เถรี
25-06-2014, 08:27
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราผูกไว้กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้มีญาติโยมหลายท่าน ถามถึงเรื่องของการทรงฌานแต่ละขั้น ว่าในเมื่อฌาน ๑, ๒, ๓ ยังมีสุขอยู่เหมือนกันทั้งหมด แล้วจะแยกแยะได้อย่างไรว่าเป็นฌานไหน ? ซึ่งความจริงถ้าตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ ก็จะได้คำตอบเอง แต่นี่มาถามเสียก่อน
ดังนั้น..วันนี้จึงขอกล่าวถึงการทรงฌานของพวกเรา เมื่อตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปสักระยะหนึ่ง เราก็จะเกิดอาการที่รู้ลมเองโดยอัตโนมัติ ในลำดับแรกคิดจะภาวนาอย่างไร ตามดูตามรู้ว่าจะภาวนาอย่างไร เกิดอาการปีติต่าง ๆ ๕ อย่างขึ้น เช่น ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ลอยขึ้นทั้งตัว หรือว่าตัวพองตัวใหญ่ ตัวแตกระเบิด เป็นต้น แล้วปรากฏความสุขเยือกเย็นอย่างไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต พร้อม ๆ กับอารมณ์ใจที่ปักมั่นอยู่กับการภาวนา ไม่คลอนแคลนไปไหน
ถ้าอารมณ์นี้เกิดขึ้นครบถ้วนสมบูรณ์ แปลว่าเราอยู่ในส่วนของปฐมฌาน คือฌานที่ ๑ ถ้าเราไม่ไปสนใจมาก หรือว่าไม่ไปบังคับลมหายใจ คอยตามดูตามรู้ลมหายใจอย่างเดียวไป อาการที่คิดว่าเราจะภาวนา หรืออาการที่ตามดูลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนา ก็จะค่อย ๆ หมดไปเอง ถ้าเป็นดังนี้ ก็แปลว่าเราก้าวเข้าสู่ฌานที่ ๒ คือทุติยฌาน
ก็ต่างกันที่ว่า ฌานที่ ๑ อาการทั้ง ๕ อย่างมีครบถ้วนสมบูรณ์ ฌานที่ ๒ จะก้าวข้ามความคิดความนึกว่า เราจะตั้งใจภาวนา ว่าจะภาวนาอย่างโน้นอย่างนี้
บางคนรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง หรือไม่มีไปเลย ถ้าความรู้สึกของเราก้าวข้ามปีติหรือสุขไปด้วย ก็แปลว่าเราก้าวเข้าถึงฌานที่ ๓ คือตติยฌาน แต่การที่เราก้าวเข้าไปแต่ละลำดับนั้น ไม่ใช่เราไปบังคับให้เป็น หากแต่เรามีหน้าที่ภาวนา ส่วนจะเป็นหรือไม่เป็นนั้น อย่าไปใส่ใจ หลาย ๆ ท่านติดอยู่ ไม่สามารถจะก้าวขึ้นสู่อัปปนาสมาธิ คือทรงฌานได้เสียที เพราะว่าเมื่อรู้ขั้นตอนแล้วก็ไปตามดูตามจี้อยู่ตลอด ถ้าลักษณะนั้นจิตของเราจะฟุ้งซ่าน ไม่สามารถรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวได้
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้มีญาติโยมหลายท่าน ถามถึงเรื่องของการทรงฌานแต่ละขั้น ว่าในเมื่อฌาน ๑, ๒, ๓ ยังมีสุขอยู่เหมือนกันทั้งหมด แล้วจะแยกแยะได้อย่างไรว่าเป็นฌานไหน ? ซึ่งความจริงถ้าตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ ก็จะได้คำตอบเอง แต่นี่มาถามเสียก่อน
ดังนั้น..วันนี้จึงขอกล่าวถึงการทรงฌานของพวกเรา เมื่อตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปสักระยะหนึ่ง เราก็จะเกิดอาการที่รู้ลมเองโดยอัตโนมัติ ในลำดับแรกคิดจะภาวนาอย่างไร ตามดูตามรู้ว่าจะภาวนาอย่างไร เกิดอาการปีติต่าง ๆ ๕ อย่างขึ้น เช่น ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ลอยขึ้นทั้งตัว หรือว่าตัวพองตัวใหญ่ ตัวแตกระเบิด เป็นต้น แล้วปรากฏความสุขเยือกเย็นอย่างไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต พร้อม ๆ กับอารมณ์ใจที่ปักมั่นอยู่กับการภาวนา ไม่คลอนแคลนไปไหน
ถ้าอารมณ์นี้เกิดขึ้นครบถ้วนสมบูรณ์ แปลว่าเราอยู่ในส่วนของปฐมฌาน คือฌานที่ ๑ ถ้าเราไม่ไปสนใจมาก หรือว่าไม่ไปบังคับลมหายใจ คอยตามดูตามรู้ลมหายใจอย่างเดียวไป อาการที่คิดว่าเราจะภาวนา หรืออาการที่ตามดูลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนา ก็จะค่อย ๆ หมดไปเอง ถ้าเป็นดังนี้ ก็แปลว่าเราก้าวเข้าสู่ฌานที่ ๒ คือทุติยฌาน
ก็ต่างกันที่ว่า ฌานที่ ๑ อาการทั้ง ๕ อย่างมีครบถ้วนสมบูรณ์ ฌานที่ ๒ จะก้าวข้ามความคิดความนึกว่า เราจะตั้งใจภาวนา ว่าจะภาวนาอย่างโน้นอย่างนี้
บางคนรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง หรือไม่มีไปเลย ถ้าความรู้สึกของเราก้าวข้ามปีติหรือสุขไปด้วย ก็แปลว่าเราก้าวเข้าถึงฌานที่ ๓ คือตติยฌาน แต่การที่เราก้าวเข้าไปแต่ละลำดับนั้น ไม่ใช่เราไปบังคับให้เป็น หากแต่เรามีหน้าที่ภาวนา ส่วนจะเป็นหรือไม่เป็นนั้น อย่าไปใส่ใจ หลาย ๆ ท่านติดอยู่ ไม่สามารถจะก้าวขึ้นสู่อัปปนาสมาธิ คือทรงฌานได้เสียที เพราะว่าเมื่อรู้ขั้นตอนแล้วก็ไปตามดูตามจี้อยู่ตลอด ถ้าลักษณะนั้นจิตของเราจะฟุ้งซ่าน ไม่สามารถรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวได้