เถรี
21-09-2014, 14:23
ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันมาเกิน ๒๐ ปีแล้ว ได้ปรารภว่า “ระยะนี้สภาพจิตไม่ผ่องใสเหมือนก่อน” เรื่องนี้จะว่าไปแล้ว โยมท่านนั้นรู้ทันว่าสภาพจิตของตนเองไม่ดี แต่ไม่รู้ว่าทำไมถึงไม่ดี ถ้าในเรื่องการปฏิบัติธรรมนั้น เราไม่สามารถที่จะรู้สาเหตุได้ ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นให้ขาดตกไปได้อย่างแท้จริง ได้แต่แก้ไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น
สำหรับนักปฏิบัติอย่างเรานั้น อันดับแรก ให้วัดกำลังใจกับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ นิวรณ์ ๕ นั้นได้แก่ กามฉันทะ มีความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท มีความ โกรธ เกลียด อาฆาตแค้น ผู้อื่น ถีนมิทธะ มีความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจะ มีความฟุ้งซ่าน อารมณ์ใจไม่รวมตัวตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว วิจิกิจฉา มีความลังเลสงสัยว่าผลการปฏิบัตินี้จะทำได้ผลจริงหรือไม่ ?
ถ้าหากว่าขณะจิตใดมีนิวรณ์ ๕ นี้ ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในจิตของเรา ก็แปลว่าสภาพจิตของเรามัวหมอง เนื่องจากปล่อยให้กิเลสหยาบเข้ามายึดครองจิตใจของเราเสียแล้ว ก็ต้องเร่งหาทางขับไล่ออกไป ด้วยการดึงกำลังใจทั้งหมดของเรามาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก มาอยู่ที่การภาวนา ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับการภาวนา นิวรณ์ ๕ จะกินใจของเราไม่ได้ จิตใจของเราก็จะผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ
เครื่องวัดตัวต่อไปก็คือ ศีลหรือกรรมบถ ไม่ว่าท่านจะถือศีล ๕ ศีล ๘ หรือกรรมบถ ๑๐ ก็ตาม ให้ทบทวนอยู่เสมอ ๆ ว่าขณะนี้ศีลของเราบกพร่องหรือไม่ ? กาย วาจา ใจ ของเรามีแนวโน้มว่าจะล่วงละเมิดศีลหรือไม่ ? ถ้าเราสามารถควบคุมได้สมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ล่วงละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ก็แปลว่ากำลังใจของเราได้รับการตีกรอบอยู่ในด้านดี ถ้าสามารถรักษาได้ต่อเนื่องยาวนาน สภาพความผ่องใสของจิตก็จะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันมาเกิน ๒๐ ปีแล้ว ได้ปรารภว่า “ระยะนี้สภาพจิตไม่ผ่องใสเหมือนก่อน” เรื่องนี้จะว่าไปแล้ว โยมท่านนั้นรู้ทันว่าสภาพจิตของตนเองไม่ดี แต่ไม่รู้ว่าทำไมถึงไม่ดี ถ้าในเรื่องการปฏิบัติธรรมนั้น เราไม่สามารถที่จะรู้สาเหตุได้ ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นให้ขาดตกไปได้อย่างแท้จริง ได้แต่แก้ไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น
สำหรับนักปฏิบัติอย่างเรานั้น อันดับแรก ให้วัดกำลังใจกับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ นิวรณ์ ๕ นั้นได้แก่ กามฉันทะ มีความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท มีความ โกรธ เกลียด อาฆาตแค้น ผู้อื่น ถีนมิทธะ มีความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจะ มีความฟุ้งซ่าน อารมณ์ใจไม่รวมตัวตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว วิจิกิจฉา มีความลังเลสงสัยว่าผลการปฏิบัตินี้จะทำได้ผลจริงหรือไม่ ?
ถ้าหากว่าขณะจิตใดมีนิวรณ์ ๕ นี้ ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในจิตของเรา ก็แปลว่าสภาพจิตของเรามัวหมอง เนื่องจากปล่อยให้กิเลสหยาบเข้ามายึดครองจิตใจของเราเสียแล้ว ก็ต้องเร่งหาทางขับไล่ออกไป ด้วยการดึงกำลังใจทั้งหมดของเรามาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก มาอยู่ที่การภาวนา ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับการภาวนา นิวรณ์ ๕ จะกินใจของเราไม่ได้ จิตใจของเราก็จะผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ
เครื่องวัดตัวต่อไปก็คือ ศีลหรือกรรมบถ ไม่ว่าท่านจะถือศีล ๕ ศีล ๘ หรือกรรมบถ ๑๐ ก็ตาม ให้ทบทวนอยู่เสมอ ๆ ว่าขณะนี้ศีลของเราบกพร่องหรือไม่ ? กาย วาจา ใจ ของเรามีแนวโน้มว่าจะล่วงละเมิดศีลหรือไม่ ? ถ้าเราสามารถควบคุมได้สมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ล่วงละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ก็แปลว่ากำลังใจของเราได้รับการตีกรอบอยู่ในด้านดี ถ้าสามารถรักษาได้ต่อเนื่องยาวนาน สภาพความผ่องใสของจิตก็จะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