View Full Version : ความรู้สึกและเรื่องราวจากการบวชเนกขัมมะที่วัดท่าขนุนของท่าน
มัคคนายก
06-12-2011, 07:24
กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการบอกเล่าความรู้สึกของท่านหลังจากผ่านการบวชเนกขัมมะที่วัดท่าขนุนของท่านทั้งหลาย ว่าท่านมีความรู้สึกอย่างไร
ขอให้บอกเล่ากันโดยธรรมฉันพี่น้อง และสหธรรมมิกที่ปรารถนาซึ่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น เพื่อปัญญาและเพื่อพระนิพพานร่วมกันนะครับ
:4672615: เริ่มได้ ณ บัดนี้
ชินเชาวน์
06-12-2011, 07:44
เดิมทีนึกว่ารอบนี้ (รอบที่ ๙) หลวงพ่อจะไม่ได้อยู่วัดเสียอีก ก็เลยลืมเอาเครื่องอัดเสียงและกล้องถ่ายรูปไปด้วย พอท่านทิดทักขึ้นมาว่า
"เฮ้ย...ไม่มีอะไรอัดเสียงท่านไว้สักหน่อยหรือ...?" จึงบอกไปตามตรงว่าไม่ได้เอามา ซึ่งสิ่งที่หลวงพ่อเทศน์ก็มีเนื้อหาที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความเสียดายที่ไม่ได้ทำการถ่ายทอดต่อไปให้คนอื่น ๆ ได้ฟังด้วย
ส่วนอากาศจะหนาวหลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว รู้สึกว่าเย็นกำลังดี ถ้าเย็นกว่านี้มากไปก็รู้สึกจะหนาวเกินไปแล้ว แต่บังเอิญว่าแอร์ที่ทำงานของผมเย็นกว่านี้ "บรื๋ออออ..." :cebollita_onion-08:
ดีใจที่ได้นอนคนเดียว (กลัวคนอื่นจะรำคาญเสียงกรน) พยายามนอนภาวนาไปเรื่อย ๆ ประคองสติไม่ให้หลับโดยไม่รู้สึกตัว (เพราะจะกรน) แต่ผิดคาด พอเริ่มภาวนา พุท ยังไม่ทันถึง โธ เลย ก็หลับไปเสียแล้ว... :b210e58c:
ส่วนเสียงกรนดังแค่ไหนก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าวันรุ่งขึ้นหลวงพี่ข้างห้อง หอบผ้าหนีไปนอนกับเณรที่ตึกแดงแทน !!! :onion_emoticons-17:
ตอนนี้เริ่มจะเชื่อชีกุ๋ยแล้วว่านอนวัดแล้วมีความสุข เพิ่งรู้สึกมีความสุขชัด ๆ อย่างนี้เป็นครั้งแรกเลยครับ...:4672615:
ความรู้สึกบางอย่างบอกออกมาเป็นตัวอักษรไม่ได้ครับ แต่ ๓ เรื่องที่บอกออกมาได้ คือ
๑. โชคดีที่ได้พบพระพุทธศาสนา
โชคดีที่ได้เกิดในเขตพระศาสนา ได้เกิดในแผ่นดินที่ในหลวงปกครองอยู่ แม้จะเกิดไม่ทันพระพุทธองค์ แต่ก็มีโอกาสได้พบพระอริยสงฆ์มากมาย แม้จะเกิดทันหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง (ไม่เคยพบท่าน) แต่อย่างน้อยก็ได้พบลูกศิษย์ของท่านอย่างพระอาจารย์เล็ก ท่านจิตโต หลวงตาวัชรชัย ฯลฯ และได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่ทำให้กลับเนื้อกลับตัวได้ (เมื่อก่อนเกเรครับ)
๒. ได้เข้าใจในสิ่งที่พระอาจารย์เล็กสอนว่า "ทำดีเพราะอยากทำ" และ "ให้เคารพและเกรงใจเหมือนวันแรกที่เคยรู้จักกัน"
ที่ผ่านมาได้มีโอกาสทำงานบุญอะไรหลาย ๆ อย่างที่อยากทำ และโชคดีที่ทำสำเร็จ โดยเฉพาะการพาคนไปบวชเนกขัมมะ ครบทุกรุ่นในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ และได้มีโอกาสพาคนใหม่หลายคนไปวัดท่าขนุน
หลายคนมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลายคนกลายมาเป็นขาประจำวัดท่าขนุน หลายคนเริ่มหันมาสนใจศึกษาและปฏิบัติมากขึ้น ขณะที่ตัวเองก็ได้ปฏิบัติมากขึ้น (แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำ)
ถึงตรงนี้ต้องขอขอบคุณ "ทิดตู่" อีกครั้ง เพราะจำได้ว่า วันนั้นได้เจอกันที่วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) มีพิธีหล่อพระอัครสาวก ๔ พระองค์ (ถ้าจำไม่ผิด) วันนั้นเป็นอีกหนึ่งวันที่พระอาจารย์เล็ก หลวงตาวัชรชัย และท่านจิตโตมาพร้อมกัน ซึ่งผมกำลังนั่งคิดอยู่ว่า ตั้งแต่ ธ.ค. ๕๓ ได้จัดทริปไปวัดท่าซุงทุกเดือน เพื่อพาคนไปกราบหลวงพ่อฤๅษี และไม่ได้ไปที่วัดท่าขนุนเลย เนื่องจากวันเสาร์ ๕ ที่วัดท่าซุงและบ้านสบายใจจัดงานตรงกัน ตอนนั้นรู้สึกห่างเหินกับวัดท่าขนุนมาก และบ้านอนุสาวรีย์ก็มีโอกาสไปไม่นาน จึงคิดว่า "อยากจะทำงานอะไรถวายพระอาจารย์เล็ก" แต่จะเข้าไปของานทำก็ไม่กล้า เพราะคิดว่าทีมงานของวัดท่าขนุนก็ทำหน้าที่ได้ดีมากแล้ว
โชคดีที่วันนั้นทิดตู่มาบอกว่า "พี่จัดทริปบ่อย น่าจะจัดทริปพาคนไปบวชเนกขัมมะ ที่วัดท่าขนุน" ดังนั้นจึงประกาศไปว่า จะจัดทริปพาคนมาบวชเนกขัมมะทุกรุ่นที่วัดท่าขนุนในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์เล็กเป็นอย่างสูงในการบวชทุก ๆ รุ่น
หลังจากจัดทริปไปบวชเนกขัมมะ วัดท่าขนุนแล้ว บ้านวิริยบารมีก็เปิดขึ้น หลายคนเดินทางไปลำบาก โดยเฉพาะคนใหม่ ๆ ก็เลยปรึกษา "ทิดตู่" ว่าจะจัดรถตู้บริการ โดยได้ทำมาจนถึงปัจจุบัน และจะพยายามทำจนกว่าสถานีรถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จ
เครดิตในการจัดทริปวัดท่าขนุนและบ้านวิริยบารมีในปีนี้ จึงขอยกให้กับ "คณะสะพานบุญ" และ "กัลยาณมิตรทุกท่าน" ที่ร่วมกันทำให้เกิดขึ้นและทำให้สำเร็จได้ด้วยดี
ขอบคุณตัวเองที่ "อยากทำ" เพราะถ้าตัวเอง "ไม่อยากทำ" คนอื่นมาหว่านล้อมอย่างไร ก็ไม่มีวันที่ "จะลงมือทำ"
อีกสิ่งหนึ่งที่จะนำไปใช้ คือ "ผู้นำต้องมีความเด็ดขาด และผู้ตามต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำอย่างเคร่งครัด" ในการบวชเนกขัมมะรอบนี้ได้เห็นความเด็ดขาดของพระอาจารย์ในการ "ด่าออกไมค์" เนื่องจากมีผู้หวังดีทำหน้าที่เกินคำสั่ง แม้ว่าผู้หวังดีท่านนั้นจะเป็นผู้ที่ทำงานใกล้ชิดก็ตาม ซึ่งทำให้นึกถึงคำสอนของพระอาจารย์เล็กที่ว่า "ให้เคารพและเกรงใจเหมือนวันแรกที่เคยรู้จักกัน" บางครั้งหลายท่านอาจจะเคยชินและหวังดี จึงทำอะไรบางอย่างโดยพลการ (เปลี่ยนแปลงคำสั่งของพระอาจารย์) ด้วยความหวังดี แต่มันอาจจะทำให้แผนที่วางไว้คลาดเคลื่อน และคนที่ปฏิบัติตามท่านอื่นสับสนในคำสั่งได้
ที่ยกมาเล่า มิได้ต้องการตำหนิใคร แต่อยากจะขอบคุณผู้หวังดีท่านนั้นที่เป็น "ครู" ครับ เพราะในการทำการสิ่งใดก็ตาม โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก จะต้องมีผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว คำสั่งนั้นจะต้อง "เด็ดขาด" และ "ศักดิ์สิทธิ์" ที่สำคัญ คือ "ผู้นำจะต้องปฏิบัติตนต่อผู้ตามทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ลำเอียงเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัว" ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่พระอาจารย์เล็กทำให้เห็นในการบวชครั้งนี้ครับ
๓. สิ่งที่พบในการบวชเนกขัมมะ ทุกรุ่น
สิ่งสำคัญมาก คือ ได้พบเจอกัลยาณมิตรใหม่ ๆ มากมาย รุ่นที่ ๙ นี้เป็นรุ่นที่ไปกวาดต้อนมาจาก Facebook มาสิบกว่าคน และสิ่งหนึ่งที่มั่นใจ คือ แม้ Facebook จะมีคุณอนันต์ (หากใช้อย่างถูกต้อง) และมีโทษมหันต์ (หากใช้ในทางที่ผิด) ที่อย่างน้อยถ้าเรานำคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในเรื่อง "มงคล ๓๘ ประการ" ข้อที่ ๑ การคบมิตรที่ดี ผมเชื่อว่า เราจะมีความสุขในการใช้ Facebook
ดังนั้น ทริปบวชเนกขัมมะ รุ่น ๙ นี้ จึงขอมอบเครดิตให้กับ "ชีกุ๋ย" ที่ขยันโพสต์ธรรมของพระอาจารย์เล็กอยู่เรื่อย ๆ และที่สำคัญ คือ ยินดีให้ผมไปลอกมาเผยแพร่ต่อ ทำให้เพื่อน ๆ ที่มาบวชเนกขัมมะ รุ่น ๙ นี้ได้อ่านคำสอนของพระอาจารย์เล็ก และอยากมาปฏิบัติธรรมกับท่าน
อาจจะยาวไปนิดนะครับ แต่ก็ขออนุญาตแบ่งปันประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันครับ เมื่อวานนี้หลังจากออกจากวัดท่าขนุน ได้พาเพื่อน ๆ ไปกราบพระที่วัดทองผาภูมิ และเจ้าพ่อทองผาภูมิ เนื่องจากตลอดปี ๒๕๕๔ ไม่เคยพาคนไปกราบเลย นอกจากนั้น ยังพาเพื่อน ๆ ขึ้นไปชมนิทรรศการวันพ่อที่ห้องประชุมหลวงปู่สาย ชั้น ๓ เทศบาลตำบลทองผาภูมิ ซึ่งพระอาจารย์เล็กชมว่าจัดได้ดี เนื่องจากบางคนไม่ได้ไปชมในช่วงเช้า
ดังนั้นจึงออกจาก อ.ทองผาภูมิ ประมาณ ๑๔.๔๐ น. และมาถึงอนุสาวรีย์ฯ เวลา ๒๐.๓๐ น. รวม ๕ ชั่วโมง ๕๐ นาทีครับ (มาทางพระราม ๒ และใช้เวลาเติมแก๊สประมาณ ๓๐ นาที)
โมทนา
สาธุ ขอโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านเช่นกันนะคะ ลูกเต่ารู้สึกดีมาก ดีใจที่ได้ไป ตั้งใจไว้ว่าถ้าได้ไปน่าจะดี ตั้งแต่พอทราบข่าว เลยวางแผนลางานล่วงหน้าเกือบเดือน (ลากิจ) ไม่ได้เบี้ยขยัน แต่นับว่าการไปครั้งนี้คุ้มค่ามากค่ะ ขนาดว่าตั้งใจจะไป คนที่คิดว่าจะได้ไปด้วยกัน ก็ไม่ได้ไปติดงาน ที่นี้คิดว่าทำอย่างไรดีนะจึงจะได้ไป คิดไปก็คิดไม่ออกว่าจะชวนใครไป แล้วถ้าชวนเขาจะไปกับเราไหม ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร ?
เหลือเวลาอีกแค่ประมาณ ๒ วัน จึงนึกขอบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์, ขอครูบาอาจารย์, และขอบารมีของพระอาจารย์เล็ก ขอหมดเลย ว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้ไปปฏิบัติธรรมบ้าง (เพราะอยู่บ้านไม่ได้ปฏิบัติ)
ปรากฏว่าหลังจากนั้นอีก ๑ วัน ได้โทรไปหาเพื่อน ซึ่งไม่เคยได้คุยกันน่าจะประมาณ เป็นปี โทรไปเพื่อนตกลงไปด้วยดีใจ และเพื่อนอีกคนลองชวนดูก็ตัดสินใจไปด้วย
เพื่อนที่ได้ไปด้วยกันรู้สึกว่าชอบเหมือนกัน ถ้าบุญพอมีอีกก็อยากไปอีก รู้สึกอิ่มบุญค่ะ
:4672615: การไปบวชเนกขัมมะแต่ละครั้ง นอกจากจะได้ทำวัตรสวดมนต์ร่วมกับหลวงพ่อแล้ว
(ตั้งแต่สวดมนต์ทำวัตรมาหลายวัด มาติดใจลีลาการสวดมนต์ทำวัตรของวัดท่าขนุน เพราะสวดได้จังหวะไม่เร็ว ไม่ช้าเกินไปและมีช่วงเสียงสูงต่ำ ทำให้บทสวดมนต์ฟังเพราะมาก บ่อยครั้งรู้สึกเหมือนกำลังนั่งทำวัตรเช้าเย็นอยู่ "ข้างบน" )
เรายังได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่หลวงพ่อนำมาเล่าให้ฟัง คิดตามที่หลวงพ่อพูดแล้วจะได้ "อะไร ๆ" ไปเยอะมาก...
:4672615:ได้เห็นจริยาวัตรของหลวงพ่อที่ "เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด" ที่เราควรปฏิบัติตาม
:4672615:ได้พบเห็นกำลังใจของแต่ละคนที่มาอยู่ที่วัด แม้จะในระยะเวลาแค่ ๒-๓ วัน แต่คนมาเยอะจากต่างที่ ต่างจิตใจ ต่างความคิด การกระทำจึงแตกต่างไปด้วย แล้วได้ฝึกใจตัวเองให้ยอมรับในสิ่งที่แต่ละคนเป็น
:4672615: ได้ดูใจของตัวเองด้วยว่า เมื่อมีอะไร สิ่งใด หรือการกระทำของคนอื่นมากระทบ ใจของตัวเองเป็นอย่างไร....:onion_yom: จะรับมือกับใจตัวเองอย่างไร ถ้าไม่ไหวก็ถอยออกมาตั้งหลักใหม่ :54bd3bbb:
:4672615: แรก ๆ มาวัด กว่าจะหลับได้บางทีตีหนึ่ง เดี๋ยวนี้หัวถึงหมอนภาวนา พุท คำเดียวก็หลับแล้ว และสามารถหลับแบบ "สะสมทรัพย์" ได้ตลอดเวลา คือมีเวลา แค่ ๑๐ ๒๐ หรือ ๓๐ นาที ก็สามารถหลับเก็บแรงออมไว้ได้โดยง่าย:54bd3bbb:
:4672615: สุดท้ายได้บุญที่ยิ่งใหญ่น้อมถวายกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมตลอดถึงอุทิศให้กับทุกคนที่เรารักด้วย:d16c4689:
http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/386234_10150379967315966_704740965_8440840_250399503_n.jpg
http://a7.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/380155_10150379953970966_704740965_8440682_812636275_n.jpg
รู้สึกอิ่มใจค่ะ
รู้สึกโชคดี และมีความสุขมาก ๆ ทุกครั้งที่มีโอกาสมาบวชค่ะ :msn_smilies-22:
สายท่าขนุน
07-12-2011, 00:28
รู้สึก งง ๆ ว่า นี่ตูมาบวชได้อย่างไรนี่ ทั้งที่ไม่เคยนึกอยากจะบวช ไม่ว่าชี หรือ ชีพราหมณ์...
ไม่ชอบอยู่วัด เพราะกลัวทำตัวไม่เหมาะสม ไม่ชอบนอนกับใคร ไม่นอนกลางสาธารณชน ไม่ชอบใส่ชุดฟอร์ม...
นี่แค่ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาว ('แค่เสื้อขาวก็พอ ข้างล่างอยากลายอย่างไร ก็ตามใจ') ก็มาบวชแล้ว
ตื่นเช้าสวดมนต์อีก ถึงไม่ใช่คนตื่นสาย แต่ก็งงกับตัวเองที่รีบตื่นมาทำวัตรทุกครั้ง
...ครั้งแรกก็ว่า สักครั้งนะ ถวายในหลวง ปรากฏว่าสบายไป (มีโต๊ะจีนเลี้ยงด้วย)
ทำให้ครบ ๓ ครั้งก็แล้วกัน... ครบสามครั้งแล้วก็ติดใจ มีครั้งที่สี่
คลับคล้ายคลับคลาว่าเว้นครั้งที่ห้า แล้วก็มาอีก ครั้งหลัง ๆ นี่ติดใจ คิดถึงวัด คิดถึงพระอาจารย์
...อ้อ ลืมเล่าไปว่า คราวแรก คนเคยกินแต่ข้าวกลางวัน หนักมื้อเย็น ไม่กินข้าวเช้า
หิวสิ..ช่วงค่ำ ก็กินนมบ้าง โอวัลตินบ้าง... พอครั้งที่สอง ไม่กินแล้วดีกว่า ก็ไม่ได้หิวมากแล้ว
ก็พระอาจารย์ชวนคราวที่สองนี้เอง (ที่จริงก็ชวนคราวแรกด้วย ให้ถือศีลแปดต่อ แบบเฉพาะวันก็ได้)
ที่ทำให้ถือศีลแปดมาถึงทุกวันนี้... ท่านชักชวนแบบ "จูงใจ" มาก
ถึงกับเคลิ้มตามทีเดียว... นึกว่าก็เคยตั้งใจถือเมื่อหลายปีมาแล้ว
ข้อไหน ๆ ก็ไม่เห็นลำบากเกินไป...นี่เรารออะไรอยู่ หรือจะรอกินข้าวเย็นอีกสักพัก
..บางรอบก็มีโอกาสแอบเดินถอยหลัง (จะ 'โดน' ฐานเลียนแบบไหมนะ)
ทำให้รู้ว่า เดินเฉย ๆ ไม่ยากอะไร แต่เดินให้รู้ว่าจะชนใครหรือยังนี่สิ..???
