ลัก...ยิ้ม
10-08-2011, 10:52
ปุจฉาและวิสัชนากับหลวงปู่ไวย
เพื่อให้เกิดปัญญา
ท่านพระสุรจิต ผมและเพื่อนของผมได้ไปกราบหลวงปู่ไวยที่ จ. สระบุรี และได้สนทนาธรรมกับท่าน ท่านก็เมตตาสอนให้มีความสำคัญ ดังนี้
๑. สงสัยว่าสัญญาหรือความจำนั้นเสื่อมเป็นอนิจจา แต่ผลของการปฏิบัติที่ได้แล้วนั้นไม่เสื่อมใช่ไหม ท่านตอบว่า “ความจำเสื่อม หมายความว่า ความจำใหม่ภายนอกมักจะลืม แต่ความจำภายในที่ได้แล้วไม่ลืม ของใหม่ที่เข้ามาต้องอาศัยการจดบันทึกไว้กันลืม เพราะธรรมนั้นเรายังปฏิบัติไม่ได้ หรือจิตยังไม่ถึงธรรมนั้น ซึ่งก็เป็นธรรมดาของกายสังขาร มันก็เสื่อมของมันตามธรรมดา (หลวงปู่ท่านว่า โยมจะถามอะไรก็ตาม ฉันก็ตอบให้เท่าที่รู้ มีโอกาสก็จงตักตวงเถิด ฉันให้ได้ไม่นานแล้ว ท่านบอกใบ้ว่าใกล้เวลาที่ท่านจะทิ้งขันธ์ ๕ แล้ว บันทึกไว้เมื่อ ๘ ก.ค. ๓๘)”
๒. ถาม ขณะนี้กายหลวงปู่ป่วย กำลังมีเวทนาอยู่ หลวงปู่วางอารมณ์จิตอย่างไร ตอบ “ให้ดูเวทนาของกายว่า เป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนั้น โดยไม่ปรุงแต่ง” ท่านให้ “เปรียบร่างกายเหมือนใบไม้ที่ผลิออกมาจากต้น จากใบอ่อนเจริญขึ้น ๆ จนกระทั่งเป็นใบแก่ แล้วก็ร่วงหล่นลงสู่พื้นเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ดูดกินไป แล้วก็ผลิใบออกมาใหม่อยู่อย่างนั้น เวทนาเป็นของคู่กับกายมานับชาติไม่ถ้วน เกิด-ตาย ๆ มันก็มีเวทนาทุกชาติ ถ้าเราไปมีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ มันก็ต้องกลับมาเกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วเกิด ให้ต้องพบกับร่างกายและเวทนาอย่างนี้อีก คนที่เขามีปัญญา ก็หาทางหนีไปให้พ้นจากการต้องกลับมามีร่างกาย โดยการกำหนดจิตดูเวทนาที่มันเกิดอย่างอดทน ดูมันไปจนถึงที่สุด แล้วจะเห็นว่ามันก็ต้องดับไปในที่สุด ธรรมดาของเวทนาเป็นอย่างนี้ คือให้วางเฉยเสีย หรืออุเบกขาเสีย”
๓. ถาม ถ้าจิตมีเวทนา จะวางอารมณ์จิตอย่างไร ตอบ “ถ้าจิตมีเวทนาอยู่ จิตก็ต้องไหวเป็นธรรมดา ให้สังเกตดูอารมณ์ไหวของจิตเสมือนน้ำที่อยู่ในแก้ว ซึ่งวางไว้ในที่สงบเพราะจิตยังไม่มีอะไรมากระทบ ต่อเมื่อมีลมพัดเบา ๆ น้ำก็ไหวน้อยเหมือนกระดาษย่น ถ้าลมพัดแรงน้ำก็ไหวมากเหมือนลูกคลื่นในทะเล คือให้ดูว่าไหวแค่ไหน อย่างไรก็ต้องรู้ หากสังขารยังไม่หมดปรุงแต่งก็ต้องฝืนดัดนิสัยของอารมณ์ ฝืนจิตให้มันพิจารณาธรรมที่มีอยู่ภายนอกทั่ว ๆ ไป ธรรมของพระพุทธเจ้าสอนมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง อยู่ที่เราไม่ค่อยจะดูให้เกิดปัญญา เช่น เดินออกไปข้างนอก นั่นดูลมว่ามันพัดต้องกาย ก็ให้รู้กิริยาของกายว่ามีเวทนาอย่างไร แต่พอลมสงบ กายไม่ถูกสัมผัสโดยลม จิตมีเวทนาอย่างไร คือให้เห็นการเกิดการดับของเวทนามันเป็นอย่างไร สำหรับเวทนาของจิตที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ต้องฝึกดัดนิสัยของอารมณ์”
๔. ถาม เมื่ออายตนะภายนอกมากระทบอายตนะภายในรู้ว่าจิตยังไหว แต่ยังห้ามมันไม่ได้ จุดนี้หลวงปู่ช่วยเมตตาสงเคราะห์แนะวิธีแก้ไขให้ด้วย ตอบ “ให้สังเกตลมหายใจ ตอนจิตไม่ไหวลมหายใจเป็นอย่างไร และเมื่อเกิดมีอารมณ์ ลมหายใจก็เปลี่ยน อย่างเกิดโทสะ ลมหายใจจะสั้น-ถี่และเร็วเข้า หัวใจเต้นแรงและเร็ว วิธีแก้เมื่อจิตไหวอยู่อย่างนั้น ก็ให้กำหนดชัดลมหายใจเข้ายาว ๆ เหมือนคนที่ถอนใจด้วยความกลุ้มใจ จุดนี้ก็จะระงับได้ มีผลทำให้โทสะคลายตัวลง ในด้านราคะ ในอดีตท่านก็ติดการแบ่งเพศ ว่านี่ผู้หญิง ผู้ชาย แต่ปัจจุบันท่านเห็นผู้หญิง-ผู้ชายเท่ากันหมด ไม่เห็นจะมีเพศไหนวิเศษกว่ากัน เพราะมันต้องกินแล้วก็ขี้-ก็เยี่ยวเหมือนกันหมด แล้วที่สุดก็ตายหมดเหมือนกัน ที่กายกับกายมันมีอะไรกัน เพราะอาศัยกามารมณ์ตัวเดียว กายจริง ๆ มันประกอบด้วยธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ สกปรก ไม่เที่ยง ถ้าไม่มีจิตมาคอยบงการมันก็ชอบกันไม่ได้
ส่วนใหญ่มักจะสอนให้กำหนดรู้ลม ดูลมและตามลม ซึ่งก็ถูกต้อง แต่ไม่สอนต่อไปจนถึงตัวปัญญา คือให้เห็นความไม่เที่ยงของลม ควบคู่กับอารมณ์ที่ไหวไปของจิต คนกินข้าวก็ต้องรู้ว่าอิ่มเป็นอย่างไร หิวมีเวทนาอย่างไร รู้จนกระทั่งกายสังขารมันเหนื่อย เพราะกินอาหารมากเกินไป ในอดีตท่านเคยจงกรมรอบโบสถ์ได้ ๑๐ รอบ ปัจจุบันแค่ ๕ รอบก็เหนื่อยต้องพัก จะต้องรู้ตัวมัชฌิมาของตนเองว่าอยู่ตรงไหน รู้ได้ที่จิตของตน ซึ่งมีพรหมวิหาร ๔ เต็มและทรงตัว
เพื่อให้เกิดปัญญา
ท่านพระสุรจิต ผมและเพื่อนของผมได้ไปกราบหลวงปู่ไวยที่ จ. สระบุรี และได้สนทนาธรรมกับท่าน ท่านก็เมตตาสอนให้มีความสำคัญ ดังนี้
๑. สงสัยว่าสัญญาหรือความจำนั้นเสื่อมเป็นอนิจจา แต่ผลของการปฏิบัติที่ได้แล้วนั้นไม่เสื่อมใช่ไหม ท่านตอบว่า “ความจำเสื่อม หมายความว่า ความจำใหม่ภายนอกมักจะลืม แต่ความจำภายในที่ได้แล้วไม่ลืม ของใหม่ที่เข้ามาต้องอาศัยการจดบันทึกไว้กันลืม เพราะธรรมนั้นเรายังปฏิบัติไม่ได้ หรือจิตยังไม่ถึงธรรมนั้น ซึ่งก็เป็นธรรมดาของกายสังขาร มันก็เสื่อมของมันตามธรรมดา (หลวงปู่ท่านว่า โยมจะถามอะไรก็ตาม ฉันก็ตอบให้เท่าที่รู้ มีโอกาสก็จงตักตวงเถิด ฉันให้ได้ไม่นานแล้ว ท่านบอกใบ้ว่าใกล้เวลาที่ท่านจะทิ้งขันธ์ ๕ แล้ว บันทึกไว้เมื่อ ๘ ก.ค. ๓๘)”
๒. ถาม ขณะนี้กายหลวงปู่ป่วย กำลังมีเวทนาอยู่ หลวงปู่วางอารมณ์จิตอย่างไร ตอบ “ให้ดูเวทนาของกายว่า เป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนั้น โดยไม่ปรุงแต่ง” ท่านให้ “เปรียบร่างกายเหมือนใบไม้ที่ผลิออกมาจากต้น จากใบอ่อนเจริญขึ้น ๆ จนกระทั่งเป็นใบแก่ แล้วก็ร่วงหล่นลงสู่พื้นเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ดูดกินไป แล้วก็ผลิใบออกมาใหม่อยู่อย่างนั้น เวทนาเป็นของคู่กับกายมานับชาติไม่ถ้วน เกิด-ตาย ๆ มันก็มีเวทนาทุกชาติ ถ้าเราไปมีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ มันก็ต้องกลับมาเกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วเกิด ให้ต้องพบกับร่างกายและเวทนาอย่างนี้อีก คนที่เขามีปัญญา ก็หาทางหนีไปให้พ้นจากการต้องกลับมามีร่างกาย โดยการกำหนดจิตดูเวทนาที่มันเกิดอย่างอดทน ดูมันไปจนถึงที่สุด แล้วจะเห็นว่ามันก็ต้องดับไปในที่สุด ธรรมดาของเวทนาเป็นอย่างนี้ คือให้วางเฉยเสีย หรืออุเบกขาเสีย”
