เถรี
10-02-2012, 09:18
ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า สติที่กำหนดไว้เฉพาะหน้านั้น คือให้เอาความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามที่เราเคยมีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ ก็ถือว่าเป็นการเจริญกรรมฐานรับตรุษจีนของเราก็แล้วกัน ถึงแม้ว่าตรุษจีนจะเลยมาครึ่งเดือนแล้วก็ตาม
วันนี้มีญาติโยมหลายรายที่มาสอบถามเกี่ยวกับลักษณะของการทรงฌาน อยากจะบอกกับท่านทั้งหลายว่า การทรงฌานนั้น บางท่านก็มีสภาวะที่แตกต่างไปจากคนอื่นบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ท้ายสุดแล้วอาการส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกัน จึงได้ตักเตือนท่านทั้งหลายเหล่านั้นไปว่า การปฏิบัติของเรานั้น ไม่ได้สำคัญตรงที่ว่าทรงสมาธิระดับไหนได้ ไม่สำคัญตรงที่ว่าจะรู้เห็นอะไรได้ แต่สำคัญตรงที่ว่าสามารถละกิเลสได้หรือไม่
ถ้าสามารถละกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ได้ จะเป็นสมาธิระดับไหนก็ใช้ได้ และจะรู้เห็นหรือไม่..ไม่สำคัญ ขอให้สามารถทำใจให้ผ่องใสปราศจากกิเลสได้ แม้จะชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดีกว่าทำไม่ได้เสียเลย
ในเรื่องของการทรงฌานนั้น ถ้าหากว่ากันตามแบบในวิสุทธิมรรคแล้ว ปฐมฌานคือฌานที่ ๑ (ความเคยชินระดับที่ ๑) นั้น ท่านบอกว่าประกอบไปด้วยองค์ ๕ คือ วิตก คิดนึกตรึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจาร เรากำลังภาวนาอยู่ ลมหายใจจะแรงจะเบา จะยาวจะสั้น กำหนดรู้ตามไปด้วย ปีติ มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คือ ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลงหรือดิ้นตึงตัง ลอยขึ้นไปทั้งตัว หรือว่ารู้สึกตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรู ตัวแตก ตัวระเบิดไปก็มี
สุข คือความเยือกเย็นทั้งกายและใจ ที่ไม่สามารถจะอธิบายเป็นภาษามนุษย์ได้ถูก เนื่องจากว่าปกติแล้วเราจะโดนไฟใหญ่ ๔ กอง คือไฟจากความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เผาผลาญอยู่ตลอดเวลา การที่สมาธิเริ่มทรงตัวไปถึงระดับหนึ่ง ไฟใหญ่ ๔ กองนี้จะโดนอำนาจของสมาธิกดดับลงไปชั่วคราว บุคคลที่โดนไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับไป ถามเขาว่าสุขสบายอย่างไร เขาไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ และท้ายสุดคือ เอกัคตารมณ์ อารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ ก็ถือว่าเป็นการเจริญกรรมฐานรับตรุษจีนของเราก็แล้วกัน ถึงแม้ว่าตรุษจีนจะเลยมาครึ่งเดือนแล้วก็ตาม
วันนี้มีญาติโยมหลายรายที่มาสอบถามเกี่ยวกับลักษณะของการทรงฌาน อยากจะบอกกับท่านทั้งหลายว่า การทรงฌานนั้น บางท่านก็มีสภาวะที่แตกต่างไปจากคนอื่นบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ท้ายสุดแล้วอาการส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกัน จึงได้ตักเตือนท่านทั้งหลายเหล่านั้นไปว่า การปฏิบัติของเรานั้น ไม่ได้สำคัญตรงที่ว่าทรงสมาธิระดับไหนได้ ไม่สำคัญตรงที่ว่าจะรู้เห็นอะไรได้ แต่สำคัญตรงที่ว่าสามารถละกิเลสได้หรือไม่
ถ้าสามารถละกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ได้ จะเป็นสมาธิระดับไหนก็ใช้ได้ และจะรู้เห็นหรือไม่..ไม่สำคัญ ขอให้สามารถทำใจให้ผ่องใสปราศจากกิเลสได้ แม้จะชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดีกว่าทำไม่ได้เสียเลย
ในเรื่องของการทรงฌานนั้น ถ้าหากว่ากันตามแบบในวิสุทธิมรรคแล้ว ปฐมฌานคือฌานที่ ๑ (ความเคยชินระดับที่ ๑) นั้น ท่านบอกว่าประกอบไปด้วยองค์ ๕ คือ วิตก คิดนึกตรึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจาร เรากำลังภาวนาอยู่ ลมหายใจจะแรงจะเบา จะยาวจะสั้น กำหนดรู้ตามไปด้วย ปีติ มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คือ ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลงหรือดิ้นตึงตัง ลอยขึ้นไปทั้งตัว หรือว่ารู้สึกตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรู ตัวแตก ตัวระเบิดไปก็มี
สุข คือความเยือกเย็นทั้งกายและใจ ที่ไม่สามารถจะอธิบายเป็นภาษามนุษย์ได้ถูก เนื่องจากว่าปกติแล้วเราจะโดนไฟใหญ่ ๔ กอง คือไฟจากความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เผาผลาญอยู่ตลอดเวลา การที่สมาธิเริ่มทรงตัวไปถึงระดับหนึ่ง ไฟใหญ่ ๔ กองนี้จะโดนอำนาจของสมาธิกดดับลงไปชั่วคราว บุคคลที่โดนไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับไป ถามเขาว่าสุขสบายอย่างไร เขาไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ และท้ายสุดคือ เอกัคตารมณ์ อารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว