เถรี
20-02-2012, 20:28
ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่เฉพาะหน้า หายใจเข้าให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามอัธยาศัยที่เราชอบใจ
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นการเจริญกรรมฐานวันสุดท้ายของต้นเดือนนี้ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่งที่มาเล่าให้ฟังว่า เวลาที่ผ่านมาเป็นปีที่ไม่ได้มาทำบุญ เพราะว่ากำลังมีความสุขอยู่ แล้วก็สรุปว่าเวลาคนเรามีความสุขไม่ค่อยจะคิดถึงพระถึงเจ้า แต่เวลาทุกข์..บางทีนั่งร้องไห้ไปสวดมนต์ไปก็ยังดี พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าสุขแล้วลืมพระ ถ้าทุกข์เมื่อไรถึงจะนึกขึ้นมาได้ว่ามีพระเป็นที่พึ่ง
จึงได้ตักเตือนไปว่า ในเมื่อเรารู้ตัวแล้ว ก็ให้รีบเร่งการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เข้าไว้ เผื่อว่าถึงเวลาถ้าความสุขนั้นหมดไป กำลังใจของเราที่มั่นคงขึ้น จะได้มีหลักยึด แล้วก็ไม่ไปเสียใจอยู่กับโลกธรรมนั้น ๆ
ซึ่งการเกิดมาของคนเราทุกคนนั้น จะต้องพบกับโลกธรรมทั้ง ๘ อย่างเป็นปกติอยู่แล้ว ก็คือ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้รับความสุข และ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้รับความทุกข์ เรื่องของโลกธรรมถ้าแปลตามศัพท์ตรง ๆ ก็คือธรรมะประจำโลก ไม่มีใครที่จะหลีกหนีได้พ้น
แต่ถ้าหากว่ากำลังใจของเราทรงตัวมั่นคง ก็จะไม่มีความหวั่นไหว ยิ่งถ้าหากว่ามีปัญญาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจ ได้แก่ การได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้รับความสุข หรือว่าในส่วนของอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ได้แก่ การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้รับความทุกข์ ทั้งสองส่วนนี้ล้วนแล้วแต่นำความทุกข์มาให้เราทั้งสิ้น
เพราะว่าในส่วนที่น่ายินดีก็จัดอยู่ในส่วนของราคะ ในส่วนที่ไม่น่ายินดีก็จัดอยู่ในส่วนของโทสะ ดังนั้น...ไม่ว่าเราจะยินดีหรือยินร้ายก็ตาม แปลว่าเราถูกกิเลสครอบงำทั้งคู่
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นการเจริญกรรมฐานวันสุดท้ายของต้นเดือนนี้ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่งที่มาเล่าให้ฟังว่า เวลาที่ผ่านมาเป็นปีที่ไม่ได้มาทำบุญ เพราะว่ากำลังมีความสุขอยู่ แล้วก็สรุปว่าเวลาคนเรามีความสุขไม่ค่อยจะคิดถึงพระถึงเจ้า แต่เวลาทุกข์..บางทีนั่งร้องไห้ไปสวดมนต์ไปก็ยังดี พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าสุขแล้วลืมพระ ถ้าทุกข์เมื่อไรถึงจะนึกขึ้นมาได้ว่ามีพระเป็นที่พึ่ง
จึงได้ตักเตือนไปว่า ในเมื่อเรารู้ตัวแล้ว ก็ให้รีบเร่งการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เข้าไว้ เผื่อว่าถึงเวลาถ้าความสุขนั้นหมดไป กำลังใจของเราที่มั่นคงขึ้น จะได้มีหลักยึด แล้วก็ไม่ไปเสียใจอยู่กับโลกธรรมนั้น ๆ
ซึ่งการเกิดมาของคนเราทุกคนนั้น จะต้องพบกับโลกธรรมทั้ง ๘ อย่างเป็นปกติอยู่แล้ว ก็คือ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้รับความสุข และ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้รับความทุกข์ เรื่องของโลกธรรมถ้าแปลตามศัพท์ตรง ๆ ก็คือธรรมะประจำโลก ไม่มีใครที่จะหลีกหนีได้พ้น
แต่ถ้าหากว่ากำลังใจของเราทรงตัวมั่นคง ก็จะไม่มีความหวั่นไหว ยิ่งถ้าหากว่ามีปัญญาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจ ได้แก่ การได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้รับความสุข หรือว่าในส่วนของอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ได้แก่ การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้รับความทุกข์ ทั้งสองส่วนนี้ล้วนแล้วแต่นำความทุกข์มาให้เราทั้งสิ้น
เพราะว่าในส่วนที่น่ายินดีก็จัดอยู่ในส่วนของราคะ ในส่วนที่ไม่น่ายินดีก็จัดอยู่ในส่วนของโทสะ ดังนั้น...ไม่ว่าเราจะยินดีหรือยินร้ายก็ตาม แปลว่าเราถูกกิเลสครอบงำทั้งคู่