โอรส
24-01-2012, 21:43
ถาม: แล้วอย่างอารมณ์ตัดร่างกายนี้ ตัดตอนไหน ? หรือว่าตัดทุกตอนครับ ?
ตอบ: ต้องรู้สึกเสมอว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถึงจะเรียกว่าตัดร่างกาย
การปฏิบัติจะมี วิขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยความข่มไว้ ตทังควิมุตติ หลุดพ้นด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เป็นต้น แต่สำคัญตรงที่ สมุทเฉทวิมุตติ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด
เพราะฉะนั้น..ที่บอกว่า ตัดร่างกายตัดอย่างไร ? ก็ต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีความต้องการร่างกายนี้อีก ขึ้นชื่อว่าการเกิดมามีร่างกายเช่นนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว ให้ทรงอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติ ให้เป็นสมุทเฉทวิมุตติ ตัดโดยเด็ดขาดและสิ้นเชิง จึงจะไม่มีการกำเริบใหม่อีก
ถาม: อย่างที่เราคิดว่าเราไปตัดกิเลสอย่างนั้นอย่างนี้ จำเอาใช่ไหมครับ ?
ตอบ: ถ้าหากว่าเป็นสัญญาก็ได้แค่จำ เหมือนกับว่าจำไปตอบ อย่างเช่น รู้ว่าต้องตอบอย่างนี้ ครูถึงบอกว่าถูก กลัวเสียหน้าก็เลยตอบไปตามนั้น แต่จริง ๆ แล้วใจยังไม่ยอมรับ ถ้าใจยอมรับจริง ๆ อย่างเช่น
กำลังใจรู้อยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา พอไปเห็นร่างกายคนอื่น ก็เห็นว่านั่นไม่ใช่ของเขา และไม่ใช่ของเราด้วย ก็จะไม่เกิดความอยากได้ใคร่ดีในร่างกายของคนอื่นเขา จึงจะเป็นปัญญาที่ยอมรับตามความเป็นจริง แต่ถ้าเป็นสัญญาก็แค่จำได้เท่านั้น ตัดไม่ได้ ละไม่ออก
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
ตอบ: ต้องรู้สึกเสมอว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถึงจะเรียกว่าตัดร่างกาย
การปฏิบัติจะมี วิขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยความข่มไว้ ตทังควิมุตติ หลุดพ้นด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เป็นต้น แต่สำคัญตรงที่ สมุทเฉทวิมุตติ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด
เพราะฉะนั้น..ที่บอกว่า ตัดร่างกายตัดอย่างไร ? ก็ต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีความต้องการร่างกายนี้อีก ขึ้นชื่อว่าการเกิดมามีร่างกายเช่นนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว ให้ทรงอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติ ให้เป็นสมุทเฉทวิมุตติ ตัดโดยเด็ดขาดและสิ้นเชิง จึงจะไม่มีการกำเริบใหม่อีก
ถาม: อย่างที่เราคิดว่าเราไปตัดกิเลสอย่างนั้นอย่างนี้ จำเอาใช่ไหมครับ ?
ตอบ: ถ้าหากว่าเป็นสัญญาก็ได้แค่จำ เหมือนกับว่าจำไปตอบ อย่างเช่น รู้ว่าต้องตอบอย่างนี้ ครูถึงบอกว่าถูก กลัวเสียหน้าก็เลยตอบไปตามนั้น แต่จริง ๆ แล้วใจยังไม่ยอมรับ ถ้าใจยอมรับจริง ๆ อย่างเช่น
กำลังใจรู้อยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา พอไปเห็นร่างกายคนอื่น ก็เห็นว่านั่นไม่ใช่ของเขา และไม่ใช่ของเราด้วย ก็จะไม่เกิดความอยากได้ใคร่ดีในร่างกายของคนอื่นเขา จึงจะเป็นปัญญาที่ยอมรับตามความเป็นจริง แต่ถ้าเป็นสัญญาก็แค่จำได้เท่านั้น ตัดไม่ได้ ละไม่ออก
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