ลัก...ยิ้ม
01-11-2011, 10:52
บารมี ๑๐ ประการ ต้องรักษาให้ครบ
๑. ให้ดูคำว่ากำลังใจเต็ม คือบารมี ๑๐ ประการ ได้รับการรักษาให้เต็มอยู่ในจิตครบทั้ง ๑๐ ประการหรือเปล่า นี่เป็นเพียงแค่บารมีต้น ๑๐ ประการ ลองสอบอารมณ์จิตดูว่า ยังพร่องหรือขาดข้อไหนบ้าง ขั้นแรกต้องให้เต็มอย่าพร่อง จนแน่ใจว่าทำได้ครบทั้ง ๑๐ บารมีแล้ว จึงค่อยก้าวเข้าสู่ขั้นที่สองคือ อุปบารมี และขั้นที่ ๓ ปรมัตถบารมีต่อไป
๒. การรับทานหรือการให้ทานก็ดี พึงดูบารมี ๑๐ ควบคู่ไปด้วยเสมอ จักทำให้การปฏิบัตินั้นเป็นการเจริญพระกรรมฐานไปในตัว เช่น อย่าขัดศรัทธาของผู้ให้ ใครจักให้สิ่งอันใดแก่เราก็จงรับไว้ก่อน แล้วค่อยพึงแจกจ่ายขยับขยายไปให้บุคคลอื่นต่อไปในภายหลัง และพึงวางอารมณ์ให้ถูก อย่าได้มีความพอใจหรือไม่พอใจของที่เขาให้ทั้งปวง จิตจักได้ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวไปด้วยกิเลส
๓. วันนี้เป็นวันสงกรานต์ (๑๔ เม.ย. ๒๕๓๙) มีคนมาวัดขอร่วมพักในห้องของเจ้า ก็ต้องวางกำลังใจให้สบาย หากมีคนต้องการสนทนาธรรมกับเจ้า ก็พึงให้ได้ตามที่ได้ปฏิบัติมา อย่าคิดว่าเป็นภาระหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ อย่าลืมการให้ธรรมะเป็นทานชนะทานทั้งปวง อย่าติดความสงบสุขในส่วนตนจนเกินไป พึงทำไปด้วยความเหมาะสม เราปฏิบัติได้แค่ไหนก็แนะนำแค่นั้นต่อบุคคลที่มีศรัทธาต่อเรา พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็แนะนำตามนี้ คือถ้าเขาไม่มีศรัทธาก็จักไม่แนะนำเลย
๔. เรื่องศีลระดับที่ ๓ ซึ่งท่านพระ.... นำมาพูด โดยอ้างว่าท่านฟังจากคำสอนของท่านฤๅษี แล้วนำมาพิจารณาและปฏิบัติตามจนได้ผลแล้ว ความว่า..
ศีลขั้นที่ ๑ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง เป็นการเอาศีลคุมกายให้เรียบร้อย
ศีลขั้นที่ ๒ ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล เป็นการเอาศีลคุมวาจาให้เรียบร้อย
ศีลขั้นที่ ๓ ไม่ยินดีด้วย เมื่อบุคคลอื่นได้ละเมิดศีลแล้ว เป็นการเอาศีลคุมใจให้เรียบร้อย
ถ้าหากทำได้สมบูรณ์ตามลำดับ จิตก็จักเข้าถึงอุเบกขา ไม่เดือดร้อนในกรรมของใคร ๆ จิตจักเยือกเย็นมาก มีความเคารพในกฎของกรรมสูงนั้น จุดนี้ถูกต้องแล้ว และเป็นจุดเดียวกับการที่ทำให้ไม่ไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จุดนี้พวกเจ้าสมควรพิจารณาและปฏิบัติตามท่านพระ... ให้มาก
๑. ให้ดูคำว่ากำลังใจเต็ม คือบารมี ๑๐ ประการ ได้รับการรักษาให้เต็มอยู่ในจิตครบทั้ง ๑๐ ประการหรือเปล่า นี่เป็นเพียงแค่บารมีต้น ๑๐ ประการ ลองสอบอารมณ์จิตดูว่า ยังพร่องหรือขาดข้อไหนบ้าง ขั้นแรกต้องให้เต็มอย่าพร่อง จนแน่ใจว่าทำได้ครบทั้ง ๑๐ บารมีแล้ว จึงค่อยก้าวเข้าสู่ขั้นที่สองคือ อุปบารมี และขั้นที่ ๓ ปรมัตถบารมีต่อไป
๒. การรับทานหรือการให้ทานก็ดี พึงดูบารมี ๑๐ ควบคู่ไปด้วยเสมอ จักทำให้การปฏิบัตินั้นเป็นการเจริญพระกรรมฐานไปในตัว เช่น อย่าขัดศรัทธาของผู้ให้ ใครจักให้สิ่งอันใดแก่เราก็จงรับไว้ก่อน แล้วค่อยพึงแจกจ่ายขยับขยายไปให้บุคคลอื่นต่อไปในภายหลัง และพึงวางอารมณ์ให้ถูก อย่าได้มีความพอใจหรือไม่พอใจของที่เขาให้ทั้งปวง จิตจักได้ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวไปด้วยกิเลส
๓. วันนี้เป็นวันสงกรานต์ (๑๔ เม.ย. ๒๕๓๙) มีคนมาวัดขอร่วมพักในห้องของเจ้า ก็ต้องวางกำลังใจให้สบาย หากมีคนต้องการสนทนาธรรมกับเจ้า ก็พึงให้ได้ตามที่ได้ปฏิบัติมา อย่าคิดว่าเป็นภาระหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ อย่าลืมการให้ธรรมะเป็นทานชนะทานทั้งปวง อย่าติดความสงบสุขในส่วนตนจนเกินไป พึงทำไปด้วยความเหมาะสม เราปฏิบัติได้แค่ไหนก็แนะนำแค่นั้นต่อบุคคลที่มีศรัทธาต่อเรา พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็แนะนำตามนี้ คือถ้าเขาไม่มีศรัทธาก็จักไม่แนะนำเลย
๔. เรื่องศีลระดับที่ ๓ ซึ่งท่านพระ.... นำมาพูด โดยอ้างว่าท่านฟังจากคำสอนของท่านฤๅษี แล้วนำมาพิจารณาและปฏิบัติตามจนได้ผลแล้ว ความว่า..
ศีลขั้นที่ ๑ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง เป็นการเอาศีลคุมกายให้เรียบร้อย
ศีลขั้นที่ ๒ ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล เป็นการเอาศีลคุมวาจาให้เรียบร้อย
ศีลขั้นที่ ๓ ไม่ยินดีด้วย เมื่อบุคคลอื่นได้ละเมิดศีลแล้ว เป็นการเอาศีลคุมใจให้เรียบร้อย
ถ้าหากทำได้สมบูรณ์ตามลำดับ จิตก็จักเข้าถึงอุเบกขา ไม่เดือดร้อนในกรรมของใคร ๆ จิตจักเยือกเย็นมาก มีความเคารพในกฎของกรรมสูงนั้น จุดนี้ถูกต้องแล้ว และเป็นจุดเดียวกับการที่ทำให้ไม่ไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จุดนี้พวกเจ้าสมควรพิจารณาและปฏิบัติตามท่านพระ... ให้มาก