เถรี
30-09-2013, 20:08
ให้ทุกคนตั้งใจนึกถึงลมหายใจเข้าออกของเราเป็นหลัก เพราะว่าการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานใหญ่ที่สำคัญที่สุด เวลาหายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะกำหนดเป็นฐานเดียว สามฐาน เจ็ดฐานอย่างไรก็แล้วแต่ที่เราเคยมีความถนัด ใช้คำภาวนาตามที่เราเคยชินมาก่อน สภาพจิตจะได้ยอมรับได้ง่าย
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานของเดือนกันยายน ซึ่งต่อเนื่องกับปลายเดือนสิงหาคม เป็นวันที่สอง วันนี้มีผู้ถามปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติในเบื้องแรก ๆ ที่จะพบกับอุปสรรค ก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่าง
นิวรณ์ เป็นกิเลสหยาบที่มาขวางกั้นกำลังใจของเรา ไม่ให้เข้าถึงความดี คือ เข้าไม่ถึงสมาธิที่จะทรงตัวแนบแน่น จนมีกำลังเพียงพอตัดกิเลสได้ นิวรณ์ทั้ง ๕ ประกอบไปด้วย ข้อที่หนึ่ง..กามฉันทะ คือความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ตลอดจนกระทั่งสัมผัสระหว่างเพศ ข้อที่สอง..พยาบาท คือความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ข้อที่สาม...ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ ข้อที่สี่..อุทธัจจกุกกุจจะ ความหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ข้อสุดท้าย...วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะมีผลจริงหรือไม่
ขณะที่ท่านภาวนา สภาพจิตจะโดนรบกวนด้วยนิวรณ์ทั้งห้าอย่างนี้เป็นปกติ ถ้าเราโดนนิวรณ์รบกวน แปลว่าความรู้สึกของเราไม่ได้มั่นคงอยู่กับลมหายใจจริง ๆ เผลอหลุดไปคิดเรื่องอื่นแล้ว เมื่อรู้ตัวก็ให้ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ พอหลุดไปอีก รู้ตัวเมื่อไรก็ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอีก แรก ๆ ต้องต่อสู้กันอย่างนี้ค่อนข้างจะหนักหน่วงรุนแรง
ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำว่า ถ้ารู้ตัวว่าสู้ไม่ไหว ให้ตามดูความคิดของตนเองไป เหมือนกับเราขี่ม้าพยศ อย่างไรเสียม้าก็ไม่ยอมให้เราขี่แต่โดยดี ต้องดิ้นรนสะบัดเหวี่ยงเพื่อให้เราหล่นจากหลังม้า ท่านแนะนำว่าให้ตามดูไปเหมือนกับเรากอดคอม้าไว้ แล้วปล่อยให้ม้าวิ่งเตลิดไปตามแรงของมัน ถ้าเราตามดูตามรู้จริง ๆ การฟุ้งซ่าน ความคิดต่าง ๆ ที่พาไปให้เกิดนิวรณ์นั้น จะอยู่ได้ไม่เกิน ๓๐ นาที แล้วเราจะเห็นว่าเขาจะเริ่มต้นคิดใหม่ เหมือนกับนับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ พอครบสิบก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ วนเวียนไปมาอย่างนี้ ถ้าเราตามดูไปเรื่อย ๆ พอสภาพจิตคิดจนเหนื่อย ก็จะยอมให้เราดึงกลับมาที่การภาวนาได้ง่ายขึ้น
หรือไม่ก็ท่านทั้งหลายต้องมีวิธีการจัดการกับนิวรณ์แต่ละอย่าง อย่างเช่นในเรื่องของกามฉันทะ เน้นเอาว่าเราพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ให้เราพิจารณาดูว่า การที่เราเกิดมาทุกข์ยากอยู่ทุกวันนี้ ก็เกิดจากเรื่องของกามฉันทะ คือความยินดีและพอใจในกามนี้เอง ทำให้เราตัด สลัด ละ ไม่หลุด แล้วก็ต้องมาเดือดร้อน เกิดมาทุกข์อย่างนี้ชาติแล้วชาติเล่า ถ้าการเกิดมาแล้วต้องทุกข์อย่างนี้ เราก็ไม่ควรที่จะไปข้องเกี่ยวกับกามทั้งหลาย ก็ต้องตั้งใจอย่างเด็ดขาดในการละเว้น ถ้าเราเห็นโทษจริง ๆ สภาพจิตจะเกิดความเข็ด กลัว เบื่อหน่าย ในที่สุดก็ถอนความปรารถนาในกามออกได้
