เถรี
13-12-2014, 07:00
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา พยายามให้จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก อย่าให้ขาดได้ ส่วนคำภาวนานั้น จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดและเคยชินมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ความจริงเป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมนั้น ทางวัดท่าขนุนมีงานบวชปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องเลื่อนวันสอนกรรมฐานขึ้นมาเป็นอาทิตย์นี้
สำหรับในการปฏิบัติของเรานั้น ที่พบมามากต่อมากเลยก็คือ เมื่อปฏิบัติแล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องได้ พูดง่าย ๆ ว่า เวลานั่งภาวนาแล้ว พอเปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นหรือไปทำสิ่งอื่น ก็จะหลุดจากการภาวนาไปเลย ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์เอาไว้ให้ต่อเนื่อง ดังนั้น..จึงหาความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้ยาก
อีกประเภทหนึ่งก็คือพออารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เกิดความปีติ อิ่มอกอิ่มใจ ชุ่มชื่นเยือกเย็นใจ ที่จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่ไม่ทราบว่าตนเองทำได้อย่างไรสภาพจิตจึงเป็นอย่างนั้น เมื่อเสวยผลไปจนหมด รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามากลุ้มรุมตนเองใหม่ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปสู่อารมณ์สงบได้อย่างเดิมอีก ซึ่งความจริงแล้วถ้าเรารู้จักพิจารณาว่า ก่อนที่จิตของเราจะสงบนั้น เราคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? แล้วเราก็ย้อนกลับไปคิดอย่างนั้น พูดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น เราก็สามารถที่จะสร้างกำลังใจคืนมาได้อีก
อีกประเภทหนึ่งก็คือ เมื่อปฏิบัติไปแล้วกำลังสมาธิสูง กดใจของตัวเองให้สงบจากกิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ได้เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะได้เป็นอาทิตย์ เป็นครึ่งเดือน เป็นเดือน เป็นหลาย ๆ เดือน แล้วเกิดความประมาท ไม่ทราบว่าอาการนี้คืออาการที่กำลังของสมาธิกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้สงบลง ไปเข้าใจว่าตนเองได้มรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าหากว่ามีแรงกระทบเข้ามา เกิดความขุ่นมัว เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมาอีก จึงได้รู้ตัวว่าที่แท้ตนเองยังไม่ได้อะไรเลย
ดังนั้น..นักปฏิบัติที่ดีนั้น ไม่ควรที่จะไปปักใจมั่นว่าตนเองได้อะไรแล้ว หากแต่กติกาความเป็นพระอริยเจ้ามีอย่างไร ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติไป ไม่ต้องไปใส่ใจว่าทำแล้วได้อะไร ทำแล้วได้ถึงไหน ถ้าหากว่าได้จริง อารมณ์ใจทรงตัวจริง ก็จะอยู่กับเราไปนานแสนนาน แต่ถ้าไม่ได้จริง เมื่อพบแรงกระทบ เดี๋ยวก็จะพังไปเอง
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ความจริงเป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมนั้น ทางวัดท่าขนุนมีงานบวชปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องเลื่อนวันสอนกรรมฐานขึ้นมาเป็นอาทิตย์นี้
สำหรับในการปฏิบัติของเรานั้น ที่พบมามากต่อมากเลยก็คือ เมื่อปฏิบัติแล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องได้ พูดง่าย ๆ ว่า เวลานั่งภาวนาแล้ว พอเปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นหรือไปทำสิ่งอื่น ก็จะหลุดจากการภาวนาไปเลย ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์เอาไว้ให้ต่อเนื่อง ดังนั้น..จึงหาความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้ยาก
อีกประเภทหนึ่งก็คือพออารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เกิดความปีติ อิ่มอกอิ่มใจ ชุ่มชื่นเยือกเย็นใจ ที่จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่ไม่ทราบว่าตนเองทำได้อย่างไรสภาพจิตจึงเป็นอย่างนั้น เมื่อเสวยผลไปจนหมด รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามากลุ้มรุมตนเองใหม่ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปสู่อารมณ์สงบได้อย่างเดิมอีก ซึ่งความจริงแล้วถ้าเรารู้จักพิจารณาว่า ก่อนที่จิตของเราจะสงบนั้น เราคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? แล้วเราก็ย้อนกลับไปคิดอย่างนั้น พูดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น เราก็สามารถที่จะสร้างกำลังใจคืนมาได้อีก
อีกประเภทหนึ่งก็คือ เมื่อปฏิบัติไปแล้วกำลังสมาธิสูง กดใจของตัวเองให้สงบจากกิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ได้เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะได้เป็นอาทิตย์ เป็นครึ่งเดือน เป็นเดือน เป็นหลาย ๆ เดือน แล้วเกิดความประมาท ไม่ทราบว่าอาการนี้คืออาการที่กำลังของสมาธิกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้สงบลง ไปเข้าใจว่าตนเองได้มรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าหากว่ามีแรงกระทบเข้ามา เกิดความขุ่นมัว เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมาอีก จึงได้รู้ตัวว่าที่แท้ตนเองยังไม่ได้อะไรเลย
ดังนั้น..นักปฏิบัติที่ดีนั้น ไม่ควรที่จะไปปักใจมั่นว่าตนเองได้อะไรแล้ว หากแต่กติกาความเป็นพระอริยเจ้ามีอย่างไร ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติไป ไม่ต้องไปใส่ใจว่าทำแล้วได้อะไร ทำแล้วได้ถึงไหน ถ้าหากว่าได้จริง อารมณ์ใจทรงตัวจริง ก็จะอยู่กับเราไปนานแสนนาน แต่ถ้าไม่ได้จริง เมื่อพบแรงกระทบ เดี๋ยวก็จะพังไปเอง