เถรี
08-08-2012, 08:53
ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวจ้ะ ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติสมาธิทั้งหมดให้อยู่เฉพาะหน้า หายใจเข้า..เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เราเคยทำถนัดมาแต่ดั้งเดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง เป็นวันเข้าพรรษา ญาติโยมหลายคนอาจจะสงสัยว่าเข้าพรรษาแล้ว พระออกจากวัดมาได้อย่างไร ? ถ้าว่ากันโดยพระบรมพุทธานุญาต คือ ถ้ามีกิจจำเป็นที่พระองค์ท่านระบุเอาไว้ สามารถออกจากวัดได้ แต่ต้องไปไม่เกิน ๗ วัน เรียกว่าสัตตาหกรณียะ การมารับสังฆทานและสอนกรรมฐานนี้ เป็นไปเพื่อการเจริญศรัทธา ตรงกับพระบรมพุทธานุญาตข้อสุดท้ายพอดี
แต่ที่อยากจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือว่า ในช่วงเข้าพรรษานั้น ญาติโยมจำนวนมากต่อมากด้วยกัน ตั้งใจว่าเป็นช่วงเวลาของการทำความดี อย่างเช่น บางท่านที่ดื่มสุราเมรัยเป็นปกติ ตั้งใจว่าจะงดดื่มสุราเมรัยเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เป็นต้น
ในเมื่อญาติโยมทั่ว ๆ ไปยังตั้งใจอาศัยเวลาในการเข้าพรรษานี้ เป็นระยะเวลาของการเสริมสร้างความดีให้แก่ตัวเอง พวกเราทั้งหลายที่ถือว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็ควรจะอาศัยระยะเวลานี้ เร่งรัดการปฏิบัติของตนเองให้เข้มข้นขึ้นไปอีก
อย่างที่เมื่อครู่ได้กล่าวถึงเรื่องของลุงบู๊ไปแล้ว ว่าลุงบู๊นั้น แม้จะปรารถนาพระโพธิญาณ และอยู่ในระดับแค่อุปบารมีเท่านั้น ยังมีการปฏิบัติที่เข้มข้นกว่าพวกเราหลายเท่า พวกเราที่หวังความหลุดพ้นที่จะไปพระนิพพาน ซึ่งเป็นกำลังใจในระดับปรมัตถบารมี สมควรที่จะต้องทำให้เข้มข้นยิ่งกว่า แต่ถ้าหากว่ากำลังใจของเราไม่พอ ไม่สามารถที่จะทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างมาเพื่อปฏิบัติภาวนาแบบลุงบู๊ได้ ก็ให้เรากำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
อย่างเช่นว่าตอนเช้าเราจะภาวนาให้ได้ ๑ ชั่วโมง ตอนเย็นเราจะภาวนาให้ได้ ๑ ชั่วโมง เป็นต้น อย่าลืมว่าระยะเวลาทั้งกลางวันกลางคืนรวมแล้ว ๒๔ ชั่วโมง ถ้าเราสามารถฝืนต่อต้านกิเลสได้ เช้า ๑ ชั่วโมง เย็น ๑ ชั่วโมง ก็แปลว่าอีก ๒๒ ชั่วโมงนั้น เราขาดทุนมาโดยตลอด
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง เป็นวันเข้าพรรษา ญาติโยมหลายคนอาจจะสงสัยว่าเข้าพรรษาแล้ว พระออกจากวัดมาได้อย่างไร ? ถ้าว่ากันโดยพระบรมพุทธานุญาต คือ ถ้ามีกิจจำเป็นที่พระองค์ท่านระบุเอาไว้ สามารถออกจากวัดได้ แต่ต้องไปไม่เกิน ๗ วัน เรียกว่าสัตตาหกรณียะ การมารับสังฆทานและสอนกรรมฐานนี้ เป็นไปเพื่อการเจริญศรัทธา ตรงกับพระบรมพุทธานุญาตข้อสุดท้ายพอดี
แต่ที่อยากจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือว่า ในช่วงเข้าพรรษานั้น ญาติโยมจำนวนมากต่อมากด้วยกัน ตั้งใจว่าเป็นช่วงเวลาของการทำความดี อย่างเช่น บางท่านที่ดื่มสุราเมรัยเป็นปกติ ตั้งใจว่าจะงดดื่มสุราเมรัยเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เป็นต้น
ในเมื่อญาติโยมทั่ว ๆ ไปยังตั้งใจอาศัยเวลาในการเข้าพรรษานี้ เป็นระยะเวลาของการเสริมสร้างความดีให้แก่ตัวเอง พวกเราทั้งหลายที่ถือว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็ควรจะอาศัยระยะเวลานี้ เร่งรัดการปฏิบัติของตนเองให้เข้มข้นขึ้นไปอีก
อย่างที่เมื่อครู่ได้กล่าวถึงเรื่องของลุงบู๊ไปแล้ว ว่าลุงบู๊นั้น แม้จะปรารถนาพระโพธิญาณ และอยู่ในระดับแค่อุปบารมีเท่านั้น ยังมีการปฏิบัติที่เข้มข้นกว่าพวกเราหลายเท่า พวกเราที่หวังความหลุดพ้นที่จะไปพระนิพพาน ซึ่งเป็นกำลังใจในระดับปรมัตถบารมี สมควรที่จะต้องทำให้เข้มข้นยิ่งกว่า แต่ถ้าหากว่ากำลังใจของเราไม่พอ ไม่สามารถที่จะทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างมาเพื่อปฏิบัติภาวนาแบบลุงบู๊ได้ ก็ให้เรากำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
อย่างเช่นว่าตอนเช้าเราจะภาวนาให้ได้ ๑ ชั่วโมง ตอนเย็นเราจะภาวนาให้ได้ ๑ ชั่วโมง เป็นต้น อย่าลืมว่าระยะเวลาทั้งกลางวันกลางคืนรวมแล้ว ๒๔ ชั่วโมง ถ้าเราสามารถฝืนต่อต้านกิเลสได้ เช้า ๑ ชั่วโมง เย็น ๑ ชั่วโมง ก็แปลว่าอีก ๒๒ ชั่วโมงนั้น เราขาดทุนมาโดยตลอด