เถรี
20-04-2012, 16:21
ให้ทุกคนขยับตัวนั่งในท่าที่สบาย การนั่งสำคัญตรงที่อย่าเกร็งร่างกาย แต่ว่าต้องตั้งกายให้ตรงไว้ เพื่อให้ลมหายใจของเราเดินได้สะดวก ให้ทุกคนหายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบออกให้หมด หลังจากนั้นปล่อยให้ลมหายใจเป็นไปตามปกติของสภาพร่างกาย หายใจเข้า..เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา ใช้คำภาวนาตามความถนัดที่เคยชินของเรา
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนเมษายนวันที่สอง
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีปรากฏการณ์บางอย่าง ทำให้นักปฏิบัติของเราเกิดอาการใจร้อน ใจเร็ว มีการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปากมีเสียงกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ลับหลังนั้นก็เป็นไปทั้งทางโทรศัพท์ก็ดี ทางอินเตอร์เน็ตก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ความจริงก็เป็นเรื่องปกติของโลก แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้ว เป็นการวัดตนเองได้ดีที่สุดว่า การปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้นหรือว่าถดถอย ?
เนื่องเพราะว่าการมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น อาจเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความเข้าใจต่างกันไป แต่ว่าไม่ได้มีการปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรับความเข้าใจกันยังไม่พอ ยังนำเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นขยายความออกไปอีก ก็จะทำให้บุคคลที่ถือหางของแต่ละฝ่ายเกิดอารมณ์ร่วม แต่เป็นอารมณ์ในด้านที่ไม่ดี เนื่องจากว่าตัวกระทบก็คือปฏิฆะสังโยชน์นั้น พื้นฐานก็คือโทสะนั่นเอง
ฉะนั้น..การที่เราเป็นนักปฏิบัติ จำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนอารมณ์ปฏิบัติของเราอยู่เสมอ จะได้รู้ว่าตอนนี้เราทำไปถึงที่ใดแล้ว ? มีความก้าวหน้าหรือถอยหลังอย่างไร ? จำเป็นต้องเร่งในจุดไหน ? ต้องผ่อนในจุดไหน ? หรือว่าปรับเปลี่ยนทิศทางในการปฏิบัติของตนอย่างไร ? ถ้าหากว่าไม่มีการทบทวน การปฏิบัติของเราก็จะสำเร็จได้ยาก การไตร่ตรองทบทวนตัวนี้ก็คือวิมังสาในอิทธิบาท ๔ นั่นเอง
คราวนี้สิ่งที่จะเป็นเครื่องวัดการปฏิบัติของเรานั้น ในส่วนที่หยาบที่สุดก็คือนิวรณ์ ๕ ได้แก่ ความยินดีในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ๑ ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ๑ ความง่วงเหงาหาวนอนชวนขี้เกียจปฏิบัติ ๑ ความฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญใจ ๑ และความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ๑ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งอยู่ในใจเรา แสดงว่าคุณภาพของใจเราตกต่ำมาก
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนเมษายนวันที่สอง
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีปรากฏการณ์บางอย่าง ทำให้นักปฏิบัติของเราเกิดอาการใจร้อน ใจเร็ว มีการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปากมีเสียงกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ลับหลังนั้นก็เป็นไปทั้งทางโทรศัพท์ก็ดี ทางอินเตอร์เน็ตก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ความจริงก็เป็นเรื่องปกติของโลก แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้ว เป็นการวัดตนเองได้ดีที่สุดว่า การปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้นหรือว่าถดถอย ?
เนื่องเพราะว่าการมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น อาจเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความเข้าใจต่างกันไป แต่ว่าไม่ได้มีการปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรับความเข้าใจกันยังไม่พอ ยังนำเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นขยายความออกไปอีก ก็จะทำให้บุคคลที่ถือหางของแต่ละฝ่ายเกิดอารมณ์ร่วม แต่เป็นอารมณ์ในด้านที่ไม่ดี เนื่องจากว่าตัวกระทบก็คือปฏิฆะสังโยชน์นั้น พื้นฐานก็คือโทสะนั่นเอง
ฉะนั้น..การที่เราเป็นนักปฏิบัติ จำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนอารมณ์ปฏิบัติของเราอยู่เสมอ จะได้รู้ว่าตอนนี้เราทำไปถึงที่ใดแล้ว ? มีความก้าวหน้าหรือถอยหลังอย่างไร ? จำเป็นต้องเร่งในจุดไหน ? ต้องผ่อนในจุดไหน ? หรือว่าปรับเปลี่ยนทิศทางในการปฏิบัติของตนอย่างไร ? ถ้าหากว่าไม่มีการทบทวน การปฏิบัติของเราก็จะสำเร็จได้ยาก การไตร่ตรองทบทวนตัวนี้ก็คือวิมังสาในอิทธิบาท ๔ นั่นเอง
คราวนี้สิ่งที่จะเป็นเครื่องวัดการปฏิบัติของเรานั้น ในส่วนที่หยาบที่สุดก็คือนิวรณ์ ๕ ได้แก่ ความยินดีในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ๑ ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ๑ ความง่วงเหงาหาวนอนชวนขี้เกียจปฏิบัติ ๑ ความฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญใจ ๑ และความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ๑ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งอยู่ในใจเรา แสดงว่าคุณภาพของใจเราตกต่ำมาก