๓. ถาม ถ้าจิตมีเวทนา จะวางอารมณ์จิตอย่างไร ตอบ “ถ้าจิตมีเวทนาอยู่ จิตก็ต้องไหวเป็นธรรมดา ให้สังเกตดูอารมณ์ไหวของจิตเสมือนน้ำที่อยู่ในแก้ว ซึ่งวางไว้ในที่สงบเพราะจิตยังไม่มีอะไรมากระทบ ต่อเมื่อมีลมพัดเบา ๆ น้ำก็ไหวน้อยเหมือนกระดาษย่น ถ้าลมพัดแรงน้ำก็ไหวมากเหมือนลูกคลื่นในทะเล คือให้ดูว่าไหวแค่ไหน อย่างไรก็ต้องรู้ หากสังขารยังไม่หมดปรุงแต่งก็ต้องฝืนดัดนิสัยของอารมณ์ ฝืนจิตให้มันพิจารณาธรรมที่มีอยู่ภายนอกทั่ว ๆ ไป ธรรมของพระพุทธเจ้าสอนมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง อยู่ที่เราไม่ค่อยจะดูให้เกิดปัญญา เช่น เดินออกไปข้างนอก นั่นดูลมว่ามันพัดต้องกาย ก็ให้รู้กิริยาของกายว่ามีเวทนาอย่างไร แต่พอลมสงบ กายไม่ถูกสัมผัสโดยลม จิตมีเวทนาอย่างไร คือให้เห็นการเกิดการดับของเวทนามันเป็นอย่างไร สำหรับเวทนาของจิตที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ต้องฝึกดัดนิสัยของอารมณ์”
๔. ถาม เมื่ออายตนะภายนอกมากระทบอายตนะภายในรู้ว่าจิตยังไหว แต่ยังห้ามมันไม่ได้ จุดนี้หลวงปู่ช่วยเมตตาสงเคราะห์แนะวิธีแก้ไขให้ด้วย ตอบ “ให้สังเกตลมหายใจ ตอนจิตไม่ไหวลมหายใจเป็นอย่างไร และเมื่อเกิดมีอารมณ์ ลมหายใจก็เปลี่ยน อย่างเกิดโทสะ ลมหายใจจะสั้น-ถี่และเร็วเข้า หัวใจเต้นแรงและเร็ว วิธีแก้เมื่อจิตไหวอยู่อย่างนั้น ก็ให้กำหนดชัดลมหายใจเข้ายาว ๆ เหมือนคนที่ถอนใจด้วยความกลุ้มใจ จุดนี้ก็จะระงับได้ มีผลทำให้โทสะคลายตัวลง ในด้านราคะ ในอดีตท่านก็ติดการแบ่งเพศ ว่านี่ผู้หญิง ผู้ชาย แต่ปัจจุบันท่านเห็นผู้หญิง-ผู้ชายเท่ากันหมด ไม่เห็นจะมีเพศไหนวิเศษกว่ากัน เพราะมันต้องกินแล้วก็ขี้-ก็เยี่ยวเหมือนกันหมด แล้วที่สุดก็ตายหมดเหมือนกัน ที่กายกับกายมันมีอะไรกัน เพราะอาศัยกามารมณ์ตัวเดียว กายจริง ๆ มันประกอบด้วยธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ สกปรก ไม่เที่ยง ถ้าไม่มีจิตมาคอยบงการมันก็ชอบกันไม่ได้
ส่วนใหญ่มักจะสอนให้กำหนดรู้ลม ดูลมและตามลม ซึ่งก็ถูกต้อง แต่ไม่สอนต่อไปจนถึงตัวปัญญา คือให้เห็นความไม่เที่ยงของลม ควบคู่กับอารมณ์ที่ไหวไปของจิต คนกินข้าวก็ต้องรู้ว่าอิ่มเป็นอย่างไร หิวมีเวทนาอย่างไร รู้จนกระทั่งกายสังขารมันเหนื่อย เพราะกินอาหารมากเกินไป ในอดีตท่านเคยจงกรมรอบโบสถ์ได้ ๑๐ รอบ ปัจจุบันแค่ ๕ รอบก็เหนื่อยต้องพัก จะต้องรู้ตัวมัชฌิมาของตนเองว่าอยู่ตรงไหน รู้ได้ที่จิตของตน ซึ่งมีพรหมวิหาร ๔ เต็มและทรงตัว