...บางรอบก็แอบหลับตาเดิน นี่สิยากจริง..'ทำใจ'..ไม่เป็นสักที
ที่สำคัญและขอกราบงาม ๆ คือ หลวงปู่สาย ท่านเมตตาเราทุกครั้งที่มีปัญหาตั้งกำลังใจตอนทำกรรมฐาน
...ไป ๆ มา ๆ ก็มาถึงครั้งที่เก้านี้ที่เว้น ก็งงตัวเองอีกว่า เลข '๙' เชียวนะ
ช่วงวันเฉลิมฯ พอดี มีกิจกรรมดี ๆ ใบประกาศฯ เขาก็สะสมกัน ยังลายเซ็นที่จะเปลี่ยนอีก
กลับรู้สึกเฉย ๆ ... ไม่ยักเหมือนที่ไปรอดักถ่ายรูปพระอาจารย์ขากลับจากบิณฑบาตเลย
...ใคร ๆ เขาเลิกถ่ายแล้ว ยายก็ยังไปดักทุกที คงชอบตรงที่ต้องเดินให้พอดีกับแถวพระที่ไล่หลังมา
(มีใครรู้ไหมนี่ว่า ยายเดินดูดีเชียว แต่ยังทั้ง 'เมา' ทั้ง 'กลัว' ข้ามสะพานแขวนอยู่ ๕๕๕)
อะไรต่ออะไรที่ดี ๆ ทยอยได้มาเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่ไปบวช... รออ่านของท่านอื่นด้วย
...สรุปว่า รู้สึกงง ๆ ว่า นี่ตูมาบวชได้อย่างไรนี่..?
วายุภัทร
07-12-2011, 23:11
ผมได้ไปร่วมบวชเนกขัมมะ ๒ รุ่น เพราะอยากปฏิบัติภายใต้การนำของท่านพระอาจารย์และได้ถวายพระราชกุศลแด่ในหลวงด้วย ระหว่างบวชมีกำลังใจในการปฏิบัติมาก ด้วยมีศรัทธาต่อองค์ท่านอาจารย์อยู่แล้ว ชอบดูจริยาวัตรของท่านที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย และได้ฟังธรรมจากท่านอย่างใกล้ชิด
ตอนบวชเนกขัมมะรุ่น ๗ ได้จำคำสอนท่านอาจารย์มาฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้
๑.โลกันตมหานรก มีโทษ ๔ เท่าของอเวจีมหานรก มีความผิดอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ทำผิดโดยการสอนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ท่านถามเทวทูตที่นำไปชมว่า ทำไมถึงร้ายแรงนัก เทวทูตชี้แจงว่า เมื่อคนที่เราสอนไปแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็จะทำอกุศลกรรม จนทำให้ตกไปสู่อเวจีมหานรกได้ เมื่อนั้นโทษบาปกรรมทั้งหมด จะทำให้ตกนรกทุกขุม เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ต้องชดใช้ทั้งหมด ในเมื่อเป็นเหตุให้เขาห่างจากความดีได้มากขนาดนี้ จึงมีโทษหนักลงโลกันตมหานรก ท่านจึงเตือนว่า ต้องระวังกาย วาจา ใจ อย่าใช้อัตโนมติของตัวเองแนะนำผู้อื่น ถ้าไม่รู้จริงในพระธรรม ก็อย่าไปสอนเขา แนะนำให้ไปอ่านในพระไตรปิฎกหรือคำสอนของหลวงพ่อวัดท่าซุงแทน
๒.เรื่องของทิพจักขุญาณ มารจะแทรกเสมอ จงอย่าเชื่อถือ ท่านยกตัวอย่าง พระอุปคุตมหาเถระ ที่หลงไหว้รูปพุทธนิมิตอันพระยามาราธิราชแสดง หรือสุดยอดมโนมยิทธิอย่างหลวงพ่อวัดท่าซุง ก็ถูกมารหลอกมาแล้ว ท่านสรุปว่า มารไม่ใช่ศัตรู แต่คือ ครูที่ดีที่สุด
๓.ภาระใหญ่ที่สมเด็จพ่อฯ ฝากไว้ คือ การปฏิบัติให้ได้มรรคได้ผล จนสามารถเป็นทนายแก้ต่างแทนพระพุทธศาสนา ลบล้างคำปรามาสของบุคคลที่ไม่นับถือได้ พุทธบริษัท ๔ ไม่ใช่มีแต่ภิกษุ ภิกษุณี ยังมีอุบาสก อุบาสิกา ด้วย ดังนั้น จึงไม่ใช่หน้าที่ของท่านและคณะเท่านั้น (อันนี้ ฟังแล้ว ได้คติเตือนใจมากว่า การที่เราจะกตัญญูกตเวทีต่อสมเด็จพ่อฯ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเราอย่างยิ่งนั้น คือ การเร่งความเพียรในการปฏิบัติให้เกิดมรรคเกิดผล นั่นเอง)
มีเรื่องหนึ่งประทับใจผมมาก คือ ได้ถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึกกับท่านพระอาจารย์ โดยผมได้ยืนชิดองค์ท่านเลย แต่ก่อนจะได้ภาพที่ภาคภูมิใจนี้ก็ต้องโดนดุก่อน เพราะผมไม่กล้ายืน ด้วยคิดว่าจะปรามาสท่าน ท่านว่า "ให้ยืน" เราก็ยังนั่งลง ท่านจึงว่า "บอกให้ยืน..นี่พูดเป็นภาษาไทยชัด ๆ แล้วนะ" จึงได้คติว่า ถ้าครูบาอาจารย์สั่งอะไร ให้ทำอย่างนั้น เพราะท่านได้พิจารณาว่าเหมาะสมแล้ว
มัคคนายก
02-01-2012, 20:15
สำหรับท่านใดที่มีประสบการณ์จากการบวชเนกขัมมะเฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๑/๒๕๕๕ กรุณาเล่าสู่กันฟังด้วยจ้ะ
ชินเชาวน์
03-01-2012, 05:55
:4672615: งานนี้ขอยืนยันด้วยภาพ
ก่อนขึ้น "วี้ดว้าย...สู้ตายค่ะ !"
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16015&stc=1&d=1325545072
ขาลง (สงบเสงี่ยม เจียมตัว ไม่พูดและสุงสิงกับใคร มีบันไดเป็นที่พึ่ง และหน้าซีด ๆ ชอบกล)
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16016&stc=1&d=1325545072
รุ่น ๑/๒๕๕๕
ยืนยันว่า "ลิ้นห้อย" (ส่งท้ายปีเก่าด้วยการเดินจงกรมขึ้นเขา)
ตามด้วย "อดนอน" ข้ามปี (สวดมนต์ข้ามปี) และ
ปิดท้ายรับปีใหม่ด้วยการ "แสดงพลังอึด" (จงกรมรอบวัด)
สรุปว่า รุ่นนี้จัดหนัก "สะใจดี" คนถ่ายภาพอย่างคุณหนุ่มชินเชาวน์ลิ้นห้อย
ทราบมาว่า "ขึ้นไม่ถึงยอดเขา" ๕๕๕
:4672615:การได้ปฏิบัติกรรมฐานเดินขึ้นเขาดีมาก แต่ความกว้างและความสูงของบันไดทางขึ้นไม่เอื้อต่อการยกหนอเหยียบหนอเอาเสียเลย
:4672615:การเดินรอบวัดจึงน่าจะดีกว่าหากจะก้าวกันยาวกว่าที่ผ่านมา หรือจะปล่อยให้แต่ละคนปฏิบัติกันเอง หามุมเดิน มุมนั่งกันเองในบริเวณลานธรรมก็น่าจะดีเช่นกัน:4672615:
รอบนี้ตรงกับงานที่วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ด้วย และพระอาจารย์รับนิมนต์หลวงตาไว้แล้ว ดูจากเว็บวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
ก็วิ่ง ๒ ที่ซิจ๊ะ ถ้ากำหนดการวัดท่าขนุนสึกตอนเช้า ก็วิ่งรถไปวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ต่อ เพราะกำหนดการที่วัดเขาวงเป็นช่วงบ่าย น่าจะทัน วิ่งไปท่องคาถาย่นระยะทางไปพลาง พี่เองเคยวิ่ง ๒ ที่อยู่ครั้งตอนงานเป่ายันต์เกราะเพชรเมื่อหลายปีก่อนจากวัดท่าขนุนไปวัดท่าซุงก็ "เอาอยู่" คิดว่าระยะทางน่าจะพอ ๆ กัน แต่ต้องเลี่ยงการเข้ากรุงเทพฯ จ้ะ
หมายเหตุ
การเดินทางแบบนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ แต่ก็ไม่แนะนำให้เลียนแบบสำหรับคนที่ชอบการเดินทางแบบสบาย ๆ หรือนุ่มนวล เพราะลูกบ้าพี่มันเยอะ พอเจอคนขับรถที่บ้าพอกันก็เลยลุยกันไปได้ทุกทิศแบบค้านสายตาคนดู ฮิ ฮิ ฮิ :onion_no:
ขออนุญาตแบ่งปันความรู้สึกในการบวชเนกขัม รุ่นที่ ๑/๒๕๕๕
ในปี ๒๕๕๔ เมตตาคนอื่นมากไป ทำให้จิตกังวลในเรื่องการถ่ายภาพ
รวมทั้งกังวลเรื่องคนที่มาบวชเนกขัมมะ ครั้งแรก
แต่การจัดทริปปี ๒๕๕๕ ให้ความสำคัญกับ "จิตของตัวเองมากขึ้น"
โดย "เมตตาตัวเองมากขึ้น" และมองว่า คนที่มาร่วมทริป คือ คนร่วมจ่ายค่ารถมาบวชร่วมกัน
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ และไม่จำเป็นต้องดูแลความรู้สึกของผู้ร่วมทริปมากนัก
กล่าวคือ ทุกคนควร "ดูแลใจตัวเอง" และเรียนรู้ว่า คนหมู่มากกำลังทำอะไรอยู่
แต่ได้กำชับผู้ร่วมทริป ๒ เรื่อง คือ "เรื่องเสียงมือถือ" และ "เรื่องการตรงต่อเวลา"
สำหรับความรู้สึกส่วนตัวในการบวชรอบนี้
๑. รู้สึกว่า ตัวเอง "วาง" ในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ เรื่องถ่ายรูป ผมถ่ายบ้างนิดหน่อย
เพื่อเอาไปโพสต์ในคนโมทนาในเว็บพลังจิต เป็นต้น แต่รอบนี้ "หมอเสือ" ดันเบี้ยวผม ๕๕๕
๒. บวชรอบนี้ รู้สึกว่า "นั่งสมาธิได้ลึกขึ้น นิ่งขึ้น" แม้จะยังไม่ถึงขั้นที่ใช้งานได้ก็ตาม
แต่รู้สึกว่า "จิตไม่ต้องแบก" โดยได้กลับมาทบทวนพื้นฐานของการนั่งกรรมฐานที่พระอาจารย์เคยสอนไว้
คือ "จับภาพพระ และจับลมหายใจเข้าออก"
๓. เริ่มวางกำลังใจแบบที่พระอาจารย์สอนไว้ ใจความโดยสรุป คือ
"ต้องให้กำลังใจตัวเองในการปฏิบัติ" เช่น เราต้องการไปเชียงใหม่ แต่ตอนนี้เราอยู่กาญจนบุรี
ถ้าเรามองว่า ระยะทางอีกไกล เราจะหมดกำลังใจ แต่ถ้าเรามองไปยังคนที่อยู่นราธิวาส
เราจะเห็นว่า เราอยู่กลางทางแล้ว เราอยู่ใกล้เชียงใหม่มากกว่าคนที่อยู่นราธิวาส"
๔. ผมรู้สึกและเชื่อว่าได้รับการสงเคราะห์จาก "พระ" ไม่ว่าจะเป็น
"เสียงตามสายของหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง" "การเทศน์สอนของพระอาจารย์เล็กในการบวชเนกขัมมะ"
และ "เสียงของท่านจิตโต ซึ่งผมนำมาฟังด้วย"
"หลาย ๆ คำถามในใจ" มีคำตอบออกมาครับ
ถือว่า "คุ้มค่ามาก" ที่ได้ไปบวชเนกขัมมะตลอดปี ๒๕๕๔ ต่อเนื่องมาถึงปี ๒๕๕๕
เด็กอนุบาล
04-01-2012, 12:01
ได้รับความประทับใจจากการบวชรุ่นหนึ่งปีนี้หลายประการครับ
๑. ได้ฝึกใจให้ห่างรัก โลภ โกรธ หลง ได้นานที่สุดเท่าที่เคยเป็นมาในชีวิต....เมื่อก่อนผมจะเป็นคนที่จับลมหายใจเข้าออกยากมาก แค่ห้านาทีก็ยังรากเลือดเลย แต่ทริปนี้ทำได้เกินสิบนาที....ต้องขอบพระคุณที่พระอาจารย์ท่านจัดหลักสูตรให้มีการเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิ อีกทั้งมีการสวดมนต์ทำวัตรเข้ามาช่วยประคองการสะสมกำลังสติ ทำให้ทุกอย่างเกื้อกูลให้การนั่งสมาธิของผมทำได้สงบขึ้น ได้ระยะเวลานานขึ้นมากเลย
๒. ประทับใจที่สุดกับการสวดมนต์ข้ามปีที่วัดท่าขนุน....ปีที่แล้วผมเบี้ยวกิจกรรมนี้ไป ปีนี้เลยฮึดว่าเอาอย่างไรเอากัน ผลของการไม่ตามใจกิเลสก็คือได้รู้ว่า การสวดมนต์นาน ๆ สามารถสร้างความสุขสงบใจได้อย่างน่าอัศจรรย์...และประทับใจกับพรอันประเสริฐที่พระอาจารย์ได้ให้เราในช่วงท้ายด้วย...สรุปว่าปีนี้น่าจะเป็นปีทองของเราแน่นอน
๓. ประทับใจที่สุดของที่สุดกับการที่ได้จุดเทียนสืบชะตาและอธิษฐานขอพร ทำถวายแด่องค์ในหลวงและคุณพ่อคุณแม่ของผม ในช่วงเช้าของวันปีใหม่...ปีที่แล้วก็จุดครับ แต่จุดขอพรให้ตัวเอง เลยไม่ประทับใจมากเท่าปีนี้
๔. ได้เลขที่วุฒิบัตรที่เชื่อว่าจะนำโชคให้ผมในระยะเวลาอีกไม่กี่งวดนี้...ปีที่แล้วก็บวชได้เลขที่วุุฒิบัตรมา แต่ด้วยการขาดวิริยบารมี ทำให้ไม่หมั่นเพียรนำเลขไปใช้ให้ต่อเนื่อง ผลคือเลขดังกล่าวได้สร้างความรํ่ารวย (ให้คนอื่น) ในอีกไม่กี่งวดหลังจากผมเลิกตาม...ที่สุดจึงเชื่อที่พระอาจารย์ท่านเคยบอกอย่างสนิทใจว่า พวกเราขาดวิริยบารมีกัน
โยคียุ้ย
04-01-2012, 16:50
พระอาจารย์ ท่านสอนในช่วงทำวัตร ประมาณว่า...
