ลัก...ยิ้ม
25-08-2011, 09:30
ขันติบารมี
๑. “กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย แม้แต่กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังตามมาให้ผล สมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสเรื่องนี้ไว้ก่อนจะเข้าสู่ปรินิพพาน ในเรื่องกรรมจากน้ำขุ่น-น้ำใส พวกเจ้าคงยังจำกันได้”
๒. “ในอดีตพวกเจ้าทำกรรมไว้ ๒ อย่างทั้งกุศลและอกุศล แต่เป็นอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ กรรมตัวใดตามมาทันก็ย่อมให้ผล ไม่มากก็น้อย โดยหนีไม่พ้น ตราบใดที่ขันธ์ ๕ หรือร่างกายยังทรงอยู่ วิบากกรรมก็ย่อมเกิดกับร่างกายนั้นเป็นธรรมดา”
๓. “เรื่องวิบากกรรมของเจ้าก็ดี ของคุณหมอก็ดี ที่เกิดแล้วเกิดเล่าติดต่อกันมานานปีก็จากเหตุนี้ ยิ่งเป็นชาติสุดท้ายด้วยแล้ว มันก็พยายามทวงหนี้ให้ได้มากที่สุด จุดนี้คือขันติบารมี ที่จะต้องอดทน อดกลั้น และต้องทนให้ได้ด้วย เพราะเป็นชาติสุดท้ายแล้ว”
๔. “จุดนี้ต้องอาศัยปัญญาบารมี พิจารณาเข้าสู่อริยสัจ ให้เห็นทุกข์-เห็นโทษ-เห็นภัย จากการเกิดมามีร่างกาย ตราบใดที่ร่างกายยังไม่พังก็จำต้องพบกับมันเป็นธรรมดา ดังนั้นมรณานุสติควบอุปสมานุสติ จึงทิ้งไม่ได้จากจิต รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน ซักซ้อมเข้าไว้ให้จิตมันชินจนเป็นฌาน เอาจิตรอดเข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่าย ๆ ส่วนกายนั้นมันไม่มีทางรอดอยู่แล้ว พยายามอย่าไปสนใจมันให้มากนัก ทุกอย่างต้องเดินสายกลางจึงจะพ้นทุกข์ได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
๑. “กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย แม้แต่กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังตามมาให้ผล สมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสเรื่องนี้ไว้ก่อนจะเข้าสู่ปรินิพพาน ในเรื่องกรรมจากน้ำขุ่น-น้ำใส พวกเจ้าคงยังจำกันได้”
๒. “ในอดีตพวกเจ้าทำกรรมไว้ ๒ อย่างทั้งกุศลและอกุศล แต่เป็นอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ กรรมตัวใดตามมาทันก็ย่อมให้ผล ไม่มากก็น้อย โดยหนีไม่พ้น ตราบใดที่ขันธ์ ๕ หรือร่างกายยังทรงอยู่ วิบากกรรมก็ย่อมเกิดกับร่างกายนั้นเป็นธรรมดา”
๓. “เรื่องวิบากกรรมของเจ้าก็ดี ของคุณหมอก็ดี ที่เกิดแล้วเกิดเล่าติดต่อกันมานานปีก็จากเหตุนี้ ยิ่งเป็นชาติสุดท้ายด้วยแล้ว มันก็พยายามทวงหนี้ให้ได้มากที่สุด จุดนี้คือขันติบารมี ที่จะต้องอดทน อดกลั้น และต้องทนให้ได้ด้วย เพราะเป็นชาติสุดท้ายแล้ว”
๔. “จุดนี้ต้องอาศัยปัญญาบารมี พิจารณาเข้าสู่อริยสัจ ให้เห็นทุกข์-เห็นโทษ-เห็นภัย จากการเกิดมามีร่างกาย ตราบใดที่ร่างกายยังไม่พังก็จำต้องพบกับมันเป็นธรรมดา ดังนั้นมรณานุสติควบอุปสมานุสติ จึงทิ้งไม่ได้จากจิต รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน ซักซ้อมเข้าไว้ให้จิตมันชินจนเป็นฌาน เอาจิตรอดเข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่าย ๆ ส่วนกายนั้นมันไม่มีทางรอดอยู่แล้ว พยายามอย่าไปสนใจมันให้มากนัก ทุกอย่างต้องเดินสายกลางจึงจะพ้นทุกข์ได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)