กนกวลี พึ่งบารมีพระธรรม
05-10-2014, 08:37
นมัสการพระครูวิลาศกาญจนธรรม
กระผมขอกราบเรียนถามข้อสงสัยในขั้นตอนหนึ่งของพิธีอุปสมบท โดยเฉพาะในช่วงที่พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์จะถามอันตรายิกธรรมต่อผู้ขออุปสมบทที่เป็นเพศที่สามว่า "ปุริโสสิ ?"
กระผมอยากทราบว่าหากผู้ขออุปสมบทกล่าวตอบว่า "อามะ ภันเต" นั้น จะถือว่าผู้ขออุปสมบทกล่าวมุสาวาจาตั้งแต่ยังไม่ได้ครองสมณเพศเลยหรือไม่ ? และถือว่าพิธีอุปสมบทนั้นเป็นโมฆะหรือไม่ ?
เพราะจากข้อปฏิบัติในการพิธีอุปสมบทสำหรับบางวัดที่เคยพบนั้น ระบุไว้อย่างชัดเจนและบ่งบอกเลยว่าผู้หญิงบวชไม่ได้ จะต้องเป็นผู้ชาย เป็นกะเทยก็บวชไม่ได้ คนสองเพศก็บวชไม่ได้ แม้ตัวเป็นชาย ใจเป็นหญิงก็บวชไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ถือว่าเป็นชายแท้
ซึ่งการที่ผู้อุปสมบทที่เป็นเพศที่สามทั้งแสดงออก เคยแสดงออก และไม่แสดงออก ซึ่งอาจหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวมุสาวาจาในอันตรายิกธรรมข้อดังกล่าว หากแต่วางตัวเหมาะสมแก่สมณเพศ มุ่งมั่นและตั้งใจศึกษาพระธรรม และปรารถนาที่จะทำนุบำรุงบวรพระพุทธศาสนาสืบต่อไปนั้น จะยังคงมีจุดยืนที่ชัดเจนและความกระจ่างในข้อสงสัยที่ยังคงถกเถียงและไม่สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนนี้ได้หรือไม่ ? และอย่างไรครับ ?
ในอีกกรณีหนึ่ง หากบุพการีไม่อนุญาตให้อุปสมบท ซึ่งอาจแสดงออกทางวาจา หรือเสียใจที่บุตรตัดสินใจเช่นนั้น หากแต่เพียงไม่แสดงออกมาทางกายหรือวาจา ในกรณีดังกล่าวนี้ ตามพระธรรมวินัยจะถือว่าพิธีอุปสมบทนั้นเป็นโมฆะหรือไม่ครับ ?
กระผมจึงเรียนถามเพื่อความกระจ่างชัดและปรารถนาว่าคำตอบจากท่านจะเป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และไขข้อสงสัยให้กับกลุ่มเพศทางเลือกที่ปรารถนาสืบต่อและดำรงไว้ซึ่งบวรพระพุทธศาสนา มิใช่แต่เพียงในเพศฆราวาสเท่านั้น หากรวมถึงสมณเพศด้วยครับ
ขอนมัสการด้วยความเคารพ
กนกวลี พึ่งบารมีพระธรรม
:4672615:
กระผมขอกราบเรียนถามข้อสงสัยในขั้นตอนหนึ่งของพิธีอุปสมบท โดยเฉพาะในช่วงที่พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์จะถามอันตรายิกธรรมต่อผู้ขออุปสมบทที่เป็นเพศที่สามว่า "ปุริโสสิ ?"
กระผมอยากทราบว่าหากผู้ขออุปสมบทกล่าวตอบว่า "อามะ ภันเต" นั้น จะถือว่าผู้ขออุปสมบทกล่าวมุสาวาจาตั้งแต่ยังไม่ได้ครองสมณเพศเลยหรือไม่ ? และถือว่าพิธีอุปสมบทนั้นเป็นโมฆะหรือไม่ ?
เพราะจากข้อปฏิบัติในการพิธีอุปสมบทสำหรับบางวัดที่เคยพบนั้น ระบุไว้อย่างชัดเจนและบ่งบอกเลยว่าผู้หญิงบวชไม่ได้ จะต้องเป็นผู้ชาย เป็นกะเทยก็บวชไม่ได้ คนสองเพศก็บวชไม่ได้ แม้ตัวเป็นชาย ใจเป็นหญิงก็บวชไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ถือว่าเป็นชายแท้
ซึ่งการที่ผู้อุปสมบทที่เป็นเพศที่สามทั้งแสดงออก เคยแสดงออก และไม่แสดงออก ซึ่งอาจหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวมุสาวาจาในอันตรายิกธรรมข้อดังกล่าว หากแต่วางตัวเหมาะสมแก่สมณเพศ มุ่งมั่นและตั้งใจศึกษาพระธรรม และปรารถนาที่จะทำนุบำรุงบวรพระพุทธศาสนาสืบต่อไปนั้น จะยังคงมีจุดยืนที่ชัดเจนและความกระจ่างในข้อสงสัยที่ยังคงถกเถียงและไม่สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนนี้ได้หรือไม่ ? และอย่างไรครับ ?
ในอีกกรณีหนึ่ง หากบุพการีไม่อนุญาตให้อุปสมบท ซึ่งอาจแสดงออกทางวาจา หรือเสียใจที่บุตรตัดสินใจเช่นนั้น หากแต่เพียงไม่แสดงออกมาทางกายหรือวาจา ในกรณีดังกล่าวนี้ ตามพระธรรมวินัยจะถือว่าพิธีอุปสมบทนั้นเป็นโมฆะหรือไม่ครับ ?
กระผมจึงเรียนถามเพื่อความกระจ่างชัดและปรารถนาว่าคำตอบจากท่านจะเป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และไขข้อสงสัยให้กับกลุ่มเพศทางเลือกที่ปรารถนาสืบต่อและดำรงไว้ซึ่งบวรพระพุทธศาสนา มิใช่แต่เพียงในเพศฆราวาสเท่านั้น หากรวมถึงสมณเพศด้วยครับ
ขอนมัสการด้วยความเคารพ
กนกวลี พึ่งบารมีพระธรรม
:4672615: