เถรี
09-03-2012, 18:36
ทุกคนขยับตัวนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้า ไหลตามลมหายใจออกของเรา กำหนดดู กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก พร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ วันนี้มีญาติโยมบางท่าน มาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความต่างของจิตวิญญาณ กับวิญญาณในอุปาทานขันธ์ อาตมาก็บอกไปว่า ให้ถามคำถามที่มีประโยชน์แก่ตน ที่ทำให้การปฏิบัติของตนเองก้าวหน้า ไม่ใช่ถามปัญหาที่สงสัยแล้วเอาไปถกกับคนอื่นเขา
เมื่อได้รับคำตอบ ถ้านำไปคัดค้านคนอื่น ก็จะเกิดการโต้เถียงวิวาทะกันขึ้น ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วว่า บุคคลไม่ควรกล่าววาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกัน เพราะวาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกันทำให้จำเป็นต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมากจิตใจย่อมฟุ้งซ่าน บุคคลที่ฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ แต่เขาก็ยังยืนยันว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ซึ่งความจริงแล้วอาตมาหาได้เห็นประโยชน์ตรงนั้นไม่
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่สิ่งที่ต้องมาสงสัย บาลีกล่าวไว้ว่า เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ พระองค์ทรงประกาศพรหมจรรย์ ก็คือ ธรรมวินัยนี้โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
คำว่า "บริบูรณ์" หรือ "ปะริปุณณัง" ก็แปลว่าครบถ้วนสมบูรณ์ทุกอย่าง ตัดออกก็ขาด เติมเข้าก็เกิน เราไม่ได้มีหน้าที่ที่ต้องไปสงสัยวิเคราะห์วิจัยใด ๆ ทั้งสิ้น หน้าที่ของเราก็คือปฏิบัติตามอย่างเดียว เหมือนคนที่หิวข้าว เห็นข้าววางอยู่ตรงหน้า ก็ตั้งหน้าตั้งตากินไปให้อิ่ม จะได้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายตนเอง ไม่ใช่ไปนั่งเขี่ยดูว่าข้าวจานนี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีข้าวกี่เม็ด มีผักกี่ชิ้น มีหมูมีเนื้อมีไก่กี่ชิ้น ประกอบขึ้นมาจากส่วนประกอบอะไรบ้าง ถ้าอย่างนั้นไม่หิวตายเปล่าก็อาจจะเสียเวลาในการที่จะหาประโยชน์จากข้าวจานนั้น
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นกัน เมื่อบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่แล้ว หน้าที่ของเราคือเร่งทำเอาไว้ เราจะได้เป็นผู้ลิ้มรสวิมุตติสุข คือรสแห่งความหลุดพ้นจาก รัก โลภ โกรธ หลง ด้วยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ว่าเป็นวิมุติแบบข่มไว้ก็ดี เป็นวิมุติด้วยองค์วิปัสสนาญาณก็ดี หรือว่าหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงก็ดี สิ่งเหล่านี้จะพึงมีพึงเกิดแก่บุคคลที่ตั้งหน้าปฏิบัติเท่านั้น ไม่ใช่บุคคลที่นำเอาข้อธรรมต่าง ๆ ไปนั่งถกเถียงกัน แล้วในที่สุดก็กลายเป็นมานะกิเลส ว่าของกูถูก ของมึงผิด เป็นต้น ยิ่งกลายเป็นพอกพูนกิเลสมากขึ้น กลายเป็นผู้รู้ในฐานะเถรใบลานเปล่า ไม่ได้หาประโยชน์จากหลักธรรมเหล่านั้นอย่างแท้จริงเลย ถ้าใช้คำพูดแรง ๆ ก็ต้องบอกว่าเสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา หรือว่าเสียชาติเกิดนั่นเอง
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ วันนี้มีญาติโยมบางท่าน มาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความต่างของจิตวิญญาณ กับวิญญาณในอุปาทานขันธ์ อาตมาก็บอกไปว่า ให้ถามคำถามที่มีประโยชน์แก่ตน ที่ทำให้การปฏิบัติของตนเองก้าวหน้า ไม่ใช่ถามปัญหาที่สงสัยแล้วเอาไปถกกับคนอื่นเขา
เมื่อได้รับคำตอบ ถ้านำไปคัดค้านคนอื่น ก็จะเกิดการโต้เถียงวิวาทะกันขึ้น ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วว่า บุคคลไม่ควรกล่าววาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกัน เพราะวาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกันทำให้จำเป็นต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมากจิตใจย่อมฟุ้งซ่าน บุคคลที่ฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ แต่เขาก็ยังยืนยันว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ซึ่งความจริงแล้วอาตมาหาได้เห็นประโยชน์ตรงนั้นไม่
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่สิ่งที่ต้องมาสงสัย บาลีกล่าวไว้ว่า เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ พระองค์ทรงประกาศพรหมจรรย์ ก็คือ ธรรมวินัยนี้โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
คำว่า "บริบูรณ์" หรือ "ปะริปุณณัง" ก็แปลว่าครบถ้วนสมบูรณ์ทุกอย่าง ตัดออกก็ขาด เติมเข้าก็เกิน เราไม่ได้มีหน้าที่ที่ต้องไปสงสัยวิเคราะห์วิจัยใด ๆ ทั้งสิ้น หน้าที่ของเราก็คือปฏิบัติตามอย่างเดียว เหมือนคนที่หิวข้าว เห็นข้าววางอยู่ตรงหน้า ก็ตั้งหน้าตั้งตากินไปให้อิ่ม จะได้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายตนเอง ไม่ใช่ไปนั่งเขี่ยดูว่าข้าวจานนี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีข้าวกี่เม็ด มีผักกี่ชิ้น มีหมูมีเนื้อมีไก่กี่ชิ้น ประกอบขึ้นมาจากส่วนประกอบอะไรบ้าง ถ้าอย่างนั้นไม่หิวตายเปล่าก็อาจจะเสียเวลาในการที่จะหาประโยชน์จากข้าวจานนั้น
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นกัน เมื่อบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่แล้ว หน้าที่ของเราคือเร่งทำเอาไว้ เราจะได้เป็นผู้ลิ้มรสวิมุตติสุข คือรสแห่งความหลุดพ้นจาก รัก โลภ โกรธ หลง ด้วยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ว่าเป็นวิมุติแบบข่มไว้ก็ดี เป็นวิมุติด้วยองค์วิปัสสนาญาณก็ดี หรือว่าหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงก็ดี สิ่งเหล่านี้จะพึงมีพึงเกิดแก่บุคคลที่ตั้งหน้าปฏิบัติเท่านั้น ไม่ใช่บุคคลที่นำเอาข้อธรรมต่าง ๆ ไปนั่งถกเถียงกัน แล้วในที่สุดก็กลายเป็นมานะกิเลส ว่าของกูถูก ของมึงผิด เป็นต้น ยิ่งกลายเป็นพอกพูนกิเลสมากขึ้น กลายเป็นผู้รู้ในฐานะเถรใบลานเปล่า ไม่ได้หาประโยชน์จากหลักธรรมเหล่านั้นอย่างแท้จริงเลย ถ้าใช้คำพูดแรง ๆ ก็ต้องบอกว่าเสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา หรือว่าเสียชาติเกิดนั่นเอง