(๑) ถ้าเห็นคนอื่นที่เขาปฏิบัติได้แล้ว ทำตัวตามสบาย ก็อย่าไปคิดเลียนแบบเขา...เพราะถ้าเรายังทำไม่ถึง ใจเราก็ไม่ได้สบายเหมือนเขา (ท่านเคยปรารภว่า เรื่องของสมบัติเศรษฐี ใครอยากได้ ก็ต้องทำเอง)
(๒) เรื่องกิเลส ต้องทน ต้องฝืน เพื่อให้มีสติ พร้อมรับมือกับแรงกดดัน และการกระทบกระทั่งทุกชนิด...เหมือนกับทหาร ที่ถูกฝึกให้ผจญความกดดันและความลำบากทุกอย่าง เพื่อให้สามารถควบคุมสติได้ยามมีภัย (ท่านเล่าประสบการณ์ตอนเป็นทหารให้ฟัง–ต้องฝึกทั้งร่างกายและจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่กลัวความตาย)
*ขอสาธุ...กับความตั้งใจของทุกท่านด้วยครับ*
บวชรอบนี้ระยะเวลาเพียง ๒ วัน หลายคนตั้งใจมาบวชเพื่อปฏิบัติจริง ๆ
ปีนี้ "ความบ้า" ในการจัดทริปผมลดลงไปเยอะ มีแต่ "ความบ้า" ในการนำวัตถุมงคลออกมาทำบุญ ๕๕๕
วิ่ง ๒ ที่พี่หมายถึงในกรณีที่ถ้ากำหนดการวัดท่าขนุนสึกตอนเช้า เพราะพี่เห็นว่างานที่ครูบาอาจารย์สายหลวงพ่อจะมานั่งอธิษฐานจิตร่วมกันได้มากขนาดนี้เป็นโอกาสที่หายากมากขึ้นทุกวัน ถ้ามีเวลาพอกับการได้เดินทางไปและได้กราบด้วยก็เป็นอะไรที่สุดยอด..... โดยเฉพาะเมื่อหลังจากการบวชเนกขัมมะเสร็จก็ยิ่งเป็นอะไรที่สุดยอดมากขึ้นค่ะ :d16c4689:
:onion_emoticons-01:ยกกรุมาเลยคุณน้อง ได้ข่าวว่าเก็บไว้เยอะนี่
กล้วยไม้
05-01-2012, 21:34
ดีใจที่ได้เจอที่พักพิงทางใจเพื่อเพิ่มพลังในการไปสู้ทางโลก ขอบคุณคุณคมน์และพี่หญิงที่มีการจัดรถตู้เพื่อให้คนที่จะไปวัดเดินทางไปกลับได้โดยสะดวกค่ะ
หลังจาก ๑ ปีที่ผ่านมาได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดท่าขนุนกับพระอาจารย์ ถึงจะไม่ได้ไปทุกครั้งที่ท่านจัด แต่ก็พยายามไปให้มากที่สุดเท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ค่ะ ทำให้เราได้มีสติขึ้น ปีนี้ก็ตั้งใจเช่นเดิมว่าขอให้มีความคล่องตัวทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ
http://upic.me/i/2y/9zq3..jpg (http://upic.me/show/31431334)
http://upic.me/i/g3/9917..jpg (http://upic.me/show/31431333)
ขออนุญาตแบ่งปันความรู้สึกการบวชเนกขัมมะ รุ่น ๔/๒๕๕๕ ครับ
ภาพชุดที่ ๑ (๑๓-๑๔ เม.ย. ๕๕)
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.334769339919638.79978.100001597256465&type=3&l=d8c9f1fb75
ภาพชุดที่ ๒ (วันที่ ๑๕ เม.ย. ๕๕)
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.334853696577869.79986.100001597256465&type=3&l=c1d936c6dc
ภาพชุดที่ ๓ (๑๖ เม.ย. ๕๕)
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.336259876437251.80117.100001597256465&type=3&l=5c13e19272
คลิปอุ้มพระ (สงฆ์) สรงน้ำ วัดท่าขนุน ปี ๒๕๕๕
http://www.youtube.com/watch?v=OfnGNHsHonc&feature=youtu.be
ความรู้สึกจากการบวชรุ่น ๔/๒๕๕๕
๑. ความเสียสละและความมีน้ำใจของเพื่อนร่วมทริป
รถตู้บริการจากเว็บพลังจิตมีผู้ร่วมทริป ๓๓ คน (ปกติจัดให้นั่งคันละ ๑๐ คน) ดังนั้นจึงต้องจัดที่นั่งให้บางคนนั่งเบียดแถวหลัง ๔ คน ซึ่งคนที่ต้องนั่งเบียดก็เต็มใจและยินดีที่จะลำบาก เพื่อให้เพื่อน ๆ อีก ๓ คนได้ไปบวชด้วย นอกจากนั้นหลาย ๆ คนยังได้แบ่งโควต้าพระปิดตา จัมโบ้ ให้ผมและพี่ ญ.ผู้หญิง เพื่อนำไปต่อบุญ บางคนให้สิทธิ์ บางคนให้พระ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่เราเริ่มต้นปีใหม่ไทยด้วยความรู้สึกแบบนี้ครับ
๒. การมีโอกาสทำบุญร่วมกันกับกัลยาณมิตรทั้งหลาย
หลายครั้งที่ผมมักจะเอาป้ายเว็บพลังจิตไปใช้ในการถ่ายรูปเพื่อสร้างภาพ ซึ่งเหตุผลสำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์ให้คนที่กำลังใจอ่อนเข้าใจว่า การมาวัดไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อและเป็นเรื่องสนุก โดยเฉพาะการมีเพื่อนใหม่ และได้ร่วมบุญกับเพื่อนใหม่ ซึ่งหลายท่านกลายเป็นเพื่อนสนิทที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอนาคต
http://a6.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/563563_334817093248196_100001597256465_987045_190470973_n.jpg
http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/541309_334901499906422_100001597256465_987238_857144942_n.jpg
ร่วมกันปักให้เต็มต้นผ้าป่าครับ
http://a7.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/75577_335772543152651_100001597256465_988512_87513001_n.jpg
ร่วมกันชำระหนี้สงฆ์ก่อนกลับ ๓,๖๐๐ บาท
๓. การได้รับการชี้แนะจากครูบาอาจารย์
รอบนี้พระอาจารย์เล็กเมตตาควบคุมการฝึกกรรมฐานด้วยตนเอง ท่านเมตตาแนะนำตั้งแต่การนั่ง การหายใจ การพิจารณา ฯลฯ ตัวผมเองโดนท่านสะกิดไป ๓ รอบ รอบละ ๒ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่ท่านสะกิดนั้น ภาพพระทองคำก็ปรากฏขึ้นที่หน้า (ถ้าโดนท่านเตะ สงสัยจะจำติดตา ติดใจแน่ ๆ ๕๕)
๔. ค้นพบกิจกรรมใหม่นอกวัด
หลังจากทดลองพาผู้ร่วมทริปซื้อปลาที่ตลาดไปปล่อยที่แม่น้ำ (จุดชมวิว) ซึ่งต่อมาก็มีการรวมกลุ่มกันไปปล่อยปลา ปล่อยกบ ฯลฯ เป็นจำนวนมาก โดยผมคิดว่า เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากครับ
http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/576684_334773233252582_100001597256465_986919_1221643985_n.jpg
http://a3.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/575017_334777783252127_100001597256465_986960_1689850304_n.jpg
หมายเหตุ : ส่วนพี่ ญ.ผู้หญิง เตรียม "ปล่อยพระ (ให้เช่า)" เพื่อต่อบุญ ซึ่งอานิสงส์สูงมาก ๆ ครับ
๕. เป็นทริปที่อยากจะบอกว่าเหนื่อยมาก ๆ
แม้ทริปนี้จะปฏิบัติเพียง ๒ รอบ แต่อากาศร้อนมาก ๆ ดังนั้นหลายท่านจึงเป็นไข้ ไม่สบาย แต่ทุกท่านวางกำลังใจที่จะปฏิบัติบูชา
http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/564980_334842999912272_100001597256465_987097_642787661_n.jpg
ก่อกองทรายก็เหนื่อยเหมือนกัน
๖. สิ่งประทับใจสุดท้าย คือ มีโอกาสแสดงความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์
ในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ พวกเราได้ร่วมกันถวายทองคำครึ่งสลึง เพื่อบูชาครู (พระอาจารย์เล็ก) แม้จะเป็นทองคำเพียงครึ่งสลึง แต่สำหรับพวกเราแล้ว มันมากมายมหาศาล
ท่านจิตโตเมตตาสอนไว้ ซึ่งผมสรุปจากความจำได้ว่า ทองคำเป็นธาตุบริสุทธิ์เป็นของเลิศที่พวกเราจะหาได้สำหรับการบูชาครู และทองคำที่เราตั้งใจถวายไว้ในพระศาสนานั้น แม้จะสิ้นสุดศาสนานี้ไป แต่ทองคำเป็นธาตุที่เสื่อมสลายยากและจะคงอยู่ในโลกใบนี้ ซึ่งวันหนึ่งก็จะถูกนำกลับมาใช้บูชาคุณพระรัตนตรัยในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ต่อ ๆ ไป ดังนั้นการถวายทองคำจึงมีอานิสงส์มาก
ดังนั้นการมีโอกาสถวายทองคำเพื่อบูชาคุณพระอาจารย์เล็ก จึงเป็นเรื่องที่เป็นมงคลสำหรับพวกเราในฐานะลูกศิษย์
http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/525808_334857679910804_100001597256465_987112_1754655421_n.jpg
ขอบคุณพานสวย ๆ ฝีมือ "ป้านุช" และสมุนครับ
http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/389192_334888459907726_100001597256465_987186_1628286913_n.jpg
สำหรับผมนั้น "ทองคำ" มีความหมายว่า เป็นสิ่งบูชาครูที่มาจากเงินของพวกเราคนละเล็กละน้อย หนึ่งบาท สองบาท ห้าบาท ฯลฯ จะเหรียญเก่าเหรียญใหม่ แบงค์เก่า แบงค์ใหม่ แต่สุดท้ายเมื่อเรานำมันมารวมกันก็จะเป็นทองคำบริสุทธิ์ ที่สามารถนำมาใช้บูชาครูได้ครับ ดังนั้น เพื่อทำความดีถวายครูบาอาจารย์ของเรา "พวกเราต้องรักกันให้มาก ๆ ครับ" หรือ "ถ้าทำใจให้รักกันไม่ได้ ก็อย่าสร้างความลำบากใจให้กันและกันนะครับ"
๗. เรื่องสุดท้ายที่อยากทำ คือ "คู่มือบวชเนกขัมมะ วัดท่าขนุน"
ช่วงหลัง ๆ เริ่มปล่อยผู้บวชเนกขัมมะที่มาพร้อมทริปดูแลตนเอง แต่เกรงจะสร้างความวุ่นวายให้กับคนในวัด ดังนั้นจึงตั้งใจที่จะหาเวลาว่างนั่งเขียนคู่มือการปฏิบัติตนเล่มเล็ก ๆ ในวัดว่า เมื่อมาบวชแล้วจะต้องทำอะไรบ้าง และไปที่ไหนได้บ้าง คนจะได้อ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจะช่วยลดภาระให้กับผู้ดูแลและลดการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมในวัดได้ครับ
เรื่องนี้ตั้งใจจะทยอยเขียนให้เสร็จก่อนเข้าพรรษา (ต้นทุนผลิตแบบถ่ายเอกสารน่าจะเล่มละ ๕ บาทครับ เดี๋ยวผลิตและแจกฟรีให้)
เขียนเท่านี้ก่อนครับ เพราะวันนี้ยกแขนไม่ขึ้นครับ ปวดร้าวไปทั้งตัว
แถม "ปวดใจ" ด้วย ๕๕๕ (ขำ ๆ กันวันละนิดนะครับ)
ชินเชาวน์
17-04-2012, 10:46
ครั้งนี้ถึงรอบการปฏิบัติจะไม่เยอะ แต่ความทนทานของร่างกายต้องใช้มากเป็นพิเศษ เพราะอากาศร้อนอบอ้าวสุด ๆ รู้สึกไข้จับนิด ๆ ตั้งแต่วันแรก เพลียและอ่อนล้าเพราะเสียเหงื่อไปมาก
แต่ก็มีน้ำเก๊กฮวยเค็มให้ดื่มกัน แหม...ทีแรกผมก็งง ๆ ว่าทำไมวันนี้ฝีมือตก...ดื่มแทบไม่หมดกันเลยทีเดียว ๕๕๕ :70bff581:
เหตุผลที่ "ขายไม่ออก"
http://a6.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/575079_336261379770434_100001597256465_989170_787496730_n.jpg
เข้าคิวรอการคัดเลือก
http://a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/521978_336261306437108_100001597256465_989169_566347095_n.jpg
จูบกบจนหมดถุง แต่ยังไม่เจอ "เจ้าชาย" สงสัยจะเป็นกบตัวเมีย ดังนั้นคาดว่า เมนูต่อไป คือ "แกงเลียงกบ" ฟันธง !!!
หมายเหตุ : รอบหน้าต้องให้ชินเชาว์จูบแทน จะได้ตามหา "เจ้าหญิงในนิยายเจอ"
ส่วนท่านใดจะตามหาพี่ ญ.ผู้หญิง ไม่ต้องตามหานะครับ เพราะเธอขึ้น "สวรรค์" กลายร่างเป็น "เซียน (พระ)" ไปแล้ว ๕๕๕
:4672615:ชื่นใจกับกำลังใจของทุกคนที่มาบวช แสดงให้เห็นชัดเลยว่า แม้จะอยู่กับสิ่งสมมติ อยู่บนโลก อยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ แต่ทุกคนก็ไม่ติดโลก ไม่หลงไปกับเรื่องราวรื่นรมย์ที่ไม่มีเรื่องของบุญมาเกี่ยวข้อง (โดยเฉพาะพระปิดตาจัมโบ้ :54bd3bbb: )
ซึ่งพระอาจารย์บอกว่าการบวชปฏิบัติธรรมที่วัดท่าขนุนแพงมาก คนละ ๒,๐๐๐ บาท (ได้พระปิดตาจัมโบ้คนละ ๔ องค์):4672615: แต่ถึงกระนั้น ทุกคนก็แย่งกันไปบวช :54bd3bbb: เพราะตอนนี้พระปิดตารุ่นนี้ เพิ่มคุณค่าเป็นองค์ละ ๕,๐๐๐ บาทแล้วจ้ะ
ปีนี้พระเจดีย์ทรายมีเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สนุกสนานกันมาก แต่รุ่งขึ้น ปวดร้าวไปทั้งตัว แขนและขาแทบจะยกไม่ขึ้น สนุกจนลืมสังขารตัวเองไปชั่วขณะ! :54bd3bbb:
มาถึงรายการ "เผา"
http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/319881_336262106437028_100001597256465_989179_1187932411_n.jpg
มีคนบอกว่า ๓ ท่านนี้คล้ายกัน ผมก็ไม่รู้ว่าคล้ายกันตรงไหน ?
ขอเชิญ "ทิดตู่" มาเป็นกรรมการตัดสินครับ ๕๕๕
http://a3.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/527503_333813893348516_100001597256465_984834_677396364_n.jpg
เจดีย์ทรายพันปีวัดท่าขนุน (นับอายุคนสร้างรวมกันครับ)
http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/536279_152096918251622_100003539450996_195948_1503882633_n.jpg
คณะสะพานบุญกำลังขุดหาพระกรุวัดท่าขนุนครับ (เจอพระปิดตา ชุบทอง พ่นทราย เพียง ๑ องค์)
http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/540493_333970876666151_100001597256465_985115_184517366_n.jpg
รางวัลชนะเลิศครับ ปีนี้ผมวางแผนตีสนิทกับกรรมการแล้วครับ ปีหน้ารางวัลที่ ๑ เป็นของผมแน่ ๆ ๕๕๕
http://a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/538400_334437833286122_100001597256465_986523_5617394_n.jpg
สงครามกลาง (วัด) ครับ
http://a4.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/530178_336262496436989_100001597256465_989184_1223581964_n.jpg
เด็กคนนี้เรียกผมว่า "พี่อ้วน" มันน่า "เขกหัวจริง ๆ" หรือว่าน้องจะจำผิด คิดว่าผมเป็น "ชินเชาวน์" ๕๕๕ คนซ้ายสุด "ใส่บาตรที่เมืองไทย" แต่ขออานิสงส์ไปไกลถึง "ออสเตรเลีย" ส่วนสามคนกลาง "ไม่มีคำบรรยาย" ๕๕๕
http://a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/576476_336262796436959_100001597256465_989188_1780265504_n.jpg
จับคนขโมยข้าววัดได้แล้ว
http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/156209_336264026436836_100001597256465_989198_478990962_n.jpg
เด็กอภิญญา แยก ๓ ร่าง ก่อนเข้ารับพระปิดตาจัมโบ้ เอ๊ย !!! รับประกาศนียบัตร ๕๕๕
http://a3.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/525484_336262189770353_100001597256465_989180_1783102076_n.jpgยอมให้เหมือนก็ได้ครับ
น่ารักเหมือนกันทุกคนครับ หลักฐาน คือ
คนซ้าย = หนุ่ม ๆ โทรหาทั้งวัน (ขอเช่าพระปิดตา จัมโบ้)
คนกลาง = เหมือน (คน) ไม่โสด
คนขวา = มีเจ้าบัวเป็นเครื่องยืนยัน
หมายเหตุ : ห้ามน่ารักไปกว่านี้นะครับ ๕๕๕
พิชัยสงคราม
17-04-2012, 16:04
เข้าร่วมการปฏิบัติธรรมครั้งนี้เห็นผลของทานบารมีและผลของพระคาถาเงินล้านที่พระอาจารย์ทำมาอย่างชัดเจน
พระอาจารย์ลุกจากที่นั่งทำวัตรหรือลงนั่งประจำโต๊ะที่ให้โยมทำบุญเมื่อใดก็จะมีคนเข้าไปรุมถวายปัจจัยกับท่าน
ราวกับว่าท่านตั้งโต๊ะแจกเงินคนละ ๑๐,๐๐๐ ทุกครั้งไป (รวมทั้งตัวผมเองด้วย :54bd3bbb:)
ที่สำคัญวันสุดท้ายที่ได้มีโอกาสได้ไปเป็นลูกศิษย์วัดเดินตามพระอาจารย์ออกบิณฑบาตยิ่งเห็นชัด
อาหารที่ได้จากการบิณฑบาตเยอะเสียจนคิดในใจว่า สงสัยจะเลี้ยงคนได้ทั้งตำบล :onion_emoticons-17:
บุญใด ๆ ที่หลวงพ่อได้กระทำมาแล้ว ลูกขออนุโมทนากับหลวงพ่อด้วยนะครับ :875328cc:
สวัสดิกะ
17-04-2012, 18:34
พี่คมน์เห็นพระทองคำ เหมือนกันเลยครับพี่
ผมก็เห็น ตอนแรกเห็นพระพุทธชินราช ส่วนอีกวัน
เห็นพระปางสมาธิ ไม่มีฉัพพรรณรังสี แต่สีทองเช่นเดียวกัน
ส่วนวันสุดท้าย ผมเห็น ทั้งสององค์ อยู่คู่กัน ก็เลยทรงภาพท่าน
เวลาทำสมาธิ สวดมนต์
ต้องกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะ หลวงพ่อเล็ก
เป็นที่สุด ครับ สาธุ สาธุ สาธุ
ในคืนวันที่ ๑๔ สองทุ่มกว่า ๆ มีรุ่นพี่คนหนึ่งที่เพิ่งรู้จักกันในวัด ชวนขึ้นไปนอนบนเขา ขึ้นไปกันทั้งหมด ๙ คน ก่อนจะขึ้นไป เณรที่อยู่ตรงข้ามที่พักตรงตึกแดง ได้บอกให้เอาหมาขึ้นไปด้วย เดินไปปรบมือไป เดี๋ยวหมามันจะตามไปเอง เณรบอกว่ากันงู ซึ่งหมาก็ตามขึ้นไปด้วยจริง ๆ ประมาณ ๔-๕ ตัวเดินขึ้นไปพัก ๓ รอบได้ หันมาดูอีกทีหมามันหยุดตามเราแล้ว..!
ทางขึ้นข้างหน้าก็มืด ไอ้เราก็นึกว่าหมาจะปูทางให้เรา จึงเดินขึ้นไปโดยให้เพื่อนอีกคนสาดไฟฉายไปเรื่อย มีหมาตามหลัง..ฮา..ขึ้นไปถึงเสร็จสรรพก็ไหว้พระเจดีย์ ไหว้สมเด็จองค์ปฐม นั่งกรรมฐานแล้วก็คุยกัน สักพักต่างคนก็เตรียมตัวนอน (แต่ละคนแบกเสื่อ หมอน ผ้าห่ม ของวัดขึ้นไปด้วย นอนที่ตรงคล้าย ๆ ศาลาปูนเล็ก ๆ ตรงเจดีย์ หันหัวไปทางวัด หันปลายเท้าไปทางออกนอกวัด ) ลมเย็นสบายมากครับ
แล้วสักพักลมเย็นแปลก ๆ ก็มาพร้อมเสียงฟ้าร้องเป็นระยะ ผมนึกในใจว่า เอาแล้ว..พี่อีกคนหนึ่งก็บอกตกแน่ ๆ เลยว่ะ ลมแรงมาก ลมเย็น ๆ ด้วย ทั้งลมทั้งฟ้าร้อง ต่างคนก็ต่างนอนกัน คิดว่าตกก็ตก..เปียกแน่..ลงก็ไม่ได้แล้ว ผมก็นอนแอบอธิษฐาน บอกหลวงพี่ขออย่าให้ตกเลยครับ ผมเสียว..กลัวฟ้าด้วย ลมเย็นก็ยังแรงอยู่
สักพักลมเย็นที่แรง ๆ ก็เปลี่ยนเป็นลมธรรมดาเหมือนจะอุ่น ๆ ด้วย แต่ก็ยังแรง ฟ้าร้องเบา ๆ สักพักก็เงียบหมด เลยหลับสบายเลยครับ ตื่นมาตี ๓ พร้อมกับเพื่อน ๆ ลงเขามาล้างหน้าไปทำวัตรเช้ากันต่อ ประทับใจมากเลยครับที่ได้นอนบนเขาครั้งแรก ดาวสวยมากด้วย อากาศเย็นสบายสุด ๆ
ค้นพบ
มีเม็ดทรายนับไม่ถ้วนจำนวนทราย
คนทั้งหลายนับไม่ถ้วนมีคุณค่า
เม็ดทรายแกร่ง..ก็เพราะผ่านกาลเวลา
คนมีค่า..ก็เพราะผ่านการอดทน
การบวชเนกขัมมะแต่ละครั้ง ต้องใช้พลังและความอดทนสูง ที่ผ่านมา..ถึงเวลานั่งสมาธิเมื่อใด ป้าเป็น "หลับ" เมื่อนั้น แต่..สำหรับครั้งนี้ (ครั้งที่ ๔/๒๕๕๕) "ความเมตตาในรูปแบบใหม่" พระอาจารย์ท่านเดินตรวจแถวเข้ม และมีร่มด้ามสั้นอยู่ในมือของท่านด้วย ใช้สำหรับคนง่วง ทำให้ปัญหาเรื่องการนั่งหลับขณะทำสมาธิของป้าพังทลายลงไปในพริบตา ซึ่งป้าพยายามแก้ปัญหานี้มาหลายครั้งแล้ว ทั้งหยิก ทั้งตบหน้าตัวเอง แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก สุดท้ายมาได้ "ร่มวิเศษ" ในมือพระอาจารย์นี่เอง อานุภาพรุนแรงมากค่ะ ยังไม่ทันที่จะได้สัมผัส..แค่เพียงป้าเห็นอยู่ในมือท่าน..ป้าก็ "ตาสว่าง" ขึ้นมาทันที
กราบขอบพระคุณที่เมตตา "จัดคอร์ส"
"เพชฌฆาตความง่วง"
:875328cc:
ลัก...ยิ้ม
18-04-2012, 17:12
ถ้าจำไม่ผิดก็คือ มีช่วงวันแรกที่นั่งทำสมาธิ อยู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงหลวงพี่ท่านลอยลม (ใช้คำว่าลอยลม เพราะไม่ได้ยินเสียงฝีเท้า หรือน้ำหนักเท้าท่านใดเดินมาใกล้ตัว) มาว่า "เดี๋ยวเตะกระเด็นเลย" (น้ำเสียงนุ่มนวล แต่น่ากลัวว่าคอจะหลุด ลมหายใจจะหาย) ประมาณนี้ล่ะ
ตกใจหมดเลย ก็สงบใจนั่งรออยู่นิ่ง ๆ .. อ๋อ เรายังไม่กระเด็น แสดงว่าย่อมไม่ใช่เรา แต่ใจนะเกือบกระเด็นออกไปแล้ว..!!! และยิ้มก็หางหดตั้งแต่นั้นมาตลอดจนออกจากวัดในวันสุดท้าย
พรมใต้กระโถน
18-04-2012, 19:55
ผมรู้สึกว่าอยู่บ้านสบายกายแต่ใจมันทุกข์ อยู่วัดไม่สบายกายแต่ใจเป็นสุข
สายท่าขนุน
19-04-2012, 00:33
ครั้งนี้ว่าจะมาเล่าสักหน่อย เพราะที่ไปบวชนี้ มี ๒-๓ เหตุหลัก คืออยากไปสรงน้ำพระอาจารย์เป็นอันดับแรก:baa60776:
อยากให้ป้ายิ้มได้ไปบวชช่วงที่มีงานสงกรานต์ที่วัด เป็นอันดับที่ ๒
(ขอบอกแบบภาษาตัวเองว่าพระอาจารย์ "สั่ง":54bd3bbb: ไว้ให้ป้าแกบวชสักรอบ ๕๕๕)
และสุดท้ายก็เหมือนท่านอื่น ๆ คือจะบูชาพระปิดตาด้วย:onion_wink:
...ลุ้นมากทีเดียวว่าจะไปได้หรือเปล่า เพราะที่บ้านต้องมีคนอยู่บ้าน ช่วงวัดหยุดยาวนี่ลุ้นทุกรอบ:msn_smilies-20:
พบว่า สมาธิช่วงกรรมฐานของยายสู้ครั้งก่อนไม่ได้ ยังดีที่ระหว่างวันไม่เผลอไหลไปมากนัก
เที่ยวนี้ดูจะสนุกสนานกัน (เอง) มากกว่าทุกคราว แต่ก็ยังได้รับคำชมจากพระอาจารย์ว่าคนที่มาบวชรุ่นนี้เป็นคนคุณภาพ
...นอกจากสารพัดบุญสะสมที่ทำให้ได้มาปฏิบัติกัน โดยไม่ค่อยสนใจความสนุกสนานทางโลกกันแล้ว
ยังมีความมุ่งมั่นจะบูชาพระไปเป็นพุทธานุสติอย่างยิ่ง:onion_eiei:
มองทีไร ก็เห็นว่าพระอาจารย์ดูร่างบางลงมาก ๆ แต่ท่านก็ดูแช่มชื่นมาก... ทั้งให้กำลังใจ ทั้งเคี่ยวเข็ญ พวกเราโดยตลอด
ทั้งขู่ ทั้งปลอบ... ยายสะดุดหู เรื่องอายุยืน กับรถประจำตำแหน่งของท่าน ถึงท่านจะเมตตาหัวเราะเล่นด้วยก็ตาม
คำเทศน์ รออ่านอีกครั้งจากท่านที่จะสงเคราะห์ต่อไป...
