ลัก...ยิ้ม
25-10-2011, 11:24
จิตมันฟุ้งอยู่ในสัญญา
เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น
หลวงพ่อฤๅษี กับ หลวงพ่อสิม ท่านมีเมตตาสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. จิตมันฟุ้งอยู่ในสัญญา คือความจำได้หมายรู้ แต่จิตมันชอบจำแต่ความเลวของผู้อื่นไม่ยอมวาง แล้วเก็บเอามาสร้างเป็นธรรมารมณ์ อันเป็นพิษภัยทำร้ายจิตของตนเองให้เศร้าหมอง เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น คิดถึงเรื่องคนโน้นคนนี้ไปเรื่อย จัดว่าขาดพรหมวิหาร ๔ สองข้อแรกคือ เมตตากับกรุณาจิตตนเอง การที่จิตของเอ็งไม่รวมตัวเป็นสมาธิได้ เพราะไม่ใช้กายวิเวก วจีวิเวก จิตวิเวก รวมตัวให้เป็นหนึ่ง (เอโกธัมโม) จึงจะเกิดสมาธิได้ ความจริงแล้วที่พึ่งอันสุดท้ายก็คือตัวเราเอง เราเป็นคน ๆ เดียวจริง ๆ กายเรา ปากเรา จิตเราทำความสงบรวมให้เป็นหนึ่งก็อยู่ที่เราคนเดียว จึงจะเจริญพระกรรมฐานได้ผล
๒. ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมาจิตก็เริ่มออกนอกตัว คิดแต่เรื่องของชาวบ้านทั้งสิ้น จัดเป็นอารมณ์หลง ฟุ้งเลวออกนอกตัว เป็นธัมเมา (ยังไม่ทันเสพของมึนเมา จิตก็เมาเสียแล้ว) จิตเลยไม่รวมตัวเป็นสมาธิ สาเหตุก็เพราะอ่อนอานาปานุสติ ลืมกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งเป็นคาถาเรียกจิต ทำจิตให้รวมตัวอยู่กับตัวได้ตลอดเวลา จิตก็สงบเย็นเป็นสุขได้
๓. จิตที่มีสมาธิไม่ทรงตัวเพราะอ่อนอานาปานุสติ มีผลทำให้สติ-สัมปชัญญะไม่ต่อเนื่อง พิจารณาอะไรก็ไม่ได้นาน ก็เลยฟุ้งซ่านออกนอกตัว ไปคิดเรื่องอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรม จัดว่าเป็นคนใจร้อน ขาดเมตตาบารมี ชอบจุดไฟเผาตนเองอยู่เสมอ และขาดขันติบารมีด้วย เพราะมีอะไรมากระทบเพียงเล็กน้อย (มีอุปสรรคเล็กน้อย) จิตก็หวั่นไหวไปตามสิ่งกระทบนั้น (ขาดการสำรวมอายตนะหรืออินทรีย์สังวรณ์) ท่านก็บอกว่า เอ็งนี่ไม่ได้เรื่องจริง ๆ เพราะขาดสมาธิ แล้วเรื่องที่คิดอยู่ในขณะนี้ พอมันผ่านไปแล้ว เอ็งรู้เรื่องหรือไม่ (เพื่อนของผมตอบว่า ยังรู้เรื่องอยู่) ท่านว่า นั่นซิ แล้วจะมาบอกว่าไม่มีสมาธิได้อย่างไร (เพื่อนผมก็ยอมรับ)
๔. ท่านอธิบายว่า มันเป็นสมาธิในสัญญา มิใช่สมาธิในปัญญา
เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น
หลวงพ่อฤๅษี กับ หลวงพ่อสิม ท่านมีเมตตาสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. จิตมันฟุ้งอยู่ในสัญญา คือความจำได้หมายรู้ แต่จิตมันชอบจำแต่ความเลวของผู้อื่นไม่ยอมวาง แล้วเก็บเอามาสร้างเป็นธรรมารมณ์ อันเป็นพิษภัยทำร้ายจิตของตนเองให้เศร้าหมอง เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น คิดถึงเรื่องคนโน้นคนนี้ไปเรื่อย จัดว่าขาดพรหมวิหาร ๔ สองข้อแรกคือ เมตตากับกรุณาจิตตนเอง การที่จิตของเอ็งไม่รวมตัวเป็นสมาธิได้ เพราะไม่ใช้กายวิเวก วจีวิเวก จิตวิเวก รวมตัวให้เป็นหนึ่ง (เอโกธัมโม) จึงจะเกิดสมาธิได้ ความจริงแล้วที่พึ่งอันสุดท้ายก็คือตัวเราเอง เราเป็นคน ๆ เดียวจริง ๆ กายเรา ปากเรา จิตเราทำความสงบรวมให้เป็นหนึ่งก็อยู่ที่เราคนเดียว จึงจะเจริญพระกรรมฐานได้ผล
๒. ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมาจิตก็เริ่มออกนอกตัว คิดแต่เรื่องของชาวบ้านทั้งสิ้น จัดเป็นอารมณ์หลง ฟุ้งเลวออกนอกตัว เป็นธัมเมา (ยังไม่ทันเสพของมึนเมา จิตก็เมาเสียแล้ว) จิตเลยไม่รวมตัวเป็นสมาธิ สาเหตุก็เพราะอ่อนอานาปานุสติ ลืมกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งเป็นคาถาเรียกจิต ทำจิตให้รวมตัวอยู่กับตัวได้ตลอดเวลา จิตก็สงบเย็นเป็นสุขได้
๓. จิตที่มีสมาธิไม่ทรงตัวเพราะอ่อนอานาปานุสติ มีผลทำให้สติ-สัมปชัญญะไม่ต่อเนื่อง พิจารณาอะไรก็ไม่ได้นาน ก็เลยฟุ้งซ่านออกนอกตัว ไปคิดเรื่องอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรม จัดว่าเป็นคนใจร้อน ขาดเมตตาบารมี ชอบจุดไฟเผาตนเองอยู่เสมอ และขาดขันติบารมีด้วย เพราะมีอะไรมากระทบเพียงเล็กน้อย (มีอุปสรรคเล็กน้อย) จิตก็หวั่นไหวไปตามสิ่งกระทบนั้น (ขาดการสำรวมอายตนะหรืออินทรีย์สังวรณ์) ท่านก็บอกว่า เอ็งนี่ไม่ได้เรื่องจริง ๆ เพราะขาดสมาธิ แล้วเรื่องที่คิดอยู่ในขณะนี้ พอมันผ่านไปแล้ว เอ็งรู้เรื่องหรือไม่ (เพื่อนของผมตอบว่า ยังรู้เรื่องอยู่) ท่านว่า นั่นซิ แล้วจะมาบอกว่าไม่มีสมาธิได้อย่างไร (เพื่อนผมก็ยอมรับ)
๔. ท่านอธิบายว่า มันเป็นสมาธิในสัญญา มิใช่สมาธิในปัญญา