เถรี
27-12-2014, 08:52
ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า รวมความรู้สึกทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ตามอัธยาศัย
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคมวันสุดท้าย การปฏิบัติธรรมของพวกเรานั้น ขอให้ทุกคนจำให้แม่นว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราปฏิบัติในไตรสิกขา คือการศึกษาในศีล ในสมาธิ ในปัญญา เรื่องของศีลพวกเราคงไม่มีอะไรหนักใจแล้ว เพราะว่าส่วนใหญ่สามารถรักษาศีล ๕ ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ มีจำนวนไม่น้อยที่รักษาศีล ๘ เป็นปกติ และอีกหลายท่านก็พยายามที่จะรักษากรรมบถ ๑๐ แม้ว่าจะขาดตกบกพร่องบ้าง ก็พยายามที่จะทำให้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่น่าสรรเสริญ ดังนั้น..ในเรื่องของอธิสีลสิกขา คือการศึกษาในศีลนั้น เราก็แค่ทบทวนศีลทุกสิกขาบทของเราให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล
ในเรื่องของสมาธิ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจำนวนหนึ่ง มีความชำนาญในการเข้าสมาธิ เมื่อถึงเวลาก็สามารถทรงสมาธิได้เร็ว แต่ไม่สามารถที่จะทรงสมาธิแบบตั้งเวลาได้ และไม่สามารถที่จะออกสมาธิได้ทุกเวลาตามที่ตนต้องการ ตรงจุดนี้จำเป็นที่เราจะต้องซักซ้อมการเข้าออกสมาธิ จนกระทั่งมีความคล่องตัว นึกเมื่อไรก็เข้าหรือออกได้เมื่อนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าฌานตามลำดับ การเข้าฌานสลับไปมา การที่เราจะเข้าฌานในขณะที่เราทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งว่าการที่เราสามารถเข้าฌานได้ ในลักษณะของการดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาทั้งปวง เป็นต้น
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องมีการซักซ้อมอย่างจริงจัง เพื่อที่ถึงเวลา รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามา ในชั่วเสี้ยววินาทีที่เรารู้ตัว เราสามารถยกจิตขึ้นสู่ระดับฌานได้ทันทีทันใด ถ้าเป็นดังนั้น รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะทำอันตรายเราไม่ได้ ถ้าเป็นดังนี้จึงเรียกได้ว่าเราศึกษาในส่วนของอธิจิตสิกขา คือในส่วนของการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพียงพอที่จะรักษาตัวได้
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคมวันสุดท้าย การปฏิบัติธรรมของพวกเรานั้น ขอให้ทุกคนจำให้แม่นว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราปฏิบัติในไตรสิกขา คือการศึกษาในศีล ในสมาธิ ในปัญญา เรื่องของศีลพวกเราคงไม่มีอะไรหนักใจแล้ว เพราะว่าส่วนใหญ่สามารถรักษาศีล ๕ ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ มีจำนวนไม่น้อยที่รักษาศีล ๘ เป็นปกติ และอีกหลายท่านก็พยายามที่จะรักษากรรมบถ ๑๐ แม้ว่าจะขาดตกบกพร่องบ้าง ก็พยายามที่จะทำให้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่น่าสรรเสริญ ดังนั้น..ในเรื่องของอธิสีลสิกขา คือการศึกษาในศีลนั้น เราก็แค่ทบทวนศีลทุกสิกขาบทของเราให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล
ในเรื่องของสมาธิ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจำนวนหนึ่ง มีความชำนาญในการเข้าสมาธิ เมื่อถึงเวลาก็สามารถทรงสมาธิได้เร็ว แต่ไม่สามารถที่จะทรงสมาธิแบบตั้งเวลาได้ และไม่สามารถที่จะออกสมาธิได้ทุกเวลาตามที่ตนต้องการ ตรงจุดนี้จำเป็นที่เราจะต้องซักซ้อมการเข้าออกสมาธิ จนกระทั่งมีความคล่องตัว นึกเมื่อไรก็เข้าหรือออกได้เมื่อนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าฌานตามลำดับ การเข้าฌานสลับไปมา การที่เราจะเข้าฌานในขณะที่เราทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งว่าการที่เราสามารถเข้าฌานได้ ในลักษณะของการดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาทั้งปวง เป็นต้น
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องมีการซักซ้อมอย่างจริงจัง เพื่อที่ถึงเวลา รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามา ในชั่วเสี้ยววินาทีที่เรารู้ตัว เราสามารถยกจิตขึ้นสู่ระดับฌานได้ทันทีทันใด ถ้าเป็นดังนั้น รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะทำอันตรายเราไม่ได้ ถ้าเป็นดังนี้จึงเรียกได้ว่าเราศึกษาในส่วนของอธิจิตสิกขา คือในส่วนของการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพียงพอที่จะรักษาตัวได้