เถรี
26-04-2016, 19:09
ให้ทุกคนนั่งในท่าที่ที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง เอาความรู้สึกไว้ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกแนบชิดติดกับลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกแนบชิดติดกับลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ จะขอกล่าวถึงหลักการปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ หลักอินทรียสังวร คือ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา
การที่เราประพฤติปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะการนั่งสมาธิภาวนาทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เรามีกำลังเข้มแข็งเพียงพอที่จะตัดกิเลสต่าง ๆ ได้ แต่ว่าทุกท่านส่วนมากแล้ว ร้อยละ ๙๙ มักจะปล่อยให้กำลังของตนรั่วไหลออกไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จนหมด ทุกครั้งที่ปฏิบัติได้ก็ปล่อยให้รั่วไหลไปหมด กำลังจึงไม่เพียงพอที่จะสู้กิเลส ต่อต้านกิเลส หรือตัดกิเลสได้เสียที
ในเมื่อสู้ไม่ได้ก็ไม่สามารถต้านทานได้ เมื่อไม่สามารถต้านทานได้ ก็ไม่สามารถที่จะตัดละได้ นี่เป็นเรื่องปกติ แต่ที่เสียดายคือเวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี เราเองไม่ควรที่จะโดนความทุกข์ต่าง ๆ มาเบียดเบียนอย่างหนักจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ยังโดนอยู่ร่ำไปเพราะว่าไม่รู้จักสำรวมอินทรีย์นั่นเอง
ถึงเวลาตาเห็นรูปจิตก็ไปปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดก็เช่นเดียวกัน ซึ่งการไปปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบนั้นเกิดโทษทั้งคู่ เพราะว่าความชอบเป็นอิฏฐารมณ์ อยู่ในส่วนของราคะ ก็เป็นกิเลสตัวใหญ่มหึมา ความไม่ชอบอยู่ในส่วนของโทสะ ก็เป็นกิเลสใหญ่มหึมาอีกตัวหนึ่ง
ทำอย่างไรที่เราจะระมัดระวัง สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเอาไว้ ไม่ให้ไปสนใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในใจ ? เราก็ต้องปฏิบัติภาวนาให้สมาธิทรงตัวให้มากกว่านี้ เมื่อทรงตัวแล้ว ก็พยายามที่จะระมัดระวังรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเอาไว้ ไม่ให้ไปนึกคิดปรุงแต่งกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ที่เข้ามาถึง
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ จะขอกล่าวถึงหลักการปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ หลักอินทรียสังวร คือ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา
การที่เราประพฤติปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะการนั่งสมาธิภาวนาทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เรามีกำลังเข้มแข็งเพียงพอที่จะตัดกิเลสต่าง ๆ ได้ แต่ว่าทุกท่านส่วนมากแล้ว ร้อยละ ๙๙ มักจะปล่อยให้กำลังของตนรั่วไหลออกไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จนหมด ทุกครั้งที่ปฏิบัติได้ก็ปล่อยให้รั่วไหลไปหมด กำลังจึงไม่เพียงพอที่จะสู้กิเลส ต่อต้านกิเลส หรือตัดกิเลสได้เสียที
ในเมื่อสู้ไม่ได้ก็ไม่สามารถต้านทานได้ เมื่อไม่สามารถต้านทานได้ ก็ไม่สามารถที่จะตัดละได้ นี่เป็นเรื่องปกติ แต่ที่เสียดายคือเวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี เราเองไม่ควรที่จะโดนความทุกข์ต่าง ๆ มาเบียดเบียนอย่างหนักจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ยังโดนอยู่ร่ำไปเพราะว่าไม่รู้จักสำรวมอินทรีย์นั่นเอง
ถึงเวลาตาเห็นรูปจิตก็ไปปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดก็เช่นเดียวกัน ซึ่งการไปปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบนั้นเกิดโทษทั้งคู่ เพราะว่าความชอบเป็นอิฏฐารมณ์ อยู่ในส่วนของราคะ ก็เป็นกิเลสตัวใหญ่มหึมา ความไม่ชอบอยู่ในส่วนของโทสะ ก็เป็นกิเลสใหญ่มหึมาอีกตัวหนึ่ง
ทำอย่างไรที่เราจะระมัดระวัง สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเอาไว้ ไม่ให้ไปสนใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในใจ ? เราก็ต้องปฏิบัติภาวนาให้สมาธิทรงตัวให้มากกว่านี้ เมื่อทรงตัวแล้ว ก็พยายามที่จะระมัดระวังรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเอาไว้ ไม่ให้ไปนึกคิดปรุงแต่งกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ที่เข้ามาถึง