คำอธิษฐาน ที่ท่านนำ กราบขอพรให้ในหลวงและพระราชินี กับทั้งพวกเรา ได้ "อยู่รอดในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ" ก็ยังติดหู
ถึงพระสวดพาหุง ก็ขอให้ "ชนะ" อุปสรรค ดั่งเช่นพระพุทธองค์... ขึ้นชยันโตฯ ก็ขอให้ "สำเร็จ" เฉกเช่นพระพุทธองค์
...ช่วงอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นช่วงสำคัญของพวกเราทีเดียว พระอาจารย์ท่านว่ามีผู้มาโมทนามากมาย
ด้วยเหตุที่ เราอุทิศให้ "ทั้งที่เป็นญาติ และมิใช่ญาติ"... ทำตัวให้ดี กอปรบุญไว้เสมอ ก็จะช่วยคนอื่นเขาได้ด้วย
ตอนที่เห็นร่มที่ท่านใช้เป็นอาวุธตรวจตราพวกเราช่วงกรรมฐานนั้น
เป็นช่วงที่ท่านเพิ่งเดินผ่านหน้ายายไป ในสภาพที่ยายต้องยืดขาออกไปทำสมาธิ
ลืมตาขึ้นเพื่อหันไปมอง ก็เห็นท่านคล้อยหลัง พร้อมร่มในมือ...
ก่อนเริ่มปฏิบัติธรรมรอบนั้น ท่านมาดูแลเปิดไฟ-เปิดพัดลม ให้พวกเราอยู่ตรงหน้ายาย
...พลันก็มีสิ่งของหล่นแล้วกลิ้งหลุน ๆ ผ่านหน้ายายไปหาน้องที่นั่งข้างหน้า:efb50fe2:
เลนส์แว่นข้างขวาของท่านหลุดลงมา...
ตอนท่านกลับไปนั่งเพื่อสอนพวกเรา ท่านก็หัวเราะว่าแว่นที่ใส่ตอนนั้นมีเลนส์ข้างเดียว
แม่ชีทุกท่านแสนเหน็ดเหนื่อย เพื่อให้เราได้อยู่สบาย อาหารรสเลิศ น้ำปานะพร้อมตลอด
ยังจะญาติโยมที่มาร่วมบุญกันเต็มวัดอีก
...ยายได้รับบทเรียนมากมาย จากการใช้ชีวิตที่วัดคราวนี้ไม่น้อยเลย
ได้เห็น "จุดบอด" ของปฏิสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน... ซึ่งแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่ดีด้วย
ยายได้มีโอกาสรู้จักกับคนใหม่ ๆ หลายคน... ได้เห็นญาติโยมท้องถิ่นร่วมงานบุญเบิกบานใจ
ขยะก็น้อยกว่าปีก่อนมาก แบบต่างกันราวฟ้ากับดิน...
พระอาจารย์ว่า เคล็ดอยู่ที่ ท่านเดินเก็บเอง พอเห็นเขาทิ้งปุ๊บ ท่านก็เก็บแล้วเอาไปทิ้งขยะต่อหน้าเลย:onion_emoticons-17:
แปลกใจตัวเองน้อยลงแล้วที่ยายกลับอยู่ในสภาพชอบใจมาแต่ครั้งก่อน คือ "อยู่คนเดียว สบายดี"
แม้ครั้งนี้ จำนวนพระทรายจะมีมากกว่าปีที่แล้ว แต่ก็ก่อกันเงียบ ๆ ไม่เอิกเกริก...
ยกเว้นคณะที่ชนะเลิศ:70bff581: ที่ต้องชื่นชมว่า สนุกสนาน เฮฮามาก อย่างที่เห็นกันนั่น
ยายได้ร่วมก่อพระทราย กับกลุ่มคนต่างกลุ่มกันไม่ต่ำกว่า ๔ กลุ่ม... ยังรู้จักชื่อไม่ครบไม่กี่คนนั่นเลย
และยังได้ไปช่วยก่อพระทรายของแม่ชี ที่เป็นองค์สุดท้ายด้วย
(จึงพลาดช่วงตัดสินไปได้:onion_no: ๕๕๕...
กรรมการตัวน้อยมาทำหน้าสลดตอนยายกลับมาที่พระทรายแล้วถามว่า เจดีย์ของป้าหรือ:msn_smileys-07:)
ยายได้ร้องเพลงชาติที่ศาลา แบบงง ๆ ว่าทำไมมีตูร้องอยู่คนเดียว:154218d4:... ก็ท่านชวนว่า "ร้องด้วยสิ"
ได้กราบสมเด็จองค์ปฐมที่พระเจดีย์บนเขา ร่วมถวายแผ่นทองคำเปลว ฯลฯ
เตรียมน้ำสรงพระอาจารย์ พระ เณร ที่วัด... ขวดใหญ่ แบ่งน้อง ๆ และหลังจากสรงผู้อาวุโสที่วัด โดยทั่วแล้ว
ยังเลยมาถึงรดน้ำขอพรขอขมาคุณแม่... แล้วต่อด้วยสรงน้ำขอขมาหลวงพ่อใจ วันถัดจากกลับจากวัด หอมฟุ้งติดใจ
สรุปว่า ขอกราบบูชาคุณพระอาจารย์ ที่ทำให้ยายได้มีโอกาสอันประเสริฐนี้:875328cc:
นางมารร้าย
19-04-2012, 11:41
รูปต่อไปนี้ เป็นฝีมือน้องบัวล้วน ๆ ค่ะ ยกเว้นรูปที่มีตัวเขาเอง
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16809&stc=1&d=1334810146
หลอกสาวไม่สำเร็จ หลอกเด็กดีกว่า คนละ ๒๐ บาทเอง ฮ่า ๆ ๆ
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16808&stc=1&d=1334810146
ที่ถักเปียนั่น คือโมจิ ประธานกรรมการตัดสินพระเจดีย์ทรายปีนี้ค่ะ
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16810&stc=1&d=1334810146
น้องปริ๊นท์ หนึ่งในคณะกรรมการของโมจิ
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16812&stc=1&d=1334810761
ป้านุช หัวหน้าทีมก่อพระเจดีย์ที่ชนะเลิศ สวยเข้าตาคณะกรรมการ
ประธานกรรมการตัดสิน
น้องโมจิ
ขณะอยู่ในกองประกวด
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16813&stc=1&d=1334811783
ขอบคุณแม่ชีกุ๋ยและคนถ่ายภาพที่ส่งมาให้ค่ะ
นางมารร้าย
19-04-2012, 12:37
รายการต่อไปนี้ เป็นลุงป้าน้าอาที่โดนน้องบัวไปเก็บรูปมาค่ะ ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้ายนะคะ คิดเอาเองแล้วกันค่ะ ๕๕๕๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16814&stc=1&d=1334813751
ป้าโม
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16815&stc=1&d=1334813751
พี่น้ำ
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16816&stc=1&d=1334813751
น้าอุ้ย ป้ามุก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16817&stc=1&d=1334814167
พี่โอ๋สุดสวย
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16818&stc=1&d=1334814167
ป้าเปี๊ยก ป้านี้
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16819&stc=1&d=1334814167
ป้ามอย
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16820&stc=1&d=1334814167
ลุงเบญ
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16821&stc=1&d=1334814167
ลุงกับป้า
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16822&stc=1&d=1334814167
ไพศาล หัวหน้าแก๊งเด็ก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16823&stc=1&d=1334814167
รูปยาย...เอ๊ย...ตากล้องเองค่ะ
ขออนุญาตเล่าต่อครับ
การบวชรุ่นนี้ ผมตั้งใจปฏิบัติมาก เรียกได้ว่า ปกตินั่งขัดสมาธิฟังธรรม
แต่รุ่นนี้พยายามนั่งพับเพียบให้สมกับเป็น "สุภาพบุรุษ" (แบบว่าอายเด็ก ๕๕๕) รวมทั้งพยายามกราบให้สวย
แต่ด้วยสภาพร่างกายอัน "บอบบาง" และอากาศร้อนอบอ้าว ประกอบกับฝนตก
(คืนวันที่ ๑๓ ฝนตกหนักมากและน้ำฝนสาดเข้ามาที่พักใต้ตึกแดงฝั่งที่ผมนอนพอดี ก็รับละอองฝนไปเต็มพิกัด)
อาการไข้ที่เริ่มก่อตัว ประกอบกับไม่เจียมสังขารโดยวันที่ ๑๕ ช่วงเที่ยงได้ขึ้นยอดเขาท่ามกลางแดดร้อน
และเริ่มรู้สึกว่า "งานเข้า" เพราะร่างกายอ่อนล้า แต่ก็พยายามอดทนจนบวชเนกขัมมะเรียบร้อย
วันต่อมาไปทำงาน ก็เริ่มหมดแรง อาการ คือ แขนขาไม่มีแรงและกล้ามเนื้อเกร็งตัว
โดยช่วงเช้ายังเดินไปไหนมาไหนได้ แต่ช่วงบ่ายนั่งเก้าอี้ทำงานและลุกขึ้นไม่ได้ แต่ก็พยายามกระเสือกกระสนกล้บบ้าน
พอจะเดินขึ้นตึกมีบันได ๒ ขั้นก็พยายามก้าวขึ้น แต่ "ขาพับ" เพราะไม่มีแรงและเสียหลักล้ม
ทำให้ "หัวฟาดพื้นคอนกรีต" อีกครั้ง (หลังจากปีที่แล้วรถล้มหัวฟาดพื้นมาแล้วครั้งหนึ่ง)
มารเขาเก่งจริง ๆ เผลอปุ๊บ สอยเราปั๊บ
ในใจคิดว่า "ตายแน่ ๆ" เพราะร่างกายไม่มีแรงแม้แต่จะลุกขึ้นยืน
แต่ก็พยายามรวบรวมกำลังเฮือกสุดท้ายพาสังขารกลับไปถึงห้องจนได้
วันต่อมา ลุกไม่ขึ้น แขนขาไม่มีแรงแม้จะจะลุกขึ้นนั่ง ยืนก็ไม่ได้ เดินก็ไม่ได้
น่าเศร้าจริง ๆ ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนในชีวิต จึงเริ่มสำรวจร่างกายและแยกอาการออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. อาการจากการปฏิบัติ เพราะผมนั่งผิดท่า แถมนั่งท่านางฟ้า (ลืมคิดไปว่าน้ำหนักตัวผมไม่ใช่น้อยนั่งกดทับนานขนาดนั้น กำลังขาคงทนไม่ไหว) แถมขึ้นเขาไปไหว้พระกลางแดดอีก
๒. อาการจากการล้มหัวฟาดฟื้น ผมคิดว่า ไม่น่าจะมีผลมาก เพราะผมไม่มีกำลังก่อนที่จะล้มอยู่แล้ว และผลข้างเคียงเรื่องตาพร่า ปวดหัว และอาเจียนไม่ปรากฏ
๑ วันอันแสนทรมานเหมือนตกนรกทั้งเป็น เพราะไม่ได้ถ่ายหนัก ๒ วัน และเวลาฉี่ต้องฉี่ใส่ถุงพลาสติก
ข้าวก็กินไม่ได้ เพราะกลัวปวดท้องถ่ายหนัก ในแต่ละมื้อต้องกินขนมปังมื้อละ ๑ แผ่น คิด ๆ แล้วสมเพชตัวเองจริง ๆ
แต่ก็ไม่วายไปอำพี่ ญ.ผู้หญิงว่า "ตายแล้ว" ทีนี้พี่หญิงโทรหาแม่ถามว่าคมน์เป็นอย่างไร "งานเข้า"
เพราะเป็น "หลานยาย" คนเดียวของตระกูล ทุกคนก็เตรียมยกกองทัพมาเยี่ยม
วันนี้แม่ทัพใหญ่ (พ่อ) มาเยี่ยมและจับส่งโรงพยาบาล ปรากฏว่า "อาการปกติ ไม่มีผลข้างเคียงอะไร"
(คิดในใจว่า "บารมีพระ" เพราะเรารับยันต์เกราะเพชรมา) วันพรุ่งนี้รองแม่ทัพ (แม่) มา พร้อมญาติอีกจำนวนหนึ่ง
ในวันที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และรู้สึกแย่ ก็เริ่มทบทวนสิ่งที่พระอาจารย์เล็กสอนจากความจำ ซึ่งสรุปได้ว่า
"มารเขาเก่ง เวลาเราไปปฏิบัติธรรมและกำลังจะพ้นเขตที่เขาทวงได้ เขาจะรีบมาทวงและมาทำให้เราเข้าใจผิด เช่น บางคนมาปฏิบัติธรรมและกลับไปเจอเรื่องที่ไม่ดี บางคนเจอปัญหาครอบครัว บางคนเจอปัญหาเรื่องงาน บางคนเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดี ฯลฯ ทำให้หลายคนเข้าใจว่า เข้าวัดแล้วเจอเรื่องไม่ดี ทำให้เลิกปฏิบัติ หากท่านใดเจอเหตุการณ์แบบนี้ ขอให้รู้ว่า เรากำลังจะได้ดีแล้ว ถ้าเราตั้งใจปฏิบัติต่อไปอีกนิด เขาก็จะตามทวงเราไม่ได้ ดังนั้นใครที่เจอเรื่องแบบนี้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติต่อไป"
ที่มาเล่า ไม่ใช่ว่า ผมทำได้ดีแล้ว แต่มาเล่าเพื่อให้ทุกท่านที่จะไปบวชรุ่นต่อไปวางแผนและเตรียมร่างกายให้ดี
โดยเฉพาะคนที่น้ำหนักมาก ต้องระมัดระวังครับ ที่สำคัญ คือ อย่าเผลอในทุกวินาทีเพราะมารเขารอเล่นงานเราตลอดเวลาครับ
แล้วเจอกันรุ่นต่อไปนะครับ
หมายเหตุ : ขอบคุณคน ๆ หนึ่งที่อดทนฟังนิทานครับ
ลงภาพเบื้องหลังบ้างครับ
http://a3.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/544823_339197282810177_100001597256465_995329_700444194_n.jpg
สองสาวช่วยกันทำพานเพื่อให้พระอาจารย์เล็กใช้สำหรับสรงน้ำพระ
ทราบมาว่า หลวงพี่เอกฝากน้ำอบสำหรับสรงน้ำพระมาด้วยครับ
ใส่เสื้อ "หลวงตา" เอาน้ำอบ "หลวงพี่เอก" มาทำพานให้ "หลวงพี่เล็ก" เข้าใจคิดครับ
http://a3.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/579427_339195189477053_100001597256465_995322_1333110499_n.jpg
สุภาพบุรุษส่งพี่ทิดไปช่วยสุภาพสตรีทำความสะอาด
ส่วนสุภาพบุรุษทั้งหลายยืนให้กำลังใจอยู่ข้าง ๆ ๕๕๕
http://a8.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/401613_339195576143681_100001597256465_995324_11789586_n.jpg
กองกำลังติดอาวุธวัดท่าขนุน พร้อมออกไปทำสงคราม (น้ำ) ที่ตลาด
สายท่าขนุน
16-05-2012, 21:41
บวชเนกขัมมะครั้งที่ ๕/๒๕๕๕ เป็นอีกครั้งที่ควรมาเล่าสู่กันฟัง
เริ่มจากกำหนดการ "จัดเต็ม" ๕ วันเช้า-บ่าย รวม ๙ รอบ พระอาจารย์ก็เมตตา "คุมเข้ม" เกือบทุกช่วงกรรมฐาน:875328cc:
พร้อมด้วยเปลี่ยนอาวุธเป็นกล้องถ่ายรูป ไว้คอยดันใครที่หลับสัปหงก ที่ครั้งนี้มีหลายคนอยู่
จำนวนคนกลับมากกว่าครั้งที่ ๔ อากาศเย็นสบายขึ้น แม้มีฝนบ้าง แต่ระบบน้ำอาบน้ำใช้ก็ซ่อมทำแล้วเรียบร้อย
แม่ชีทุกท่านยังคงทำงานหนักเพื่อให้ผู้บวชอยู่สบายเช่นเคย งานครัวกระชับขึ้นโดยทำอาหารง่าย ๆ ไม่มากอย่าง
และพระอาจารย์ประกาศให้โยมที่มีฝีมือทำอาหารไปช่วยงานครัวอีกด้วย
แต่แม่ชีทุกท่านก็ต้องขึ้นบนศาลาเพื่อขานชื่อ (ชื่อแรก ๆ ด้วย) ก่อนเวลาให้ทัน เช่นเดียวกับท่านอื่น ๆ
...ยายก็เพิ่งทราบตัวอย่างหนึ่งหลังจากกลับมาแล้ว ที่ยืนยันว่า ทุกท่านที่ได้ไปบวชมีบุญหนุนส่งระดับหนึ่งแน่นอน
คือ น้องที่ทำงานที่ยายชวนให้ไปบวชไว้ ซึ่งเขาจัดเวลายากมาก เพราะมีกิจกรรมครอบครัวและงานบุญประจำทุกวันหยุด
เขาเล่าว่า ลางานไว้แล้ว ๒ วัน จัดกระเป๋าแล้ว แต่ลาฟรี ไม่ได้ไปเพราะรถที่จะไปเต็มทั้งหมด
ยายก็ถามว่าทำไมไม่โทร. หา เพราะวันเดินทาง ยายกลับจากวัดเขาวงมารับป้ายิ้มที่กรุงเทพฯ และยังพอมีที่
เขาบอกว่า มือถือเขาเพิ่งเปลี่ยนที่หาย:onion_no: ไม่มีเบอร์โทร. ที่เก็บไว้ และไม่ได้อยู่ในจังหวะที่จะตรวจสอบถามหาได้สะดวก
ตอนไปถึงวัดมืดแล้ว ยายก็กราบพระ พรหม เทวดา หลวงปู่... พอถึงตรงศาลาแม่พระธรณี อ้าวท่านแม่หายไปไหน
ยายก็จอดรถ ลดระดับกระจกออกดู จึงเห็นว่าพระแกะสลักจากหินเขียวแม่น้ำโขงประดิษฐานอยู่ตรงนั้น:baa60776:
(ยายเคยจำเอาไว้ว่า พระอาจารย์เคยเล่าถึงว่าเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
แต่ก็มีคนฟังมาแตกต่างกันออกไปอีกถึง ๒ คน... ยายก็เลยไม่แน่ใจ)
ยิ่งดีใจมากขึ้น เมื่อเห็นว่าแม่ชีใหญ่กำลังจัดเตรียมบายศรีเพื่อบวงสรวงและดอกไม้บูชาพระ และยายได้รับคำชวนให้ช่วย
จึงรีบไปดูที่นอนให้เรียบร้อยก่อน เพราะดึกแล้ว... อาบน้ำเสร็จก็ทันได้ช่วยบูชาครูทำดอกไม้บ้างด้วยความชื่นใจ
เสร็จแล้วก็เดินไปวางพานดอกไม้ถวายที่กุฏิหลวงปู่พุก แล้วไปกราบที่องค์พระหินเขียว...
