เถรี
17-01-2009, 21:22
ในการปฏิบัติธรรมให้ได้ผลนั้น ต้องยึดหลักอิทธิบาท ๔ นั่นคือต้องมี
๑. ฉันทะ มีความรักที่จะทำ ด้วยเห็นประโยชน์หรือความสุขที่ได้จากการปฏิบัติธรรม ซึ่งการที่ท่านทั้งหลายมานั่งที่นี่ได้..ก็แสดงว่ามีกันอยู่แล้วทั้งฉันทะและวิริยะ
๒. วิริยะ มีความพากเพียร ท้อได้บ้าง..แต่อย่าถอย ให้ดูตัวเราวันนี้กับเมื่อวาน กับวันก่อน ๆ จะเห็นว่าถึงจะไปแย่บ้าง ถึงจะไม่ก้าวหน้าเท่าคนอื่นเขา แต่ก็ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย..ใช่หรือไม่ ?
๓. จิตตะ มีใจจดจ่อ ตั้งมั่นต่อจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายนั้นถ้ากำหนดปลายทางไปเสียทีเดียว ก็อาจทำให้ดูยาก ดูไกล พาให้หมดกำลังใจได้ เราก็กำหนดเป้าหมายเป็นช่วง ๆ เช่นจะไปเชียงใหม่ ก็กำหนดเป้าหมายช่วงแรกเป็นชัยนาท สิงห์บุรี พอถึงแล้วก็ค่อยตั้งเป้าหมายต่อไปเป็นนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ลำพูน ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ก็ทำให้มีกำลังใจ แถมมีเวลาหยุดพัก ใคร่ครวญ ปรับปรุง อีกด้วย
๔. วิมังสา คือ การใคร่ครวญประเมินผล หลักการนี้ฝรั่งเขาก็ทำกัน ที่เขาเรียกว่า follow up นั่นแหละ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราทำกันมาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว คือเราต้องคอยตรวจสอบดูว่า
(๑) เป้าหมายของเราคืออะไร ?
(๒) สิ่งที่เราทำหรือวิธีการที่เราใช้ ทำให้บรรลุเป้าหมายได้จริงหรือไม่ ? มีวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ ?
(๓) ขณะนี้เราอยู่ตรงไหน..? ยังอยู่ในทิศทางที่มุ่งไปยังเป้าหมายหรือไม่..? หรือออกนอกเส้นทางไปแล้ว
(๔) ยังเหลือระยะทางอีกเท่าไรจึงจะถึงเป้าหมายนั้น ?
พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญโญ
คัดลอกมาจากเว็บกระโถนข้างธรรมาสน์์
๑. ฉันทะ มีความรักที่จะทำ ด้วยเห็นประโยชน์หรือความสุขที่ได้จากการปฏิบัติธรรม ซึ่งการที่ท่านทั้งหลายมานั่งที่นี่ได้..ก็แสดงว่ามีกันอยู่แล้วทั้งฉันทะและวิริยะ
๒. วิริยะ มีความพากเพียร ท้อได้บ้าง..แต่อย่าถอย ให้ดูตัวเราวันนี้กับเมื่อวาน กับวันก่อน ๆ จะเห็นว่าถึงจะไปแย่บ้าง ถึงจะไม่ก้าวหน้าเท่าคนอื่นเขา แต่ก็ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย..ใช่หรือไม่ ?
๓. จิตตะ มีใจจดจ่อ ตั้งมั่นต่อจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายนั้นถ้ากำหนดปลายทางไปเสียทีเดียว ก็อาจทำให้ดูยาก ดูไกล พาให้หมดกำลังใจได้ เราก็กำหนดเป้าหมายเป็นช่วง ๆ เช่นจะไปเชียงใหม่ ก็กำหนดเป้าหมายช่วงแรกเป็นชัยนาท สิงห์บุรี พอถึงแล้วก็ค่อยตั้งเป้าหมายต่อไปเป็นนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ลำพูน ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ก็ทำให้มีกำลังใจ แถมมีเวลาหยุดพัก ใคร่ครวญ ปรับปรุง อีกด้วย
๔. วิมังสา คือ การใคร่ครวญประเมินผล หลักการนี้ฝรั่งเขาก็ทำกัน ที่เขาเรียกว่า follow up นั่นแหละ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราทำกันมาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว คือเราต้องคอยตรวจสอบดูว่า
(๑) เป้าหมายของเราคืออะไร ?
(๒) สิ่งที่เราทำหรือวิธีการที่เราใช้ ทำให้บรรลุเป้าหมายได้จริงหรือไม่ ? มีวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ ?
(๓) ขณะนี้เราอยู่ตรงไหน..? ยังอยู่ในทิศทางที่มุ่งไปยังเป้าหมายหรือไม่..? หรือออกนอกเส้นทางไปแล้ว
(๔) ยังเหลือระยะทางอีกเท่าไรจึงจะถึงเป้าหมายนั้น ?
พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญโญ
คัดลอกมาจากเว็บกระโถนข้างธรรมาสน์์