ลัก...ยิ้ม
21-09-2011, 09:45
วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ
จักพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. “การรู้ตนเองว่ายังบกพร่องเรื่องสติสัมปชัญญะนั้น ก็เป็นธรรมดา เพราะอานาปานุสติของพวกเจ้านั้นยังไม่ทรงตัว ให้หมั่นกำหนดรู้เข้าไว้ แล้วให้ระลึกไว้เสมอว่า ในชีวิตของเรามีความปรารถนาอันใดสูงสุด” (ก็ตอบว่า พระนิพพาน)
๒. “ในเมื่อต้องการพระนิพพาน ก็จงมีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้เอาไว้ด้วยว่า ทำอย่างไรจึงจักก้าวถึงซึ่งพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ อย่าลืม..จักล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียรของเจ้าเองเป็นสำคัญ ธรรมอดีตก็เป็นธรรมอดีต รู้อนาคต รู้อดีต รู้ปัจจุบัน ให้เห็นตามความจริง แล้วอารมณ์จักมีความสุข เพราะไม่ดิ้นรนให้เกินไปจากความเป็นจริง ตถาคตกล่าวเพียงสั้น ๆ แค่นี้ นำเอาไปคิดดูใคร่ครวญเอาเองก็แล้วกัน จักได้กำหนดอารมณ์พิจารณาธรรมดาได้ถูกในธรรมนั้น ๆ”
๓. “ถ้าเห็นธรรมดาหมดเมื่อไหร่ หรือทำจิตได้ ไม่ฝืนธรรมดาเลย เมื่อนั้นเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ เวลานี้ยังไม่ใช่ จึงมีอารมณ์ฝืนเป็นธรรมดา แต่ไม่ควรทิ้งอารมณ์พิจารณาตัวนี้ ให้ทำไปเรื่อย ๆ เพื่อจักเจริญธรรมอยู่ในจิตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกว่าจิตจักยอมรับนับถือกฎของธรรมดาอย่างจริงจัง”
๔. “ให้ย้อนพิจารณาคำสอนที่เคยสอนมาเอาไว้เสมอ ๆ ความละเอียดในธรรม จักเข้าใจกระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น เรื่องนี้ผู้ใดรู้จักบริโภค ผู้นั้นย่อมอิ่มเป็นธรรมดา ขี้เกียจหรือขยันก็อยู่ที่ตนเอง”
๕. “อนึ่ง ความหนักของจิตจักลดน้อยลง ถ้าหากคลายอารมณ์ของการเกาะติดอยู่ในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ เมื่อยามใดที่มีอารมณ์หนักใจ ให้ตรวจสอบหาสาเหตุของการที่ทำให้หนักใจ แก้ไขที่ตรงนั้น ให้พิจารณาไปจนถึงที่สุด ก็จักแก้ไขได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
จักพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. “การรู้ตนเองว่ายังบกพร่องเรื่องสติสัมปชัญญะนั้น ก็เป็นธรรมดา เพราะอานาปานุสติของพวกเจ้านั้นยังไม่ทรงตัว ให้หมั่นกำหนดรู้เข้าไว้ แล้วให้ระลึกไว้เสมอว่า ในชีวิตของเรามีความปรารถนาอันใดสูงสุด” (ก็ตอบว่า พระนิพพาน)
๒. “ในเมื่อต้องการพระนิพพาน ก็จงมีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้เอาไว้ด้วยว่า ทำอย่างไรจึงจักก้าวถึงซึ่งพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ อย่าลืม..จักล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียรของเจ้าเองเป็นสำคัญ ธรรมอดีตก็เป็นธรรมอดีต รู้อนาคต รู้อดีต รู้ปัจจุบัน ให้เห็นตามความจริง แล้วอารมณ์จักมีความสุข เพราะไม่ดิ้นรนให้เกินไปจากความเป็นจริง ตถาคตกล่าวเพียงสั้น ๆ แค่นี้ นำเอาไปคิดดูใคร่ครวญเอาเองก็แล้วกัน จักได้กำหนดอารมณ์พิจารณาธรรมดาได้ถูกในธรรมนั้น ๆ”
๓. “ถ้าเห็นธรรมดาหมดเมื่อไหร่ หรือทำจิตได้ ไม่ฝืนธรรมดาเลย เมื่อนั้นเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ เวลานี้ยังไม่ใช่ จึงมีอารมณ์ฝืนเป็นธรรมดา แต่ไม่ควรทิ้งอารมณ์พิจารณาตัวนี้ ให้ทำไปเรื่อย ๆ เพื่อจักเจริญธรรมอยู่ในจิตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกว่าจิตจักยอมรับนับถือกฎของธรรมดาอย่างจริงจัง”
๔. “ให้ย้อนพิจารณาคำสอนที่เคยสอนมาเอาไว้เสมอ ๆ ความละเอียดในธรรม จักเข้าใจกระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น เรื่องนี้ผู้ใดรู้จักบริโภค ผู้นั้นย่อมอิ่มเป็นธรรมดา ขี้เกียจหรือขยันก็อยู่ที่ตนเอง”
๕. “อนึ่ง ความหนักของจิตจักลดน้อยลง ถ้าหากคลายอารมณ์ของการเกาะติดอยู่ในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ เมื่อยามใดที่มีอารมณ์หนักใจ ให้ตรวจสอบหาสาเหตุของการที่ทำให้หนักใจ แก้ไขที่ตรงนั้น ให้พิจารณาไปจนถึงที่สุด ก็จักแก้ไขได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)