ช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น จะได้บวงสรวงรับพระองค์ท่าน เป็นฤกษ์โสฬสวันเสาร์อีกด้วย
มีคนเตรียมไปหาน้ำมันเลียงผามาเข้าพิธี ยายก็ฝากซื้อขวดเล็ก เพื่อไม่ให้หนัก และจะนำถวายพระอาจารย์
ช่วงเช้าตรู่ เขาไปหาซื้อที่ร้านประจำ ร้านยังไม่เปิด เขาก็ถึงกับเคาะเรียกได้มา
ร่ายยาวมานี่ ก็เพื่อชะลอที่จะเล่าถึงส่วนการปฏิบัติ เพราะส่วนนี้ยายได้รับคำสั่งสอน ระดับ:msn_smileys-13: “เจ็บเลือดซิบ” ทีเดียว
ยายไม่ได้ไปบวชทุกครั้ง จึงเพิ่งมีโอกาสได้ฝึกกราบช้า ๆ กับเคลื่อนมือแทนการเดินจงกรม
ยายชอบกราบแบบนี้มาก แม้ว่ามักทำผิดท่าตอนที่กราบครบแล้วจะกลับมาท่าทางเดิม… เพราะทำให้รู้สึก “ตั้งใจ”:af48944b: กราบมาก ๆ
การเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียนนี้… เด็ก ๒ พี่น้องที่เมื่อง่วงแล้วรู้จักแก้ปัญหาโดยหันมาทำอิริยาบถนี้แทน
ครั้งนี้ ไม่มีเด็กกวนผู้ใหญ่เลย มีแต่ที่จะให้ผู้ใหญ่ได้อาย… พวกเราได้กราบฟังว่า แฝดสามตัวน้อย
ตอนที่เด็ก ๆ ที่แยกกันนั่งนี้ เขาเบื่อแล้วมองนั่นนี่ไปบ้าง ก็ไม่ขยับออกนอกวงส่วนตัวรบกวนใครกันเลย
คนพี่เด็กหญิงอีกคน ที่ล้มตัวลงนอนฟุบไปนั้น พระอาจารย์ท่านก็ไม่ให้ไปปลุกหรือจับ
เพราะเราจะดูไม่ออกว่าเขาหลับหรือเป็นมโนฯ เต็มกำลังกันแน่… ไปจับรบกวนเข้าก็อาจจะเกิดโทษได้
ได้มีโอกาสเดินจงกรมรอบวัด ๑ รอบ… เป็นรอบที่พระอาจารย์บอกว่า
ไม่มีสักคนเดียวที่รักษากำลังใจได้ตลอดทาง หลุด ๑๐๐% เต็ม !!! และคนที่รู้ตัวมีไม่ถึงจำนวนนิ้วมือข้างหนึ่ง
เมื่อท่านเทศน์ ระหว่างปฏิบัตินั้น … ท่านย้ำอีกครั้งว่าข้อเสียของการปฏิบัติของพวกเราก็คือทำแล้วทิ้ง
ไม่พยายามรักษาอารมณ์ใจไว้ให้ได้ ข้อเสียนี้มีผลร้ายแรงถึงไปพระนิพพานไม่ได้:onion_emoticons-17:
ยายฟังแล้วก็สยองขวัญ แต่ “เรื่อง” ที่เกิดขึ้น ก็ยิ่งย้ำให้ยาย “สยอง” ต่อมากระทั่งทุกวันนี้…
ที่ยายก็ยังหัด “รักษากำลังใจ” ได้ไม่ดีขึ้นนัก:onion_smileys06:
เอาตรงเรื่องเดินรอบวัดนี้ก็ “เจ็บ” มากแล้ว…
พวกเราตัดสินใจออกเสียงกันว่าจะไปเดิน ตอนที่แดดแรงมาก แต่พอเริ่มออกเดินแดดก็ร่ม
…วุ่นวายจัดแถว พอเริ่มออกเดิน ก็ไม่สมานสามัคคีเท่าไรนัก และเดินค่อนข้างเร็ว
ตรงยายก็ใช้วิธีสังเกตฝีเท้าแถวพระที่นำหน้า แล้วว่าคำเดินจงกรมตาม
มีหยุดจัดขบวนใหม่ ๒-๓ ครั้ง ในที่สุด พระอาจารย์บอกให้ต่างคนต่างกำหนดในใจกันเอง
เพราะแถวข้างหลังบีบคั้นให้แถวนำหน้าต้องเร่งฝีเท้าแทบหายใจไม่ทันกันทีเดียว
เดินกันมาสักพักก็พบต้นไม้ใหญ่ที่ล้มขวางทางอยู่ ก็ค่อย ๆ เดินออกข้างกันไป… ช่วยเหลือกันไปตามสภาพ
ข้างที่ยายผ่านมีรังมดแดงตัวโตแตกรังมาพอให้ได้ปัดออกจากหัวหู
แถวเดินผ่านจุดต่าง ๆ ไป… ตอนนี้เสียง ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ เงียบลงแล้ว
ยายก็เพลินดูสองข้างทาง ไม่ถึงกับสอดส่าย แต่ก็มี "เผลอ" ไปบ้าง...
นี่ยายภาวนาพร้อมกับทำอย่างอื่นอีกแล้ว
โดยเฉพาะที่มะดำเทินขวดน้ำไว้บนหัวระหว่างเดิน เป็นเหตุให้เป็นจุดสนใจ…
ยายเห็นมะตอนที่พระอาจารย์ท่านขึ้นเนินปูนไปถ่ายรูปเอาไว้...
ก็หันไปมองพระอาจารย์ก่อนนั่นแหละ แล้วจึงมองตามทิศทางที่ท่านมองต่อ
ท่านว่ามะสมาธิดีที่สุด เผ่าพันธุ์นี้เป็นเองโดยกำเนิด:4672615:…
มีคนพูดว่าเหมือนพวกนางแบบ ท่านก็ว่า เขาเกิดมาเป็นนางแบบกันได้ทุกคน
ผ่านหน้าจุดก่อสร้างฐานสมเด็จองค์ปฐมด้านหน้าวัด ยายก็ยกมือขึ้นไหว้
พอเดินเลี้ยวกลับเข้ามาทางหน้าวัด ผ่านปากทางขึ้นพระเจดีย์
พระอาจารย์ท่านก็เล่าถึงศาลาตรงนั้นที่เคยเป็นทรงไทย แล้วต่อมาก็สร้างเป็นทรงสเปน
ซึ่งภายหลังสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะบูรณะ จึงกลับมาเป็นทรงไทยใหม่
ถึงยายจะเคยฟังเรื่องนี้แล้ว… แต่ความที่ยายฟังไม่ค่อยได้ยิน จึงเงี่ยหูตั้งใจฟังท่านเล่า:onion_wink:
เห็นท่านเดินถือโทรโข่งพูดหันไปทางด้านหน้า และท่านเดินอยู่ด้านข้างบริเวณค่อนไปทางหัวแถว
ยายก็นึกว่า ทำไมท่านจึงไม่หันโทรโข่งมาทางด้านหลัง คนในแถวจะได้ยินชัดขึ้น…
“ทำไมหนอ” ท่านไม่ลืมแน่นอน ท่านต้องมีเหตุผลสิ
…ทันทีที่นึกออก !!! ยายก็กลับมาที่ฝีเท้าแล้วนึกว่า “ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ” ทันที
แต่ตอนนั้นเราก็ใกล้ถึงศาลาแล้ว:4519626a:
ยาวจัง ขออภัย… ยายขออนุญาตเอาเรื่อง “น่าละอาย” (และน่าสยองขวัญขึ้นอีก) ของยาย มาเล่าต่ออีกนะ
การไปบวชรุ่น ๕/๕๕ นี้ เป็นอะไรที่เกือบจะไม่ได้ไป เนื่องจากสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยกับการนั่งนาน ๆ ก่อนเดินทาง ๑ วันมีน้องญาติธรรมบอกให้นั่งรถไปด้วยกัน เขาจะออกเดินทางตอนเที่ยงวันศุกร์ เพื่อที่จะไปให้ทันสวดมนต์ทำวัตรเย็น และอีกอย่างเพื่อที่จะได้นอนเบาะหลังไปแบบสบาย ๆ แต่บอกเขาว่า ต้องไปโรงพยาบาล เพื่อไปหาหมอตามนัด จนสุดท้ายหาหมอเสร็จช่วงบ่าย และได้เดินทางไปกับรถตู้ คมน์บอกว่าให้ไปแค่ ๒ วันแล้วกลับวันอาทิตย์ด้วยกัน และค่อยไปใหม่อีกครั้งคืนวันอังคารเพื่อไปรับคน ตอบน้องไปว่า รอดูอาการก่อน ถ้าไม่ไหวจริง ๆ จะไม่ฝืน
ขึ้นรถได้ก็หลับเพราะฤทธิ์ยามาตลอดทาง มาถึงวัดก็ยังมึนงงเพราะยา รุ่นนี้ "จัดหนัก" ตลอด ๕ วันเต็ม จากที่คิดว่า จะอยู่ปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ แต่สุดท้ายก็อยู่ได้แบบสบาย ๆ แม้จะไม่เต็มร้อยแต่ก็พยายามจนสุดความสามารถ นั่งกับพื้นนาน ๆ ไม่ได้ ก็มานั่งเก้าอี้ เดินจงกรมนานไม่ได้ ก็มานั่งปฏิบัติกับท่ามือ นั่งสมาธิหลับ ๆ ตื่น ๆ เพราะยา สรุปว่าถึงป่วยแค่ไหนก็ไม่หวั่น และก็ดีใจกับน้อง ๆ หลายคนที่เพิ่งเดินทางไปเป็นครั้งแรก เพราะหลังที่กลับมาจากบวชรุ่นสงกรานต์ มีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามเยอะมากว่า ไม่เคยไปบวช สามารถไปได้ไหม บอกว่าได้ และรุ่นนี้หลวงพ่อมอบพระปิดตาสีแดงให้ ถ้าไม่มีรถไปให้เดินทางไปกับรถของพลังจิต สุดท้ายก็ไปกันมากมาย
รุ่นหน้า ๖/๕๕ บวชแค่ ๒ วัน แต่ติดเดินทางไปถวายเทียนพรรษาที่อีสาน รอดูธรรมะจัดสรรสักนิดว่าจะเป็นเช่นไร ถ้าไปได้คงมีเหตุให้ได้ไป
สายท่าขนุน
20-08-2013, 01:10
รู้สึก งง ๆ ว่า นี่ตูมาบวชได้อย่างไรนี่ ทั้งที่ไม่เคยนึกอยากจะบวช ไม่ว่าชี หรือ ชีพราหมณ์...
ไม่ชอบอยู่วัด เพราะกลัวทำตัวไม่เหมาะสม ไม่ชอบนอนกับใคร ไม่นอนกลางสาธารณชน ไม่ชอบใส่ชุดฟอร์ม...
นี่แค่ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาว ('แค่เสื้อขาวก็พอ ข้างล่างอยากลายอย่างไร ก็ตามใจ') ก็มาบวชแล้ว
ตื่นเช้าสวดมนต์อีก ถึงไม่ใช่คนตื่นสาย แต่ก็งงกับตัวเองที่รีบตื่นมาทำวัตรทุกครั้ง
...
อะไรต่ออะไรที่ดี ๆ ทยอยได้มาเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่ไปบวช... รออ่านของท่านอื่นด้วย
...สรุปว่า รู้สึกงง ๆ ว่า นี่ตูมาบวชได้อย่างไรนี่..?
เริ่มจากข้อสงสัยกราบเรียนถามพระอาจารย์ว่าต้องนุ่งขาวห่มขาวหรือไม่ เพราะไม่ชอบอย่างแรง (คงเป็นวิบากกรรม ที่อาจทำให้ไม่ยอมบวช)
คำตอบข้างต้นนี่เอง ที่ทำให้ตัดสินใจไปบวชเนกขัมมะ และต่อมาก็ไปทุกครั้งที่โอกาสอำนวย มาถึงทุกวันนี้
บวชครั้งแรก ๆ ก็โดนเรื่องนี้เต็ม ๆ มีท่านผู้ร่วมบวชดูอาวุโสแล้ว แต่งชุดขาวแบบชีพราหมณ์เต็มยศ ตรงมาถามยายว่าบวชด้วยหรือเปล่า ? ทำไมไม่แต่งชุดขาว ? ไม่รู้หรือว่าคนที่บวชเนกขัมมะต้องแต่งชุดขาว ? แล้วทำหน้ายอมรับการแต่งตัวของยายไม่ได้เลย (ช่วงนั้น คลับคล้ายคลับคลาว่า ยายนุ่งผ้านุ่งสีด้วยนะ)…
ยายก็ตอบไปว่า กราบเรียนถามหลวงพ่อแล้ว ท่านอนุญาตให้ใส่เฉพาะเสื้อขาวได้
เขาก็ถามว่า หลวงพ่อไหน ?
ก็ตอบไปว่า หลวงพ่อท่านเจ้าอาวาส
…เอ นี่เราทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ? :efb50fe2: หรือจะไปทำให้เขาปรามาสพระอาจารย์ไหมหนอ ?
เอาเถอะ... อย่าไปกังวลเลย นี่แหละหนอที่ท่านเมตตาให้เรามีบุญได้มาถือศีลอยู่วัด
(แต่ช่วงแรกเวลาถ่ายรูป ยายก็จะหนีไปหลบหลังคนใส่ชุดขาว ให้รูปที่ออกมา ‘สร้างภาพ’ ที่สวยงามกว่า:onion_eiei:)
พระอาจารย์ท่านเมตตารักษากำลังใจทุกคน ให้มีความ 'สบายใจ' ในการปฏิบัติธรรมอย่างที่สุด
แม้ไม่นานมานี้ ยายต้องกราบขอขมายกเลิกการสมัครบวช เพราะไม่มีคนอยู่ที่บ้านกับคุณแม่ที่อายุมากแล้ว และแถมมีช่างเข้าออก ทุบซ่อมบ้านกันเกือบทุกวัน
…ยายเองนั่นแหละ ที่อยากจะไปอยู่วัด แล้วทำท่าจะดื้อไปให้ได้:msn_smilies-22:...
พระอาจารย์ท่านว่า 'อยู่บ้านก็ปฏิบัติธรรมได้จ้ะ' และแล้ว ทันทีที่คนที่บ้านเริ่มเดินทางกลับบ้าน ยายก็ขับรถไปวัดทันที
เมื่อกราบท่านหลังทำวัตรเช้า ท่านเมตตาถามว่า ตกลงว่ามีคนดูแลคนแก่แล้วหรือ ? :54bd3bbb: ไม่ให้เราห่วงหน้าพะวงหลัง
เมื่อท่านรับสังฆทานงานบุญหลังจากนั้น ยายก็นึกสงสัยว่า ท่านทำกรรมฐานทรงสมาธิขั้นสูงเช่นนั้น จะได้ยินเสียงเราสวดบ้างไหมหนอ ? (ตัวกูนะนี่)…
ท่านเปรยขึ้นมาเลยว่า เมื่อเช้าตอนทำวัตรเช้าได้ยินเสียงป้าจี๋ นึกว่าหูฝาด:baa60776:
ครั้งใดที่ยายไม่ได้บวช ไม่ได้อยู่วัด ยายก็เข้า-ออกวัดตามสบาย ใส่บาตรก็ขับรถไป ไม่ต้องขออนุญาตออกนอกวัดเหมือนที่ผู้บวชต้องทำเป็นปกติ
(ส่วนเรื่องขอพักวัดนั้น ยายได้เคยกราบขออนุญาต ท่านอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า อย่าให้เกิน ๓ ชาติก็แล้วกัน:154218d4:)
ทำให้ยายสังเกตความเปลี่ยนแปลงของการบวชปฏิบัติธรรมที่ผ่าน ๆ มา
๒ ครั้งล่าสุดนี้ (ครั้งที่ ๖ และ ๗/๒๕๕๖) มีคนที่บวชมาถามว่า
ห้องน้ำใกล้โรงครัวไปทางไหน ?,
อาหารที่ตั้งที่โรงครัวกินได้ไหม ? (หลังจากที่มีคนกินก่อนได้อรุณ แม่ชีก็นำป้ายมาติดบอกไว้แล้ว),
นัดครั้งถัดไปเป็นที่ไหน ? เมื่อไร ? (ยายก็ดูที่เสาโรงครัว ปรากฏว่ามีแต่กำหนดการงานบุญประจำปี),
ต้องทำอะไรบ้าง ? มีอะไรให้ช่วยไหม ?,
เครื่องมือทำความสะอาดอยู่ที่ไหน ?,
ได้ยินว่าเขาไปทำความสะอาดผางประทีปกัน อยู่ที่ไหน ? ทำอะไรหรือ ?,
ใส่บาตรที่ตลาดก็ถามว่า เดินไปอย่างไร ? ซื้ออาหารตรงไหน ? รอใส่บาตรท่านที่ไหน ?
ยายสังเกตว่า ผู้บวชหลายท่านไม่มีผู้แนะนำ และไม่ทราบข้อพึงปฏิบัติของการอยู่วัด
โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องขออนุญาตออกนอกวัด
(ยายนึกว่าเกิดเฉพาะช่วงที่มีคนมาบวชเพื่อบูชาพระ ไม่ได้ตั้งใจจะ ‘อยู่วัด’
ซึ่งจะเห็นออกไปกดเงินกันบ้าง ช่วงแรก ๆ ก็ยังมีไปถ่ายรูป ไปซื้อนม น้ำ มาตุนไว้กันหิว ฯลฯ )
ก่อนหน้านี้ เมื่อเข้านอนที่โรงครัว ก็พบว่า มีบางท่านนอนตรงที่เราปูผ้าวางหมอนไว้ เพราะคิดว่า ที่วัดนี้มีปูเตรียมไว้ให้
ยังดีกว่าแรก ๆ ที่มีคนพักกันทั้งครอบครัว ไม่แยกผู้ชาย-ผู้หญิง,
นอนกันเต็มตรงหน้าแท่นบูชาพระ (ไม่เบี่ยงหลบ – หลวงพ่อเคยบอกว่า จะขวางเทวดาที่มากราบพระเป็นปกติตอนกลางคืน),
พาดผ้าหรือแม้แต่ชุดชั้นใน ที่ขึงเหนือโฟมและข้าวของทำบายศรี
(กรณีนี้ ไม่ทราบจะถามใคร พวกเราจึงช่วยกันเขียนกระดาษปิดบอกไว้
และมีคนไปพูดคุยด้วย เพราะเจ้าตัวรู้สึกผิดมาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์),
เปิดประตูทิ้งไว้ ไม่ปิด,
ไม่รองน้ำในห้องน้ำเติมเมื่อใช้น้ำแล้ว,
วางเครื่องอาบน้ำไว้เลอะเทอะ,
(๒ กรณีหลังนี้ เราก็ได้โอกาสทำบุญ รองน้ำ ทำความสะอาดห้องน้ำ),
หมอน ผ้าห่ม หยิบจากตู้ของพระกันบ้าง
(ส่วนเสื่อนี่ มีคนทยอยซื้อมาเปลี่ยนให้เป็นระยะ เวียนกันไป)
ช่วงทำครัวกลางคืน สมัยทำแกงหยวก ก่อฟืนกันแมลงนั้น มีคนนอนไม่ได้เพราะควัน
และบางคนก็นอนไม่หลับเพราะเสียงพูดคุยของคนเตรียมอาหารหรือเตรียมดอกไม้ที่ข้างล่างถึงดึกดื่น
(แต่ยายอยากให้ก่อฟืนเหมือนเดิมนะ เพราะยายโดนเจ้าตัวริ้นเล่นงาน
ชนิดผมร่วงเป็นกระจุกทั่วหัวมารอบหนึ่ง
เวลานี้ มีแต่จุดจากรอยเจ้าตัวแสบนี้กัด เต็มตัว และเพิ่มทุกรอบ
จะทายากันแมลงก็มีสิทธิ์แพ้ยาเกือบทุกชนิด… ช่วงก่อฟืน ก็ไม่โดนตัวริ้นกัด
และอยากให้แกงหยวกกลับมา หากินยากมาก
แต่ลำบากแม่ชีเหลือเกิน ทำกันทั้งวันทั้งคืน),
เด็กน้อยคว้าเนื้อลำไยในน้ำลำไยมากิน ก็บอกให้เข้าใจ
น้องน่ารักมาก ระมัดระวังรักษาศีลอย่างดี
ถึงวันนี้ก็ยังบวชอยู่ แต่โตขึ้นมากทีเดียว เกือบจะเป็นสาวแล้ว
เรื่องที่ดูจะละเลยกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คือ เรื่องฟังเสียงหลวงพ่อวัดท่าซุง ที่เปิดเป็นรอบ:875328cc:
ที่ว่าละเลยมากขึ้น สังเกตจากแต่ก่อนนี้ ยายพอจะหลบไปหาที่ฟังได้มุมใดมุมหนึ่งของบริเวณนอกโรงครัวได้
(แต่ก่อนลำโพงตรงนี้ชอบดับด้วย และข้างบนไม่ได้ยิน แต่ล่าสุดนี้ เสียงดังฟังชัดมาก)
หากจะไม่ตั้งใจฟัง ยายจะขอขมาหลวงพ่อฯ ก่อน
เดี๋ยวนี้ หากเป็นช่วงพัก คนที่มาบวชก็จะจับกลุ่มกินน้ำ คุยกัน เสียงดังมาก ไม่สามารถหามุมแถวนั้น ฟังให้ได้ยิน แม้แต่ตอนกลางคืน (แม้ท่านจะไม่ได้บังคับ และลูกศิษย์หลวงปู่สายหรือคนท้องถิ่นก็มี แต่สังเกตว่า เขามักจะไม่มาคุยส่งเสียงกลบพระธรรมกัน)
ยายก็มานึกดูว่า ช่วงแรก ๆ เคยเจอคนที่อยู่ในช่วงบวชไปเล่นน้ำที่บ่อน้ำร้อนกันสนุกสนาน และไม่ได้กลับมาทำวัตรเย็น โดยไม่ทราบว่าหากจะออกนอกวัดต้องขออนุญาต และหากถือศีลแปด ไม่ควรเล่นน้ำด้วยความบันเทิงเช่นนั้น:onion_emoticons-17:
ที่สำคัญ กำหนดการบวชที่ท่านประกาศไว้นั้น เรียกว่า 'วัตร' ซึ่งหมายถึงกิจพึงกระทำของผู้บวช
รวมถึงการสวดมนต์ ทำกรรมฐานด้วย... เหล่านี้ ไม่ใช่กิจอันละเว้นได้ตามสบาย หากไม่มีเหตุอันสมควร
ซึ่งหากมีเหตุจำเป็น (ไม่ใช่เพราะ 'นอนต่อดีกว่า') ก็ควรกราบขออนุญาตให้เรียบร้อย
(หากกราบขอไม่ทันจริง ๆ ก็เป็นไปได้ว่า เป็นเหตุจำเป็น... อย่างไรก็ขอให้ตั้งใจให้ดีเถอะ)
เรื่องที่อยู่บ้านแล้วไม่มีพระอาจารย์นำให้แบบนี้นะ...
เป็นกำไรเพิ่มเติมด้วยบุญมหาศาลยิ่ง ที่พระอาจารย์เมตตาให้มีกำหนดการที่ท่านนำกรรมฐานก่อนทำวัตรเช้า:onion_yom:
…ครั้งล่าสุด เจอน้องสนิทสนมกันดีมาก บวชอยู่ด้วยกัน จะออกไปซื้อข้าวสารมาถวายทำบุญวันแม่ (เป็นเหตุให้ยายมีโอกาสร่วมบุญถวายสังฆทานกับคณะด้วยอีกต่างหาก สาธุ:onion_love:)
ยายก็ถามว่าขออนุญาตแล้วหรือยัง ? น้องก็บอกว่าออกไปซื้อของทำบุญต้องขอด้วยหรือ ? อีกคนก็ว่า ไปเดี๋ยวเดียว ไม่น่าต้องขอนะ อีกคนก็ว่า ทีใส่บาตรท่านยังไปได้เลย (นั่นแหละ ๆ น้องรัก ท่านถึงต้องบอกอนุญาตไว้ล่วงหน้า)…
ทำความเข้าใจกันแล้ว น้องก็ไปฝากขออนุญาตจากหลวงตาธีร์…
ปกติต้องขอจากเจ้าอาวาส แต่พวกเราจะไม่รบกวนพระอาจารย์กัน จึงไปขอที่พระเลขาฯ ตั้งแต่สมัยหลวงตาหน่อย เดี๋ยวนี้ทางวัดส่งออกหลวงตาหน่อยไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบ้านเก่าแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นหลวงตาธีร์ (หลวงตาว่าเรียกอย่างนี้ฟังรื่นหูกว่า หลวงตายี้... ท่านเดียวกัน) หากไม่มีท่านใดอยู่ (หรืออยู่ แต่ไม่กล้า…) ก็มักหลบไปขอแม่ชีชื่น ผู้อาวุโส (อาจมีที่ไม่กล้าเช่นกัน… ก็ไม่ต้องออกไป:4672615: ไม่เสี่ยงศีลด่าง ศีลพร้อย)
หมายเหตุ : ที่วัดเขาเรียกพระว่าหลวงตาตามเด็ก ๆ ทุกรูป
ตกกลางคืน เราก็คุยกับหนุ่มที่สนิทสนมกันดีอีกคน ที่เพิ่งตัดสินใจมาบวชครั้งแรก ใส่เสื้อทีมสีน้ำตาลอย่างดี (เจตนาเขาดีจริงนะ)
ยายก็เลยบอกว่า ถ้าหาเสื้อขาวได้ ก็หามาใส่นะ ท่านขอไว้เฉพาะเสื้อให้เป็นสีขาว…
ไม่ต้องห่วง พรรคพวกเหล่านี้ มีความเคารพพระอาจารย์เป็นปกติ
…เออหนอ นึกว่าพวก ‘แก่วัด’ จะรู้ดี
เอาเป็นว่า ท่านที่ทราบก็ช่วยแนะนำคนอื่น ๆ ที่มาใหม่หรือท่านที่ไม่ทราบสักหน่อย คงจะดีไม่น้อย ช่วยเหลือรักษากำลังใจกันด้วย
หมายเหตุ :
เรื่องที่ยายทำ หลายอย่างที่เริ่มจากความ 'ไม่ชอบ' นี้ มีส่วนดีต่อยายมาก เพราะเมื่อเราจะทำ เราก็คิดว่า 'ทำไมเราถึงจะทำ' 'ทำแล้วได้อะไร' ไม่ได้ชอบสักหน่อย... 'ทำไปแล้วได้สิ่งที่ตั้งใจมาหรือยัง'...
บางอย่างก็ทำเพราะพระอาจารย์ท่านชวน เช่นรักษาศีล... ระดับครูบาอาจารย์ อธิบายผลได้ชัดเจนแน่ หากเราไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจ ก็ยอมรับเถิดว่า 'ปัญญา' เรายังไม่ถึง
ทุกองค์สอนเราว่าจะเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างไร... เราก็ต้องทำไปตามกำลังเราอยู่ดี
ทุกวันนี้ ยายก็ยังไม่ชอบอยู่วัด:55318906: และไม่ชอบนุ่งขาวห่มขาวเช่นเดิม...
เพียงแต่คิดถึง อยากไปวัด ไปหาพระอาจารย์ ไปแล้วหากอยู่ได้แต่ไม่อยู่ เสียดายแน่ 'จริงไหม'
ส่วนของยายสรุปว่า...
เสื้อขาวก็พอ เคารพฟังพ่อ ขอไปนอกวัด
ตื่นเช้าเข้าสวด เย็นสวดทำวัตร ศีลแปดเคร่งครัด ปฏิบัติตั้งใจ
สายท่าขนุน
22-08-2013, 01:10
ตอนที่ ๒ นี้ จะมาเล่าเรื่องการที่พวกเราผู้บวชเนกขัมมะฯ จะออกไปใส่บาตรกัน
...ขอคั่นด้วยเรื่องพระอาจารย์เมตตาสั่งสอนสักหน่อย เรื่องนี้ถูกสอนมาตั้งแต่เมื่อห้าปีกว่ามาแล้ว ยังพลาดอยู่อีก:msn_smileys-16:
ตอนเช้าก่อนพระจะตั้งแถวไปใส่บาตร ตามเส้นทาง (สาย) ต่าง ๆ พระอาจารย์ก็มักจะเดินมาสงเคราะห์แม่ชีที่โรงครัว
...แต่แรก ๆ ที่ยายเห็น ท่านจะเดินออกมาทางด้านข้างกุฏิชี เปิดประตูไม้ ออกมาหน้าโรงครัว ให้แม่ชี และโยมที่วัดที่ช่วยงานครัวได้ถวายปัจจัยกันก่อน (บอกแล้วว่า แกงหยวกนี่นะ แม่ชีกับโยมช่วยงานทำกันทั้งวันทั้งคืน)
ยายยังนึกว่า เออหนอ..แม่ชีมัวทำกับข้าว เตรียมอาหารถวายพระ เตรียมอาหารให้พวกเรา และรออาหารใส่บาตรที่จะกลับมาให้จัดแยก จัดถวายอีกด้วย
คลับคล้ายคลับคลาว่า แรก ๆ เห็นท่านถือย่ามมารับปัจจัยจากแม่ชี คล้ายกับว่า แม่ชีไม่ได้ไปทำวัตรเช้าจึงไม่ได้ใส่ย่าม.. หากจำผิดก็กราบขอขมาด้วยค่ะ
ต่อมาญาติโยมที่บวช ก็ร่วมถวายปัจจัยด้วย ท่านก็ไม่ได้ให้ใส่ย่ามแล้ว เพราะเพิ่งใส่กันมาหลังทำวัตรเช้า… บางครั้ง ท่านจะถือบาตรมาด้วย แต่เคยมีคนถวายปัจจัยว่าใส่บาตร ท่านไม่รับเป็นใส่บาตร ให้ไปใส่นอกวัด (ท่านนำบิณฑบาตสายตลาด พวกเราก็ ‘แห่ตาม’ ไปที่ตลาดเป็นปกติ) โดยมีแม่ชีชื่นถวายคนแรกเช่นที่ทำกันเป็นปกติแต่ไรมา
ระยะต่อมา ป้านุชจะจัดพานดอกไม้ตอนกลางคืนเพื่อถวายพระอาจารย์ก่อนทำกรรมฐานทุกเช้า และมักอยู่บริเวณที่จัดดอกไม้นั้นตอนเช้า จึงเริ่มจากป้านุชถวายถุงพลาสติกใส่เงินให้ท่าน ที่ท่านมักเรียกหามา แล้วเรียกว่า ‘กระสอบ’
แล้วยายก็พลอยบอกใคร ๆ ว่าให้ป้านุชเตรียมเรื่องนี้ไปเถอะ จะได้ไม่ดูเก้ ๆ กัง ๆ หาถุงกันบ้าง มองตากันบ้าง ว่าใครจะถวาย ยกเว้นป้านุชไม่มีถุงพลาสติก หรือไม่อยู่
ส่วนพระอาจารย์ท่านก็จะเดินเข้าทางประตูรั้วโรงครัวด้านหน้า ไม่ได้มาทางด้านข้างอีก
…วันนั้น ป้านุชไม่อยู่ ยายก็มัวอธิบายใครต่อใครที่มาใหม่ที่สงสัยว่ามารอทำอะไรกัน อธิบายสารพัด อย่างที่เล่ามาข้างต้นนี่แหละ
พอท่านเดินมาถึง อ้าววันนี้ป้านุชยังไม่ถึงวัด ยายก็เอาถุงพลาสติกในกระเป๋าส่งให้น้องที่ดูแลใกล้พระอาจารย์ท่านหนึ่งที่บวชอยู่ด้วย น้องรับไปแล้วส่องดูว่า มีอะไรหลงอยู่หรือไม่ ก็พบธนบัตร ๒๐ บาทอยู่ใบหนึ่ง กำลังหันมาถามยาย…
เสียงพระอาจารย์ดังขึ้นอย่างเข้มขลังว่า “ทำอะไรกันนี่ ? ”:onion_emoticons-17:… พอยายตอบเรื่องแบงก์ ๒๐ แล้ว น้องก็หันไปจะส่งถวายถุงพลาสติก… เสียงท่านก็ดังขึ้นอีก “มาทำอะไรกันอยู่นี่”… น้องถึงกับกระตุกหดมือที่จะถวายถุงพลาสติกกลับ
ยายต้องลุ้นว่า ถวายไปเถิด… เมื่อท่านถือถุงแล้ว น้องคนนั้นกับยาย ก็จะใส่เงินในถุงบ้าง… เสียงท่านยังดังชัดเจน “รู้ไหมว่านี่ทำอะไร ?"
…เราสองคนก็ยังมีอาการ ‘เอ๋อ’ ที่กล้ากล่าวอ้างถึงน้องเขาด้วย เพราะเรามาคุยกันทีหลัง ทั้งคู่ใส่เงินในถุงไปอย่างนั้นเอง !!!:54bd3bbb:... ก่อนที่จะสำนึกด้วยกันว่า ‘เราสองคน’ โดนสั่งสอนเรื่อง “ไม่ตั้งกำลังใจทำบุญให้ดี” (แปลว่า หากไม่คิดอะไรเลยจริง ๆ ก็ไม่มีอานิสงส์ !!!... ยิ่งกว่าการทำบุญแบบเกรงใจคนบอกบุญ หรือตัดรำคาญอีกนะ)...
ยายต้องมานึกทีหลังว่า ยายนี้หนอตอนเช้าได้ใส่ปัจจัยถวายเป็นสังฆทาน (แบบที่หลวงตาเคยสั่งให้ยาย โมทนาบุญตัวเองบ่อย ๆ )… หลังจากถามคนอื่น ๆ (ที่ยายไปอธิบายเขาไว้เอง) แต่ละคนตอบได้หมดว่าใส่ปัจจัยทำบุญอะไร
สติจ้ะยาย สตินะ เขาเรียกสติ… ต้องมีสมาธิก่อนด้วย สติจึงจะมีได้
หมายเหตุ :
นานมาแล้ว… ที่บ้านอนุสาวรีย์ ยายโดนสั่งสอนเรื่องนี้จำได้มั่น เริ่มจากท่านไม่รับปัจจัย และต่อมาได้ยินเสียงเอ็ดเข้ามาในใจ ดังชัดเจน แล้วสุดท้ายท่านไม่รับ แล้วกล่าวออกไมค์เลยว่า ‘นั่นเขาไม่ได้ถวายสังฆทานหรอก เขาเอาเงินวางไว้เฉย ๆ ’… ยายว่านั่นเกือบ ๖ ปีมาแล้วนะ… ยายจ๋า แก่แล้ว เวลาเหลือไม่มากนักแล้วนะจ๊ะ (มุสลิมเขายังมีการ ‘ตั้งใจ’ ทำบุญนี้เลย เขาเรียกว่า ‘เหงียด’ คือ เขาสอนให้ต้อง ‘เหงียด’ ก่อนทำบุญทุกครั้ง จึงจะได้บุญ)
...ทีนี้ก็เดินตามพระออกไปใส่บาตรกันสักทีละ:msn_smilies-22:
แต่ก่อนนี้ เราจะเดินตามแถวพระไปทางถนนกันบ้าง มีกลุ่มแยกไปเดินข้ามสะพานหลวงปู่สายอีกทางบ้าง… พวกที่จะช่วยรับของใส่บาตรมาใส่ ‘รถ’ ที่จะขนอาหารมาที่วัด ที่เราเรียกกันว่า ‘เด็กวัด’ นั้น ก็จะหยิบถังเหลือง ถือตามไป เพื่อใช้ถังขนอาหารจากที่ญาติโยมในตลาดใส่บาตรพระกัน… เราไม่นิยมเอารถไป เพราะหาที่จอดยาก และดูเหมือน ‘รักสบาย’ เกินไป ยกเว้นพาคนแก่เดินไม่ไหวไป… พระท่านเดินไป เราก็เดินไป หากภาวนาไปด้วยอย่างท่านได้ก็ยิ่งดี
ขากลับบางคนก็จะข้ามสะพานมาก่อน มาดักถ่ายรูปแถวพระ (ที่เห็นกันว่างาม ๆ :af48944b:… พระอาจารย์ท่านเรียงลำดับแถวตามความสูง ไม่ใช่จำนวนพรรษา) ที่ปลายสะพาน
เร็ว ๆ นี้ เห็นมีบางคนยืนหันรีหันขวาง ก่อนจะไปตลาด ไม่รู้ว่าไปใส่บาตรที่ตลาดนี่คือทำอะไรบ้าง ? ไปทางไหน ? ทำอย่างไร ? มีเวลาเท่าไร ? เขาซื้ออาหารกันตรงไหน ? แล้วแถวพระไปทางไหน ? รอใส่บาตรพระกันตรงไหนได้บ้าง ? …. หลัง ๆ ยังมีกิจกรรมปล่อยปลาเสริมเป็นปกติอีกด้วย
ยายจึงอยากมาบอกมาเล่าเรื่องการใส่บาตรพระในตลาดให้ทราบสถานการณ์เท่าที่ยายเคยเจอมา…
เท่าที่ยายจำได้ ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีการจัดบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม ผู้หญิงที่จะช่วยทำหน้าที่ ‘เด็กวัด’ (ชื่อเรียกนี่ก็มาตั้งกันช่วงเริ่มมีบวชนี้ด้วย) จะได้รับการบอกกล่าวให้ระมัดระวังกิริยา ไม่วิ่งล้อมหน้าล้อมหลัง หรือเข้าใกล้พระจนเกินไป เนื่องจากชาวบ้านท้องถิ่นเขาถือ
ต่อมา เราก็ได้ยินพระอาจารย์ประกาศขอให้พวกเรา 'อย่าไปเดินกร่างเต็มถนน' ให้เกะกะรถบนถนน... (พวกเราคงยังไม่ทันระวัง) ท่านบอกต่อมาเพิ่มเติมว่า เวลาพระบิณฑบาต เป็นเวลาที่คนเขาจะรีบขับรถไปทำมาหากินกัน ไปเกะกะขวางคนที่จะทำมาหากิน จะเป็นวิบากได้:cebollita_onion-08:
ดูเหมือนพอคนมากขึ้น อาจบอกต่อกันไม่ทั่ว และเรื่องเช่นนี้มิได้นำลงเก็บตกฯ เพียงพระอาจารย์ท่านบอกผู้บวชฯ เป็นระยะ
เรื่องที่ยายเจอเอง (เพราะไปเกะกะ ยืนผิดที่ผิดทางมาก่อน ถึงกับท่านต้องเมตตาชี้ให้ย้ายที่ยืน) คือ เรื่องที่ควรช่วยกันระวังให้แถวพระอยู่บนถนนให้น้อยที่สุด ได้แก่
หากเป็นทางเท้าที่มีระยะกว้างพอที่แถวพระจะเดินขึ้นไปได้ ขอให้พวกเราตั้งแถวชิดใน ใส่บาตรพระบนทางเท้า กับ
ควรตั้งแถวเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง อย่าให้เป็นทั้ง ๒ ฝั่ง หรือสลับฟันปลาหลายช่วงนัก และ
หากสังเกตรู้บ้านที่ใส่บาตรเป็นประจำ ให้ต่อแถวแนวเดียวกันเป็นหลัก เพื่อลดการข้ามถนนของแถวพระ
...ตลาดทองผาภูมิ ไม่ค่อยมีดอกไม้ขาย ที่มีขายดอกไม้แบบจัดช่อจัดกระเช้าได้ก็แพงมาก ที่ยายสงสัยที่สุด คือไม่มีดอกบัวขาย ถ้ายายอยากได้ ก็ต้องหาเอาไปเองจากปากคลองตลาด:f449b82c:… ดอกมะลิเพิ่งบาน ร้อยเป็นกระจุกเสียบไม้เหลา ที่เขามาขายตอนใส่บาตร จึงงามหอมนักหนา พวกเราก็ถวายใส่บาตรกันคนละช่อ ๆ …. ดอกไม้อื่นที่มีก็มักเป็นพวกดอกดาหลา (ที่จริงเขากินจิ้มกับน้ำพริกได้ ผัดก็ได้) หรือดอกเข้าพรรษาสีขาว ช่วงเข้าพรรษา
พอกลับถึงวัด ก็ได้ยินพระอาจารย์ท่านประกาศ… พวกดอกไม้ หรืออะไรที่กินไม่ได้ ไม่ต้องใส่บาตรมาหรอก มาถึงวัดก็ลำบากแม่ชี ต้องมาคัด มาแยก มาจัดบูชาพระ ให้ใครต่อก็ไม่ได้ เต็มวัดไปหมด แล้วก็ต้องตามไปเก็บทิ้งด้วย
ล่าสุด บวชช่วงวันแม่นี่เอง ยายได้ยินพระอาจารย์ออกไมค์บอกเรื่องที่ชาวบ้านเริ่มพูดกันว่า 'พระวัดท่าขนุนทำให้รถติดในตลาด !!!':conion-05: กับ
เรื่อง 'เด็กวัด' ที่ไปยืนจ้องคนใส่บาตร (เพื่อรับของใส่บาตรขนมาไว้ที่รถขนของ) โดยไม่รู้ตัวว่าทำหน้าคาดคั้น ให้เขาเครียดขนาดไหน... ท่านว่าน้องเขาไม่รู้ตัวหรอกว่า หน้าตัวเองเป็นอย่างไร จ้องเขาอย่างกับจะบอกว่า จะใส่หรือไม่ใส่ จะใส่ก็ใส่มาเร็ว ๆ (ยายจำไม่ได้ชัดทุกคำที่ท่านพูด แต่ให้อารมณ์ว่า ‘น่ากลัวมาก’… บางท่านอาจได้ยินเองกับหูแล้ว
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับญาติโยมที่ศรัทธาวัดท่าขนุน ศรัทธาหลวงปู่สาย
เหล่านี้ เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราต้องระมัดระวัง
…พระก็เดินแถวยาวมาก พวกเราก็ชอบไปช่วยงานใกล้ ๆ พระ มีกันก็หลายคนที่ไปล้อมอยู่รอบ ๆ พระ คงจะประมาณว่า ฉันยังไม่ได้ช่วยขนของบ้างเลย… จะไปใส่บาตรด้วย ก็ใส่กันคนละหลายชุด อาหารคงจะเหลือเฟือ (ที่จริงแล้ว ที่วัดจะจัดส่วนหนึ่งถวายเช้า แยกส่วนหนึ่งถวายเพล และแจกต่อไปให้กลุ่มคนแถวนั้น… ยายเคยได้ยินคล้าย ๆ ว่าที่คุกหรืออะไรนี่ ไม่ยืนยันข้อมูลนะจ๊ะ)…
ลำพังแถวพระ เดินชิดทางเท้า ก็ไม่กระไร แต่ตอนแถวพระข้ามถนนนี่ ก็นานพอควร ก็แถวยาว และชาวบ้านไม่นิยมขับรถตัดแถวพระแน่นอน แล้วหากแถวพระนั้นกว้างออกไปเต็มถนน เพราะมีโยมมาเดินขนานบ้าง ไม่ขนานบ้าง เต็มถนนเลย ชาวบ้านเขาจะไปอย่างไร… ไม่มีแถวพระ พวกเราก็ ‘ยิ่งใหญ่’ มาก อย่างท่านว่า เดินเต็มถนนเหมือนเป็นทางเท้ากันเป็นปกติ !!!
พวกเราก็หลายกลุ่ม หลายคณะ… ยายว่าช่วยกันค่อย ๆ บอกแบบพูดคุยให้ข้อมูลกัน เป็นระยะ พวกมาเดี่ยว ๆ ก็บอกต่อให้ถูกต้องเหมาะควร ท่านที่เป็นหัวหน้าคณะหรือพาทีมมา ก็เล่าสู่กันฟังแบบออกไมค์ไปเลย แทนพระอาจารย์ที่ต้องคอยมาบอกพวกเราออกไมค์อยู่เสมอ ดีกว่า…
รักษากำลังใจ รักษาศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระอาจารย์ของพวกเรา
และยังทดแทนพระคุณหลวงปู่สาย ที่เจริญศรัทธาญาติโยมไว้ทั่วเมืองกาญจน์ฯ
ตอนที่ ๒ เรื่องไปใส่บาตรที่ตลาดของยายนี้ สรุปว่า
ห้อมล้อมแถวพระ เกะกะทั่วถนน ไม่เกรงใจคน
ทำตนอวดกร่าง อยู่ข้างอาจารย์ ออกแนวระราน ประจานผู้ใด ?
(ขออภัย ออกแนวหนักไปหน่อยจ้ะ...
แต่ยายว่า ตอนที่ ๓ ที่จะปิดเล่าเรื่องคราวนี้ ตอน รักษาอารมณ์ รักษากำลังใจ อาจจะหนักกว่า:onion_eiei:)
สายท่าขนุน
17-09-2013, 23:10
ยายรีบมาเขียนตอนที่ ๓ นี้ไว้เลยดีกว่า ที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้อง ‘ปฏิบัติ’ ตามคำ ‘สั่งสอน’ ของพระอาจารย์:875328cc:
ที่เราได้ยินกันสม่ำเสมอบ่อยครั้งมาก ทั้งที่ท่านเทศน์ช่วงปฏิบัติธรรมที่วัด และช่วงปฏิบัติกรรมฐานที่บ้านวิริยบารมี
เวลานี้ คำสอน หรือ โอวาท ของพระอาจารย์ที่ให้แก่ผู้บวชเนกขัมมะ ก็ได้มีการบันทึกนำลงกระทู้ในเว็บวัด:msn_smileys-15:
ให้พวกเราได้ 'อ่าน' กันอย่างทั่วถึง ที่ยังไม่ได้ฟัง ก็ได้อ่านเอา ที่เคยได้ยินได้ฟังแล้ว ก็นำมาย้ำใส่ใจ ให้ทบทวนกัน
ดังตัวอย่าง
ดังนั้น...ในเรื่องของการปฏิบัติของพวกเรานั้น อันดับแรก..อย่ารอให้มีการจัดปฏิบัติธรรมแล้วเราค่อยมาภาวนา อย่ารอให้ค่ำลง เลิกงานแล้วค่อยมาภาวนา อย่ารอให้พักให้พอ กินให้พอ นอนให้พอแล้วค่อยมาภาวนา ถ้าทำอย่างนั้นเราสู้กิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสกินเราอยู่ทุกวินาที
มีเวลาว่างเมื่อไร สิ่งแรกที่ควรนึกถึงคือลมหายใจเข้าออก หรือภาพพระ หรือคำภาวนา ถ้าใครสามารถรักษากำลังใจแบบนี้ได้ อาตมายืนยันว่า ๓ เดือนจะเห็นหน้าเห็นหลังแล้ว แต่ถ้าเราภาวนาเสร็จ ลุกขึ้นก็เลิกเลย วันรุ่งขึ้นเอาใหม่ ภาวนาครึ่งชั่วโมงกำลังอารมณ์ดี ลุกขึ้นก็เลิกอีก ถ้าอย่างนี้ก็ทำไปเถอะ กี่ชาติก็อยู่แค่นั้นแหละ เพราะการปฏิบัติภาวนาของเราเหมือนกับว่ายทวนน้ำ เราว่ายทวนน้ำมาเต็มที่เลย พอปล่อยอะไรเกิดขึ้น ? ไหลตามน้ำไปสิจ๊ะ ไปโน่น..เกือบถึงปากอ่าวแล้ว พอวันรุ่งขึ้นเริ่มว่ายขึ้นมาใหม่ หมดเวลาก็ปล่อยอีก เราจะกลายเป็นคนขยัน ทำงานทุกวันแต่ผลงานไม่มีเลย เพราะออกปากอ่าวทุกที
พระอาจารย์กล่าวให้โอวาทก่อนมอบวุฒิบัตรผู้ปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะ
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖
เรื่องของทานวันนี้เราได้แน่ ๆ ทำกันเหลือล้น แต่ในส่วนของศีลและสมาธิ เราต้องมาทบทวนกันอีกทีหนึ่ง การปฏิบัติของเรา ถ้ายังรักษาอารมณ์ต่อเนื่องไม่เป็น โอกาสที่จะได้ดีนั้นยากมาก ดังนั้น..ถ้ากิเลสกินใจเราเสียก่อน โอกาสที่เราจะชนะก็ยาก กำลังใจของเราอาตมาเปรียบอยู่เสมอว่า เหมือนกับเก้าอี้ที่นั่งเดียว ถ้าความดีนั่งอยู่ความชั่วก็เข้าไม่ได้ ถ้าความชั่วนั่งไปก่อน ความดีก็เข้าไม่ได้เช่นกัน ถ้าเราทิ้งให้ความชั่วยึดกำลังใจเราไปก่อน ก็จะทำให้ท่านทั้งหลายจะต้องลำบาก
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเรายัง "ไม่เข็ด" อาตมาขอใช้คำนี้นะจ๊ะ เราก็จะทำแล้วทิ้ง ทำแล้วทิ้งอย่างนี้อยู่บ่อย ๆ สมัยที่อาตมาปฏิบัติใหม่ ๆ ก็เหมือนกัน กำลังใจหกล้มหกลุกอยู่ทุกวัน เพราะไม่เข้าใจว่าถ้าเราเปิดโอกาสเมื่อไรกิเลสก็ตีกลับเมื่อนั้น คิดว่านั่งกรรมฐานจนเต็มที่แล้ว สมาธิก็ทรงฌานได้แล้ว ทำไมเลิกปฏิบัติแล้วกิเลสท่วมหัวเหมือนเดิม อาจจะมากกว่าเดิมด้วย
…ทีนี้ ผลของการปฏิบัตินั้นเล่า ยายสังเกตว่า การเผลอ ‘ทิ้งอารมณ์’
แล้วยอมรับกิเลสทันที ถึงแก่พ่ายแพ้แก่กิเลส ของยายเอง มันง่ายมาก ๆ :onion_emoticons-17:
ทำให้ยายรู้สึกได้ถึงความอ่อนแอ จากการที่ไม่ฝึก ‘รักษาอารมณ์’ การปฏิบัติไว้ให้อยู่กับตัว
เพื่อจะได้ไม่พลาดท่าเสียทีแก่กิเลส
แบบที่พวกเรามักคิดว่า นั่นคือ
กลับไปใช้ชีวิต ‘โลก’ ตามปกติ…
เอ้อ อยากเตือนตัวยายเองให้ได้สติเหลือเกินว่า
ที่เราปฏิบัติมานี่ ต้องการที่จะ ‘ไม่กลับไปใช้ชีวิตโลก’ อีกแล้วนะ
แรก ๆ ที่มาบวช ยายได้รับคำแนะนำว่า ตอนออกไปใส่บาตร
ไม่ควรไปหาอะไรกินในตลาดนะ ให้กลับมากินข้าววัด…
ตอนนั้น ยายก็ไม่ค่อยเข้าใจนัก เพียงแต่คิดว่า มันดูไม่งาม เหมือนคนบวชไปเที่ยวเล่นในตลาด
กับอีกเรื่องที่ยายเห็นว่าเป็นสาระของยาย คือ มาอยู่วัด ก็ให้ทำตัวอยู่ง่ายกินง่าย
หากยังอยากกินอะไรอร่อย ๆ ถึงกับเสาะหา (ที่พูดเช่นนี้ เพราะอาหารที่วัดก็อร่อย ฮี่ ฮี่:8f337f1c:)
ก็ไม่สมกับที่มาอยู่วัดกระมัง (ก็ยายไม่ชอบอยู่วัดนี่… แต่ระยะหลังนี้ เริ่มคิดถึงวัดบ้างแล้ว)…
ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้ยายไม่ยอมซื้ออาหารที่มาขายในวัดกินเองเลย หากว่ายายบวชอยู่ด้วย
แต่จะซื้อให้ผู้บวชบ้างเป็นบางครั้ง
…ยายก็ได้บอกต่อให้น้องที่เพิ่งไปบวชทราบเป็นระยะ
น้องก็ทำบ้างไม่ทำบ้าง เนื่องจากเห็นว่า ไม่เป็นไร
ยังคงลงนั่งกินข้าวเช้า ซื้อหมูปิ้ง ปาท่องโก๋ กินไปตามเรื่องตามราว
ยายเองก็ไม่ได้ติดใจว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ยังคงเตือนเรื่อย ๆ …
ล่าสุดนี้ ได้ยินพระอาจารย์กล่าวเทศน์ผู้บวชเรื่องนี้เองโดยตรง ถึงกับว่าทำนองนี้
ถ้าอาหารวัดไม่อร่อยก็ให้ทำใจ หรือข้าวต้มวัด เทให้หมากิน หมายังเมิน ก็ตาม:54bd3bbb:...
ก็ให้อดใจ กลับมากินข้าววัด
...ทำให้ยายเข้าใจทั้งความไม่เหมาะควร
และเข้าใจการ ‘รักษาอารมณ์’ กับเรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อยนี้ชัดขึ้นมาก
…เมื่อครั้งบวชคราวก่อน พระอาจารย์ท่านกล่าวถึงว่าบางท่านนัดกันหลังจากลาศีลแล้วว่า
มื้อเย็นจะไปหาอะไรอร่อย ๆ กินกัน
และคราวนั้น ยายอยู่ที่วัดต่ออีกวัน เมื่อผู้บวชลาศีลกันแล้ว ยายก็เห็น ๒ เรื่อง คือ
ช่วงบ่าย ยายขับรถออกไปข้างนอก โดยไปส่งคนที่ตลาดก่อน
เสร็จแล้วยายก็ขับรถออกจากตลาดผ่านร้านอร่อยริมถนน…
อืม... อย่างที่พระอาจารย์ท่านว่า ชุดเสื้อขาวบ้าง ไม่ใช่เสื้อขาวบ้าง
แต่พวกเราที่บวชกันทั้งนั้น นั่งกินอาหารกันเต็มร้านเลย
เมื่อกลับมาวัดอีกที ก็เห็นพระอาจารย์หยอกพี่ท่านหนึ่ง
ซึ่งกำลังกินข้าวเย็นอยู่ในโรงครัวทำนองว่า
‘อะไรกัน อยู่วัดกินข้าวเย็น’
พี่เขาก็ตอบว่า ‘ต้องกินยา’
ท่านก็ว่า ‘กินยาก็ส่วนกินยา ข้าวก็ส่วนข้าว’
เวลานั้น ยายจะรีบออกไปตลาดหาซื้อของก่อนร้านปิด จึงไม่ได้อยู่ฟังต่อ
…นี่เองสินะ ที่ปฏิบัติกันก็เฉพาะช่วงที่บวชกันจริง ๆ
อารมณ์ ‘กินง่ายอยู่ง่าย’ ‘ไม่สนใจมื้อเย็น’ มันหายไปในพริบตา
มองเผิน ๆ ก็ไม่น่าเป็นไร ก็ลาศีลแปดแล้วนี่นา ตอนถือศีลอยู่ก็ ‘ตั้งใจ’ ทำ
ได้สัจจะบารมีแล้ว ปฏิบัติก็ดี ได้บุญเต็ม ๆ สารพัดกรณีอีกด้วย
ยายคิดดูต่อ (นั่น สนใจเรื่องชาวบ้าน !!!) ช่วงบวช พี่เขาก็กินยาโดยไม่กินข้าวเย็น
ส่วนพวกเราก็ ‘โหยหา’ มื้อเย็นแสนอร่อยกันทันที
(เรื่องกินนี่ยายก็ยังมีอาการ ‘อาหารอร่อย’ ชวนกินให้ต้องอดใจอยู่บ้าง)…
นี่มันแค่อาหารนะ มื้อเช้าเราก็กินได้ ไม่เห็นต้องกลับมากินที่วัดเลย
มื้อเย็นเราก็ลาศีลแล้ว กินได้แล้วนี่ ทำไมต้องมาห้าม... นั่นสิ
ไม่ใช่เรื่องทำสมาธิ ตั้งภาพพระ จับลมหายใจ หรือภาวนาสักหน่อย
จะให้รักษาอารมณ์อะไร อย่างไร และทำไปทำไมกัน…
:onion_no:
...ที่ยายกลัวนั่นมันคือ กิเลสเพื่อนเกลอกันนี่แหละ
ถ้ายายจะเปรียบว่าเราถือขั้วไฟไว้ขั้วละมือ แล้วก็เล่นสนุก
พอมันแตะช็อตกันก็สว่างกระพริบแตกพราวเป็นลูกไฟสวยตื่นเต้นดี
พอไฟมันดูดเอา เราก็เจ็บก็กลัว…
แต่มัน ‘ชอบ’ ตอนเป็นลูกไฟนี่นา
พอเรามาบวช มาปฏิบัติธรรม เขาก็ให้เราวางขั้วไฟฟ้านั้นไว้ ไม่ไปยุ่งกับมัน
พอเราลาศีลแปด เราก็รีบวิ่งแจ้นไปหยิบขั้วไฟมาแตะกันเล่นอีก เป็นอย่างนี้หรือเปล่า
หรือเราจะชะลอวางมันทิ้งไว้ได้อีกสักพัก แล้วก็ฝึกไม่สนใจมัน
กระทั่งไม่ไปยุ่งกับมันอีกได้ เพราะเห็นโทษของมัน
(ที่จริงคราวก่อนนี้ ยายก็ได้ยินว่าลูกของน้องท่านหนึ่งทนหิวมื้อเย็นไม่ไหว กินบะหมี่สำเร็จรูปไป
ยายก็ได้แต่บอกเขาว่า พยายามให้เป็นนมดีกว่าไหม…
คราวล่าสุด ยายเห็นว่ามีคนมาแกะห่อบะหมี่สำเร็จรูปชงน้ำร้อนตอนกลางคืน
น่าแปลก ยายมองเห็นแต่ชามกับบะหมี่ในชามที่เขากำลังลวก เพราะได้กลิ่นอาหาร
แต่ยายไม่ได้สนใจดูว่าใคร แล้วไม่ได้มีอารมณ์อะไรเลย)
…ตอนที่ ๓ นี้ ยายเอาเรื่องกินเรื่องเดียวดีกว่า เรื่องไม่พอใจกันในวัด
เรื่องสมาธิลึกตื้น เรื่องหลับไม่หลับตอนกรรมฐาน เรื่องรักษาภาพพระไว้ได้หรือไม่
เรื่องจับลมหายใจต่อเนื่อง เรื่องรักษาอารมณ์ใจสบายหลังกรรมฐาน
อะไรอย่างนี้ ดูมันเกินกว่าที่ยายจะเขียนเล่าได้…
ยายอยากเพียงเตือนตัวเองและบอกพวกเราให้พยายาม ‘ฟัง’ พระอาจารย์
ให้ ‘ได้ยิน’ และ ‘เข้าใจ’ ว่าท่านเมตตา ‘บอก’ อะไรพวกเรา
เชื่อว่า หากได้ยิน ‘ชัด’ แล้ว พวกเราจะเร่งปฏิบัติ
แล้ว ‘รักษาอารมณ์การปฏิบัติ’ ไว้แน่นอน
ไปบวชเนกขัมม์ฯ ร่ำใจให้ใส ทำไว้ได้แก้ว
ออกจากวัดแล้ว ปล่อยแก้วทิ้งไป แตกเดี๋ยวมาใหม่ กระไรนักฤๅ ?
สุรีย์พร จึงสง่าสม
18-09-2013, 15:23
อยากไปทุกครั้ง
สายท่าขนุน
06-11-2014, 00:54
คราวบวชเนกขัมมะ ช่วงกฐิน ๘-๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา เป็นคราวที่พระอาจารย์ท่านว่าคนน้อยกว่าทุกคราวที่เคยจัดมา
อาจเป็นเพราะต้องลางานถึง ๓ วัน จำได้คร่าว ๆ ว่า ญาติโยมรวมพระ เณร และแม่ชีแล้ว มี ๖๐ คน และโยมบวชน้อยกว่าพระทั้งวัดอีก
(ยายว่าไม่แน่นา ช่วงลอยกระทงที่จะถึงนี้ แม้ลางานเพียง ๒ วัน โยมก็อาจมาน้อยสูสีกัน หรือน้อยกว่าได้ เพราะล้าจากช่วงกฐิน และวันลาหมดอีกด้วย)
และแม้พระอาจารย์จะมีกิจอันเนื่องมาจากพระครูกาญจนเขตวิมล เจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ มรณภาพลงกะทันหันในวันที่ ๘ ตุลาคม พอดี
ท่านก็หมายมั่นปั้นมือจะ 'จัดเต็ม' ให้พวกเรามาก ๆ ดังที่ท่านเอ่ยปากไว้ก่อนหน้าว่า มีตั้ง ๕ วัน แบบที่ไม่ติดงานบุญหลายวัน
แค่ช่วงวันกฐินที่รวบเอาตักบาตรเทโวไว้ด้วยกันวันเดียว
ท่าน 'ท้า' ให้พวกเราฝึกปิดทางกิเลสจากเครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ คือ
ให้งดเล่นไลน์ เฟซบุ๊ก อินเทอร์เน็ต หรือเข้าโซเชียลทั้งหลาย สัก ๕ วัน ดูซิว่ามันจะตายไหม
...ยายเอง เสร็จมันตั้งแต่คืนแรกเลย:54bd3bbb: เพราะดันห่วงงาน เข้าอ่านอีเมล์ และทำงานเลยแหละ...
อนาถใจจริง... ถึงแม้ว่าวันที่เหลืออีก ๔ วัน ตั้งใจใหม่ และไม่เข้าแล้วก็ตาม ก็ถือว่า ตายไปแต่แรกแล้ว!!!
(ดังที่พระอาจารย์ท่านว่าวันรุ่งขึ้นว่า แค่ท่านให้ลองนี่ ก็ตายกันระนาว ศพเกลื่อนวัด)
ท่านนำกรรมฐานก่อนตีสี่ และเมตตาแบบที่ท่านว่า ใครไม่ได้มารอบนี้น่าเสียดาย ท่าน บอกหมด
...ใครทำเป็น ตั้งใจพิจารณาตามไปนี่ บรรลุกันได้เลยเชียว
เรื่องคำสอนของพระอาจารย์คราวนี้ ไปหาอ่านกันได้ มีลงไว้ให้ใน 'เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ'
เรื่องตามพระไปบิณฑบาต ก็ยังอุตส่าห์มีประเด็นเพิ่ม...
ในส่วนนี้ พวกเรายิ่งทำไปใจต้องยิ่งละเอียดขึ้น ต้องยิ่งเห็นว่า กาย วาจา ใจ ของเรา ก่อทุกข์ก่อโทษให้เขาเท่าไร จะได้หยุดสร้างเหตุนั้นเสีย ถ้ากรรมใหม่ของเราไม่ได้สร้าง กรรมเก่าเราค่อย ๆ ชดใช้ไป เดี๋ยวก็หมดกรรม สามารถหลุดพ้นไปได้ แต่ถ้ากรรมเก่าก็ยังใช้ไม่หมด กรรมใหม่ก็สร้างเพิ่มไปเรื่อย ๆ แล้วอีกกี่ชาติกว่าจะมีปัญญาหลุดพ้นกับเขาบ้าง ?
บางท่านก็เมตตาเหลือเกิน พระเดินถนนอยู่ก็พระของกู หลวงพ่อของกู พระวัดกู เพราะฉะนั้น..คนอื่นว่ากันทีหลัง กูยืนกั้นถนนเลย ให้พระของกูไปก่อน เป็นการกระทำที่เมตตาเกินประมาณ แล้วก็สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นเขา อย่าได้ทำอย่างนั้นอีก
ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ยายได้อะไรเพิ่มเติมจากที่มีโอกาสฟังเสียงหลวงพ่อสบาย ๆ ช่วงก่อนนอน:baa60776:
คงเป็นเพราะคนน้อย ไม่มีเสียงพูดคุยกันปนเข้ามา และเครื่องเสียงตรงโรงครัวไม่เงียบแบบบางคราว
ทำให้ตั้งอกตั้งใจฟังได้ดีขึ้น
เอาเรื่องเบา ๆ ก่อน:4672615:... คืนหนึ่ง ยายได้ยินหลวงพ่อแนะนำว่า หากเราอยู่ในอุปจารสมาธิ ยุงจะไม่กัด
(กำลังนึกต่อว่า แล้วที่โดนตัวริ้นคู่อริกัดเยินอยู่นี่ล่ะเจ้าคะ... ได้ยินหลวงพ่อพูดต่อว่า) พวกริ้นไรก็เหมือนกัน
...ก็ทดลองนะ ขอไม่บอกผลที่นี่ดีกว่า... เชื่อหลวงพ่อนั้นแน่นอน
แต่เราไม่ได้มั่นใจตัวเองว่าผลนั่นน่ะ เพราะเราทำสมาธิแค่เบาะ ๆ นี่ไว้ได้ ๕๕๕
ระยะหลัง ๆ ยายสังเกตว่า พระอาจารย์ท่านเทศน์สอนหนัก เข้มข้นเหมือนเอ็ดแรง ๆ ให้เร่งปฎิบัติบ่อย ๆ...
เรานึกว่าเออหนอ พระอาจารย์ท่าน ปากเปียกปากแฉะ อดทน ทรมานสังขาร อบรมสั่งสอนพวกเรา
แม้ตามที่เรียกได้ว่าเกือบไม่เห็นหนเลย ว่าพวกเราจะตั้งใจปฏิบัติกันมากน้อยเพียงไร
ยายกราบขอขมาทุกท่าน ที่กล่าวเหมารวมเช่นนี้ ขอให้อโหสิแก่ยายด้วย
แต่สาเหตุที่ทำให้ยายกล่าวเช่นนี้ก็มีอยู่ ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น
เรื่องที่คิดว่าทำง่าย ๆ แบบที่ท่านพูดแล้วพูดอีกอย่างเรื่องที่โยมตามไปบิณฑบาตก็ยังมีประเด็นอยู่ (ขนาดโยมน้อย ๆ แล้วนะ)
...แถมมีประเด็นใหม่ั้กั้นถนนให้พระด้วย
กลับไปทวนว่า ก็เรามันพวก 'เนยยะ' ตามสมัยนิยม จะฟังทีเดียวให้รู้เรื่อง ก็กรรมทำมา
ให้ยังมีกำลังไม่พอสู้กิเลส ถูกกิเลสมันปัดเป๋ไม่เป็นท่าได้เรื่อย ๆ
เอ... แล้วต้องทำอย่างไรกันล่ะ:efb50fe2:
(ถามอีกแล้ว... ครูบาอาจารย์ท่านก็เมตตา 'สั่งสอน' อยู่ สามารถหาอ่าน หาฟัง ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน
ที่ท่านแนะนำไว้นะ ทำให้จริงสักเรื่องเถอะ)
...ได้แต่พยายาม (ยังไม่มากพอแน่ ๆ !!!) 'ปฏิบัติ' ให้ได้ขณะที่ใช้ชีวิต และให้ได้ 'ทุกลมหายใจ'
ค่ำหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงหลวงพ่อท่านว่า
บุคคลประเภท เนยยะ นั้น ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นอริยะได้ เข้าถึงได้เพียงไตรสรณคมน์...
เรื่องนี้ ได้นำไปกราบเรียนถามพระอาจารย์ และได้คำตอบตามนี้
ถาม : ตามที่เพิ่งได้กราบฟังเสียงหลวงพ่อวัดท่าซุงมา หลวงพ่อว่าบุคคลประเภทเนยยะนั้น ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นพระอริยะได้ เข้าถึงได้เพียงไตรสรณคมน์ จึงขอกราบเรียนถามว่าบุคคล ๔ ประเภท คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ และปทปรมะนั้น เป็นการแบ่งตามกรรมที่ทำมา คือ เป็นประเภทนั้น ๆ ตั้งแต่เกิดไปตลอดอายุขัย หรือเป็นตามกำลังใจของคนในขณะใดขณะหนึ่ง ? และคนสามารถพัฒนาปรับกำลังใจตนเองให้ไปสู่ประเภทที่สูงขึ้นไปได้หรือไม่ ?
ตอบ : จากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมา การปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา จะช่วยพัฒนาระดับบารมีของเราให้สูงขึ้นได้เรื่อย ๆ แต่ว่าในจุดนี้ไม่ยืนยัน เพราะไม่แน่ใจว่าคนอื่นจะเป็นเหมือนกันหรือไม่
ให้คิดอยู่อย่างเดียวว่า ทุกคนสามารถพัฒนาภูมิจิตภูมิธรรมของตนเองขึ้นไปได้อย่างแน่นอน ไม่อย่างนั้นแล้วคงไม่ได้พบกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยกเว้นประเภทเดียวคือปทปรมะ เพราะท่านทั้งหลายเหล่านั้นฉลาดเกินไป จนไม่ยอมรับความเห็นของคนอื่น
บวชเนกขัมมะรอบนี้ ความรู้สึกที่ได้มา บอกไม่ค่อยจะถูก คือเห็นว่า ครูบาอาจารย์ท่านลำบากในการสั่งสอนพวกเราเหลือเกิน ท่านยังไม่ท้อถอยที่จะ 'เข็น' เรือเกลือ อย่างพวกเรา แต่พวกเราสิกลับ 'เชื่อกิเลสมากกว่า' ไม่ยอม 'สู้ตาย' แบบที่พระอาจารย์ว่าหลวงพ่อวัดท่าซุงบอกไว้ว่า คนจะไปนิพพานชาตินี้ได้ ต้องบ้าเกินคน:1025c640:
ถาม : บุคคลประเภทเนยยะ หากไม่สามารถปรับขึ้นเป็นวิปจิตัญญู หรืออุคฆฏิตัญญูได้ในชาติปัจจุบัน หมายถึงว่า การจะเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน มีโอกาสเพียงขณะที่จะหมดลมหายใจเท่านั้น ถูกต้องหรือไม่ ?
ตอบ : ถ้าหากว่าปรับไม่ได้ ตอนหมดลมหายใจก็หมดสิทธิ์เหมือนกัน ฉะนั้น..ขอให้มั่นใจก่อนว่าปรับได้ ต่อให้เขาบอกว่าไม่ได้ก็ต้องเอาให้ได้ เพราะว่าบุคคลที่หวังไปพระนิพพาน กำลังใจต้องเกินคน อย่างที่หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านบอกว่า ต้องบ้าเกินคนอื่นหลายเท่า
จำที่พระอาจารย์ท่านเล่าถึงเพื่อนเกลอที่ว่าท่านเป็นขอนไม้ผุ ๆ กันได้ไหม ดังที่ท่านก็เทศน์ในคราวนี้ด้วย
มีอยู่วันหนึ่งอาตมากำลังป่วย เขามาร้องเพลงขอนไม้กับเรือให้ฟัง แล้วบอกว่า ไอ้ท่านก็เป็นแค่ขอนไม้ผุ ๆ เท่านั้นแหละ จะไปส่งคนขึ้นเรือขึ้นฝั่งได้อย่างไร ? ตัวเองยังจะไปไม่รอดเลย จะไปส่งใครได้ ร้องเพลงเพราะด้วยนะ สำเนียงปักษ์ใต้แท้เลย เรื่องพวกนี้อยากจะบอกกับพวกเราว่า กิเลสต่าง ๆ ที่ร้อยรัดเราติดอยู่กับโลกนี้ มีแต่จะหนักขึ้นทุกที ๆ ถ้าเราไม่ตั้งใจเด็ดขาดจริงจังสู้กับกิเลส โอกาสที่จะรอดก็ยาก
*** ช่างน่าสะท้อนใจนัก ***
สุรีย์พร จึงสง่าสม
07-11-2014, 20:40
ไปบวชเนกขัมมะที่วัดท่าขนุน จะรู้สึกมีพลัง ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย แปลกมาก เหมือนได้พัก แล้วก็ตื่นเช้ามืดได้ปฏิบัติความดี ชอบตรงนี้แหละค่ะ
ชอบทุกอย่างค่ะ อยากไปทุกเดือนเลย
ขอแบ่งปันความรู้สึกจากการไปบวชเนกขัมมะนะครับ
ผมรู้สึกตลอดเวลาว่า "หลวงพ่อเล็กท่านสอนหมดไส้หมดพุง สอนแม้กระทั่งการกิน (ท่านสอนพระที่บวชใหม่ว่า อย่าก้มหน้ากิน ฯลฯ)
และท่านไม่เคยหวงวิชา ท่านย้ำเสมอว่า อนุญาตให้วัดรอยเท้าท่านได้"
โดยส่วนตัว ผมไม่กล้าถามหลวงพ่อ เพราะลึก ๆ "ผมกลัว" ผมชอบใช้วิธี "สังเกตว่าท่านทำอะไร"
จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ก็พยายามจำมาเลียนแบบ
โดยเฉพาะ เมื่อหลวงพ่อเล็กท่านอนุญาตให้วัดรอยเท้า ผมก็ลองวัดรอยเท้าโดยพยายามชวนคนมาทำบุญที่วัดท่าขนุนให้มาก ๆ
จะเป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้าเขาตัดสินใจมาวัด ผมถือว่าตั้งใจทำดี
สิ่งที่ผมเชื่อมั่นเสมอในสิ่งที่หลวงพ่อเล็กทำ คือ การอบรมคนไม่ดีให้กลายเป็นคนที่ตั้งใจเอาดี (ส่วนจะเอาดีแค่ไหนก็แล้วแต่วาสนาของแต่ละคน)
ผมเชื่อว่า การดึงคนไม่ดีหรือคนที่กำลังจะเป็นคนไม่ดีเข้าสู่กระแสบุญ จะเป็นการตัดกำลังฝ่ายที่ไม่ดี เพราะถ้าเราไม่ชวนคนมาทำดีให้มาก ๆ
ฝ่ายไม่ดีก็จะมีกำลังมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ฝ่ายที่ตั้งใจทำดีลำบากและคนดีจะเดือดร้อน
การที่ผมตั้งใจจะชวนคนมาวัดท่าขนุนให้มาก ๆ ไม่ใช่เพราะต้องการโปรโมทวัดท่าขนุนหรือหลวงพ่อเล็ก แต่ผมเชื่อว่า
ทุกวันนี้ มีสถานที่หลายแห่งสอนผิดและมีหลาย ๆ คนเดินตามทางคนผิด ดังนั้น ผมก็ชวนคนในพื้นที่ของผม (พลังจิตและเฟซบุ๊ก)
ส่วนใครจะมาวัดท่าขนุนหรือไม่ก็เรื่องของเขา หากเขามีวาสนากับหลวงพ่อเล็ก ก็คงเป็นดังที่ท่านเคยตอบว่าเป็น "วาระกรรมของพระอาจารย์ (หลวงพ่อเล็ก)"
ผมคิดว่า ในเมื่อหลวงพ่อพูด ๑ ครั้ง มีคนฟัง ๕๐ คน ถ้าผมชวนคนมาฟังเพิ่มได้อีก ๑ คน หลวงพ่อก็ไม่ต้องมาพูดเรื่องเดิมซ้ำให้คนอีก ๑ คนฟัง
ผมไม่รู้ว่า หลวงพ่อจะอยู่กับพวกเรานานแค่ไหน และผมก็ไม่รู้ว่า ผมจะอยู่ได้นานแค่ไหน แต่ ณ วันนี้ หลวงพ่อยังสอนพวกเราได้อยู่
และผมยังมีแรงชวนคนได้อยู่ ผมก็ตั้งใจทำในสิ่งที่ผมถนัด คือ การชวนคน ส่วนหน้าที่เรียนรู้ ผมคิดว่า ทุก ๆ คนจะต้องศึกษาด้วยตนเองก่อน
แล้วค่อยไปถามหลวงพ่อ และหลาย ๆ เรื่องก็ไม่ควรไปถามท่าน เพราะค้นในเว็บวัดท่าขนุนก็เจอคำตอบที่เราอยากถามและท่านเคยตอบแล้ว
ก็ขอแบ่งปันประสบการณ์เพียงเท่านี้ครับ
vBulletin® v3.8.11, Copyright ©2000-2025, vBulletin Solutions Inc.