ลัก...ยิ้ม
25-11-2011, 11:13
งานทางกายกับทางใจ
หรืองานทางโลกกับงานทางธรรม
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนพระธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปกิณกธรรม หรือพระธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “งานอะไรก็ไม่สำคัญเท่างานทางใจ ให้รู้จักใช้ปัญญาพิจารณางานที่ทำอยู่ว่า เป็นงานทางไหนแน่ อย่าคิดว่ารู้แล้ว ให้ใช้ความละเอียดพิจารณาให้ลึกลงไปอีกที แล้วจักเห็นงานทางโลกและงานทางธรรมอย่างชัดเจน”
๒. “การทำงานแม้จักทำได้พร้อมกันก็จริง แต่พึงใช้ปัญญาแยกงานให้ถูกประเภทด้วย ทำควบคู่กันไป แต่ให้ความสำคัญแก่งานทางใจให้มาก ส่วนใหญ่มักจักให้ความสำคัญแก่งานทางโลกหรือทางกาย ไม่ดูอื่นไกล เช่น การหลงอยู่ในกามคุณ ๕ (ติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ซึ่งเป็นงานทางกายทั้งสิ้น ถ้าหากไปหลงติดอยู่ตามนั้น ก็ได้ชื่อว่าติดอยู่ในงานทางกายหรือทางโลก จุดนี้แม้แต่คุณหมอเองก็สมควรรู้จักแยกแยะให้ออกด้วย”
๓. “การปฏิบัติธรรมเวลานี้ ขึ้นอยู่กับความใจเย็นถึงที่สุด จึงจักเห็นอารมณ์ที่หวั่นไหวไปตามกิเลสได้ชัด ยิ่งเป็นฆราวาสถ้าชีวิตทรงอยู่ ยังเข้าไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ก็พึงอย่าคิดว่าตนเองดีแล้วเป็นอันขาด ให้ใช้สังโยชน์ ๑๐ ประการเป็นหลักสำคัญในการวัดอารมณ์ของตน”
๔. “ให้ทบทวนกรรมฐานที่เคยสอนมาก่อนเก่าให้ครบ จิตของพวกเจ้าเวลานี้ พอจักนำเอามาสรุปเหลือแค่กายกับจิตเท่านั้น (รู้กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่ตลอดเวลา ว่ามันเกิดดับ ๆ ไม่เที่ยง มันหาใช่เรา หาใช่ของเรา ตัวเราจริง ๆ คือจิตที่มาอาศัยกายอยู่ชั่วคราว แต่มีอุปทานขันธ์ ๕ คอยเผลอคิดว่ามันเป็นเรา เป็นของเราอยู่เสมอ จึงต้องมีสติกำหนดรู้อารมณ์ของจิตตนเองไว้ตลอดเวลา คือรู้เท่าทันเรื่องของกาย และของจิตใจตามความเป็นจริง) เอามาทบทวนเพื่อการละวางกิเลส ส่วนใดที่จิตยังไปเกาะอยู่ให้พยายามละซึ่งกิเลสส่วนนั้น อย่าท้อใจ เพราะความท้อใจ คืออารมณ์ไม่พอใจ (ปฏิฆะ) เป็นความเศร้าหมองของจิต พึงชำระจิตให้มีความผ่องใสอยู่เสมอ อย่าใจร้อนเป็นอันขาด หากมุ่งเอาดีในพระพุทธศาสนาต้องมีความใจเย็น และมีการพิจารณาธรรมในธรรมอย่างถี่ถ้วนด้วยปัญญา จึงจักได้มรรคผลที่แท้จริง”
หรืองานทางโลกกับงานทางธรรม
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนพระธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปกิณกธรรม หรือพระธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “งานอะไรก็ไม่สำคัญเท่างานทางใจ ให้รู้จักใช้ปัญญาพิจารณางานที่ทำอยู่ว่า เป็นงานทางไหนแน่ อย่าคิดว่ารู้แล้ว ให้ใช้ความละเอียดพิจารณาให้ลึกลงไปอีกที แล้วจักเห็นงานทางโลกและงานทางธรรมอย่างชัดเจน”
๒. “การทำงานแม้จักทำได้พร้อมกันก็จริง แต่พึงใช้ปัญญาแยกงานให้ถูกประเภทด้วย ทำควบคู่กันไป แต่ให้ความสำคัญแก่งานทางใจให้มาก ส่วนใหญ่มักจักให้ความสำคัญแก่งานทางโลกหรือทางกาย ไม่ดูอื่นไกล เช่น การหลงอยู่ในกามคุณ ๕ (ติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ซึ่งเป็นงานทางกายทั้งสิ้น ถ้าหากไปหลงติดอยู่ตามนั้น ก็ได้ชื่อว่าติดอยู่ในงานทางกายหรือทางโลก จุดนี้แม้แต่คุณหมอเองก็สมควรรู้จักแยกแยะให้ออกด้วย”
๓. “การปฏิบัติธรรมเวลานี้ ขึ้นอยู่กับความใจเย็นถึงที่สุด จึงจักเห็นอารมณ์ที่หวั่นไหวไปตามกิเลสได้ชัด ยิ่งเป็นฆราวาสถ้าชีวิตทรงอยู่ ยังเข้าไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ก็พึงอย่าคิดว่าตนเองดีแล้วเป็นอันขาด ให้ใช้สังโยชน์ ๑๐ ประการเป็นหลักสำคัญในการวัดอารมณ์ของตน”
๔. “ให้ทบทวนกรรมฐานที่เคยสอนมาก่อนเก่าให้ครบ จิตของพวกเจ้าเวลานี้ พอจักนำเอามาสรุปเหลือแค่กายกับจิตเท่านั้น (รู้กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่ตลอดเวลา ว่ามันเกิดดับ ๆ ไม่เที่ยง มันหาใช่เรา หาใช่ของเรา ตัวเราจริง ๆ คือจิตที่มาอาศัยกายอยู่ชั่วคราว แต่มีอุปทานขันธ์ ๕ คอยเผลอคิดว่ามันเป็นเรา เป็นของเราอยู่เสมอ จึงต้องมีสติกำหนดรู้อารมณ์ของจิตตนเองไว้ตลอดเวลา คือรู้เท่าทันเรื่องของกาย และของจิตใจตามความเป็นจริง) เอามาทบทวนเพื่อการละวางกิเลส ส่วนใดที่จิตยังไปเกาะอยู่ให้พยายามละซึ่งกิเลสส่วนนั้น อย่าท้อใจ เพราะความท้อใจ คืออารมณ์ไม่พอใจ (ปฏิฆะ) เป็นความเศร้าหมองของจิต พึงชำระจิตให้มีความผ่องใสอยู่เสมอ อย่าใจร้อนเป็นอันขาด หากมุ่งเอาดีในพระพุทธศาสนาต้องมีความใจเย็น และมีการพิจารณาธรรมในธรรมอย่างถี่ถ้วนด้วยปัญญา จึงจักได้มรรคผลที่แท้จริง”