้ำพรวนดิน เพื่อให้ต้นกรรมฐานของเราค่อย ๆ งอกงามขึ้นมา แต่พวกเราส่วนใหญ่แล้วไปใจร้อน บางทีเพิ่งขึ้นมายังมีแค่ใบเลี้ยง แต่ไปดึงยอดเพื่อให้โตเร็ว ๆ ก็มีแต่จะโดนถอนหลุดขึ้นมาทั้งรากทั้งโคน
ต้นไม้กรรมฐานของเรานั้น เมื่อถึงวาระที่เหมาะสม ย่อมออกดอกออกผลให้พวกเราได้ชื่นชมกันเอง ถ้าไม่ถึงวาระ ต่อให้เราพยายามให้ตายอย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะมีดอกมีผลให้เราชื่นชมได้ ก็แปลว่าเราต้องทุ่มเทกับการปฏิบัติ ค่อย ๆ สะสม ศีล สมาธิ ปัญญา ของเราไปเรื่อย ๆ พอถึงระดับที่เพียงพอแล้ว ผลตอบแทนก็ย่อมเกิดขึ้น คือเราสามารถทรงฌานสมาบัติได้ สามารถนำเอากำลังฌานนั้นไปกดกิเลสได้ เมื่อกดกิเลสได้แล้ว ฌานยังเป็นเครื่องช่วยให้สภาพจิตมีกำลังในการตัดกิเลสนั้นด้วย