เถรี
27-03-2016, 14:57
ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่ถนัดของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัด ไม่ว่าจะเป็น พุทโธ นะมะพะธะ สัมมาอะระหัง พองหนอยุบหนอ หรือจะเป็นตัวบทพระคาถาใด ๆ ก็ได้ ที่เราเคยภาวนาจนขึ้นใจมาแล้ว การกำหนดลมหายใจจะให้สัมผัสจุดเดียว ๓ จุด ๗ จุดหรือรู้ตลอดกองลมก็ได้
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เมื่อครู่นี้มีโยมถามว่า เปิดเสียงสวดมนต์ทั้งวัน จะมีผลอย่างไรบ้าง ? ซึ่งความจริงสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าการปฏิบัติภาวนาของเรานั้น สิ่งที่สำคัญก็คือต้องประคับประคองอารมณ์ใจของเรา ให้อยู่กับความดีให้ได้ทั้งวัน ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เราจะต้องมีเทคนิคและวิธีการซึ่งเหมาะเฉพาะตน แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ว่าจะทำอย่างไรที่ให้เรารักษาอารมณ์ใจเอาไว้ได้
อย่างอาตมาสมัยก่อน ตื่นเช้าขึ้นมาเจริญกรรมฐานตอนตี ๓ เมื่อล้างหน้าล้างตาเรียบร้อยแล้ว ก็จะอ่านหนังสือกรรมฐาน ๔๐ ของหลวงพ่อวัดท่าซุงหนึ่งบท โดยอ่านในลักษณะควบกับลมหายใจเข้าออกไปด้วย ซึ่งต้องบังคับตัวเองอย่างหนักว่าต้องอ่านให้จบ ไม่อย่างนั้นทันทีที่นึกถึงลมหายใจเข้าออก สมาธิจะทรงตัวไปเลย ก็ไม่อยากจะอ่านหนังสือแล้ว
ในระยะแรก ๆ ก็อาศัยคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง เป็นเครื่องโยงใจให้เป็นสมาธิ ทำให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมาก เมื่ออ่านจบแล้วก็นั่งภาวนาต่อไป หลังจากนั้นเมื่อภาวนาจนเต็มที่แล้ว อารมณ์ใจคลายออกมา ในช่วงนั้นยังไม่เข้าใจวิธีพินิจพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ก็จะอาศัยบทพระคาถาต่าง ๆ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยให้ไปทำ ซึ่งแต่ละบทท่านบอกว่าต้องภาวนาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็ทำมาจนเคยชิน
เมื่อมีผลแล้วไปกราบถวายรายงาน ท่านก็ให้คำชมและให้พระคาถาบทใหม่ที่มีผลอย่างอื่นมา เพื่อนำไปภาวนาต่อ ทำให้มีตัวบทพระคาถาเป็นจำนวนมาก จึงใช้วิธีกำหนดว่า เราจะภาวนาพระคาถาบทนี้ ๓๐ นาที บทนี้ ๓๐ นาที เป็นต้น
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เมื่อครู่นี้มีโยมถามว่า เปิดเสียงสวดมนต์ทั้งวัน จะมีผลอย่างไรบ้าง ? ซึ่งความจริงสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าการปฏิบัติภาวนาของเรานั้น สิ่งที่สำคัญก็คือต้องประคับประคองอารมณ์ใจของเรา ให้อยู่กับความดีให้ได้ทั้งวัน ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เราจะต้องมีเทคนิคและวิธีการซึ่งเหมาะเฉพาะตน แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ว่าจะทำอย่างไรที่ให้เรารักษาอารมณ์ใจเอาไว้ได้
อย่างอาตมาสมัยก่อน ตื่นเช้าขึ้นมาเจริญกรรมฐานตอนตี ๓ เมื่อล้างหน้าล้างตาเรียบร้อยแล้ว ก็จะอ่านหนังสือกรรมฐาน ๔๐ ของหลวงพ่อวัดท่าซุงหนึ่งบท โดยอ่านในลักษณะควบกับลมหายใจเข้าออกไปด้วย ซึ่งต้องบังคับตัวเองอย่างหนักว่าต้องอ่านให้จบ ไม่อย่างนั้นทันทีที่นึกถึงลมหายใจเข้าออก สมาธิจะทรงตัวไปเลย ก็ไม่อยากจะอ่านหนังสือแล้ว
ในระยะแรก ๆ ก็อาศัยคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง เป็นเครื่องโยงใจให้เป็นสมาธิ ทำให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมาก เมื่ออ่านจบแล้วก็นั่งภาวนาต่อไป หลังจากนั้นเมื่อภาวนาจนเต็มที่แล้ว อารมณ์ใจคลายออกมา ในช่วงนั้นยังไม่เข้าใจวิธีพินิจพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ก็จะอาศัยบทพระคาถาต่าง ๆ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยให้ไปทำ ซึ่งแต่ละบทท่านบอกว่าต้องภาวนาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็ทำมาจนเคยชิน
เมื่อมีผลแล้วไปกราบถวายรายงาน ท่านก็ให้คำชมและให้พระคาถาบทใหม่ที่มีผลอย่างอื่นมา เพื่อนำไปภาวนาต่อ ทำให้มีตัวบทพระคาถาเป็นจำนวนมาก จึงใช้วิธีกำหนดว่า เราจะภาวนาพระคาถาบทนี้ ๓๐ นาที บทนี้ ๓๐ นาที เป็นต้น