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานของเดือนกันยายน ซึ่งต่อเนื่องกับปลายเดือนสิงหาคม เป็นวันที่สอง วันนี้มีผู้ถามปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติในเบื้องแรก ๆ ที่จะพบกับอุปสรรค ก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่าง
นิวรณ์ เป็นกิเลสหยาบที่มาขวางกั้นกำลังใจของเรา ไม่ให้เข้าถึงความดี คือ เข้าไม่ถึงสมาธิที่จะทรงตัวแนบแน่น จนมีกำลังเพียงพอตัดกิเลสได้ นิวรณ์ทั้ง ๕ ประกอบไปด้วย ข้อที่หนึ่ง..กามฉันทะ คือความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ตลอดจนกระทั่งสัมผัสระหว่างเพศ ข้อที่สอง..พยาบาท คือความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ข้อที่สาม...ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ ข้อที่สี่..อุทธัจจกุกกุจจะ ความหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ข้อสุดท้าย...วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะมีผลจริงหรือไม่
ขณะที่ท่านภาวนา สภาพจิตจะโดนรบกวนด้วยนิวรณ์ทั้งห้าอย่างนี้เป็นปกติ ถ้าเราโดนนิวรณ์รบกวน แปลว่าความรู้สึกของเราไม่ได้มั่นคงอยู่กับลมหายใจจริง ๆ เผลอหลุดไปคิดเรื่องอื่นแล้ว เมื่อรู้ตัวก็ให้ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ พอหลุดไปอีก รู้ตัวเมื่อไรก็ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอีก แรก ๆ ต้องต่อสู้กันอย่างนี้ค่อนข้างจะหนักหน่วงรุนแรง
ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำว่า ถ้ารู้ตัวว่าสู้ไม่ไหว ให้ตามดูความคิดของตนเองไป เหมือนกับเราขี่ม้าพยศ อย่างไรเสียม้าก็ไม่ยอมให้เราขี่แต่โดยดี ต้องดิ้นรนสะบัดเหวี่ยงเพื่อให้เราหล่นจากหลังม้า ท่านแนะนำว่าให้ตามดูไปเหมือนกับเรากอดคอม้าไว้ แล้วปล่อยให้ม้าวิ่งเตลิดไปตามแรงของมัน ถ้าเราตามดูตามรู้จริง ๆ การฟุ้งซ่าน ความคิดต่าง ๆ ที่พาไปให้เกิดนิวรณ์นั้น จะอยู่ได้ไม่เกิน ๓๐ นาที แล้วเราจะเห็นว่าเขาจะเริ่มต้นคิดใหม่ เหมือนกับนับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ พอครบสิบก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ วนเวียนไปมาอย่างนี้ ถ้าเราตามดูไปเรื่อย ๆ พอสภาพจิตคิดจนเหนื่อย ก็จะยอมให้เราดึงกลับมาที่การภาวนาได้ง่ายขึ้น
หรือไม่ก็ท่านทั้งหลายต้องมีวิธีการจัดการกับนิวรณ์แต่ละอย่าง อย่างเช่นในเรื่องของกามฉันทะ เน้นเอาว่าเราพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ให้เราพิจารณาดูว่า การที่เราเกิดมาทุกข์ยากอยู่ทุกวันนี้ ก็เกิดจากเรื่องของกามฉันทะ คือความยินดีและพอใจในกามนี้เอง ทำให้เราตัด สลัด ละ ไม่หลุด แล้วก็ต้องมาเดือดร้อน เกิดมาทุกข์อย่างนี้ชาติแล้วชาติเล่า ถ้าการเกิดมาแล้วต้องทุกข์อย่างนี้ เราก็ไม่ควรที่จะไปข้องเกี่ยวกับกามทั้งหลาย ก็ต้องตั้งใจอย่างเด็ดขาดในการละเว้น ถ้าเราเห็นโทษจริง ๆ สภาพจิตจะเกิดความเข็ด กลัว เบื่อหน่าย ในที่สุดก็ถอนความปรารถนาในกามออกได้