เถรี
23-02-2015, 21:03
ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ ในการปฏิบัติของพวกเรานั้น พูดง่าย ๆ ว่าต้องทำทุกวัน เหมือนกับที่เราต้องกินอาหารทุกวัน การที่ตัวเราต้องปฏิบัติธรรมทุกวัน ก็เพื่อเป็นการให้อาหารแก่ใจของเรา ส่วนใหญ่แล้วพวกเราให้แต่อาหารทางกาย อาหารทางใจไม่ค่อยได้ให้ สภาพจิตใจของเราจึงขุ่นมัว เศร้าหมอง จำเป็นจะต้องให้อาหารทางใจด้วยการปฏิบัติในสมาธิภาวนา ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ การตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเรา
เอาแค่หายใจเข้า ให้กำหนดความรู้สึกไหลตามเข้าไป ตั้งแต่ต้นจนสุดปลายของลม หายใจออกให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจออกมาจนสุดกองลม ถ้าเผลอสติคิดถึงเรื่องอื่นเมื่อไร เมื่อรู้สึกตัวก็ดึงความรู้สึกมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ กำหนดดู กำหนดรู้อย่างนี้ สมาธิก็จะค่อย ๆ ทรงตัวตั้งมั่น
อันดับแรกเลย ก็คือ สามารถหายใจเข้าและออกโดยรู้ตลอดกองลมได้ ลมหายใจของเราจะแรงหรือเบา จะยาวหรือสั้น ก็สามารถที่จะรู้อยู่ คำภาวนาอย่างไรก็รู้อยู่เช่นนั้น โดยที่สภาพจิตปราศจากนิวรณธรรมทั้ง ๕ คือห่างจาก กามฉันทะ ความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย หรือสัมผัสระหว่างเพศ
เว้นจากพยาปาทะ คือความโกรธเกลียด อาฆาตแค้น มุ่งร้ายจองเวรต่อผู้อื่น อุทธัจจะกุกกุจจะ ความหงุดหงิดฟุ้งซ่านรำคาญใจ ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน ตลอดจนกระทั่งชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ และวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่มั่นใจในคุณพระรัตนตรัย ว่าการที่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนนี้ จะมีผลดีจริงหรือไม่ เป็นต้น
ถ้าอารมณ์ใจของเราทรงตัว นิวรณธรรมทั้ง ๕ นี้จะโดนขับไล่ให้ห่างออกไป สภาพจิตของเราจะมีความผ่องใส สามารถรู้ลมหายใจเข้าออกได้โดยอัตโนมัติ สิ่งที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ไม่สามารถที่จะแทรกเข้ามาได้
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ ในการปฏิบัติของพวกเรานั้น พูดง่าย ๆ ว่าต้องทำทุกวัน เหมือนกับที่เราต้องกินอาหารทุกวัน การที่ตัวเราต้องปฏิบัติธรรมทุกวัน ก็เพื่อเป็นการให้อาหารแก่ใจของเรา ส่วนใหญ่แล้วพวกเราให้แต่อาหารทางกาย อาหารทางใจไม่ค่อยได้ให้ สภาพจิตใจของเราจึงขุ่นมัว เศร้าหมอง จำเป็นจะต้องให้อาหารทางใจด้วยการปฏิบัติในสมาธิภาวนา ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ การตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเรา
เอาแค่หายใจเข้า ให้กำหนดความรู้สึกไหลตามเข้าไป ตั้งแต่ต้นจนสุดปลายของลม หายใจออกให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจออกมาจนสุดกองลม ถ้าเผลอสติคิดถึงเรื่องอื่นเมื่อไร เมื่อรู้สึกตัวก็ดึงความรู้สึกมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ กำหนดดู กำหนดรู้อย่างนี้ สมาธิก็จะค่อย ๆ ทรงตัวตั้งมั่น
อันดับแรกเลย ก็คือ สามารถหายใจเข้าและออกโดยรู้ตลอดกองลมได้ ลมหายใจของเราจะแรงหรือเบา จะยาวหรือสั้น ก็สามารถที่จะรู้อยู่ คำภาวนาอย่างไรก็รู้อยู่เช่นนั้น โดยที่สภาพจิตปราศจากนิวรณธรรมทั้ง ๕ คือห่างจาก กามฉันทะ ความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย หรือสัมผัสระหว่างเพศ
เว้นจากพยาปาทะ คือความโกรธเกลียด อาฆาตแค้น มุ่งร้ายจองเวรต่อผู้อื่น อุทธัจจะกุกกุจจะ ความหงุดหงิดฟุ้งซ่านรำคาญใจ ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน ตลอดจนกระทั่งชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ และวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่มั่นใจในคุณพระรัตนตรัย ว่าการที่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนนี้ จะมีผลดีจริงหรือไม่ เป็นต้น
ถ้าอารมณ์ใจของเราทรงตัว นิวรณธรรมทั้ง ๕ นี้จะโดนขับไล่ให้ห่างออกไป สภาพจิตของเราจะมีความผ่องใส สามารถรู้ลมหายใจเข้าออกได้โดยอัตโนมัติ สิ่งที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ไม่สามารถที่จะแทรกเข้ามาได้