ลัก...ยิ้ม
08-07-2011, 09:16
จักทำอะไรก็ตาม ให้คิดว่าจักทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑) “จักทำอะไรก็ตามให้คิดถึงว่า จักทำเพื่อพระนิพพาน เพราะฉะนั้นกาย วาจา ใจ จักทำอะไรลงไป ให้ตรวจสอบดูว่า ใช่ทำเพื่อพระนิพพานหรือไม่”
๒) “การคิด การพูด การกระทำนั้น เป็นโลกียวิสัย หรือเป็นโลกุตรวิสัย จักต้องตรวจสอบกรรมของตนเองเอาไว้อยู่เสมอ ว่าการกระทำนั้นเป็นไปเพื่อโลกุตระหรือโลกียวิสัย จุดนี้จักต้องกำหนดรู้ด้วย อย่าทำลืม..จุดนี้มีความสำคัญมาก”
๓) “ตรวจสอบดูการกระทำของกาย วาจา ใจ เป็นที่ขัดต่อศีล สมาธิ ปัญญาหรือไม่ หากกำหนดรู้อยู่เนืองนิตย์ จิตก็จักไม่มีความประมาท ความเผลอในศีล สมาธิ ปัญญาก็จักลดน้อยลง”
๔) “ให้ระวังจนถึงที่สุดด้วยการตรวจสอบกรรม คือ การกระทำของกาย วาจา ใจ ในที่สุดก็ถึงจุดวิมุตติได้ อันเป็นจุดหมายปลายทางของพระนิพพานที่มุ่งหวังไว้”
(หากทุกครั้งที่เราทำกรรมดี แล้วใช้อธิษฐานบารมีให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ เราขอทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว หากทำจนจิตชินในอธิษฐานบารมีเช่นนี้แล้ว บารมีข้อนี้ก็เต็มได้ มีผลทำให้บารมีอีก ๙ ข้อเต็มตาม จึงเสมือนหนึ่งการตัดอวิชชาหรือสังโยชน์ข้อที่ ๑๐ เลย คือ อุปสมานุสตินั่นเอง)
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑) “จักทำอะไรก็ตามให้คิดถึงว่า จักทำเพื่อพระนิพพาน เพราะฉะนั้นกาย วาจา ใจ จักทำอะไรลงไป ให้ตรวจสอบดูว่า ใช่ทำเพื่อพระนิพพานหรือไม่”
๒) “การคิด การพูด การกระทำนั้น เป็นโลกียวิสัย หรือเป็นโลกุตรวิสัย จักต้องตรวจสอบกรรมของตนเองเอาไว้อยู่เสมอ ว่าการกระทำนั้นเป็นไปเพื่อโลกุตระหรือโลกียวิสัย จุดนี้จักต้องกำหนดรู้ด้วย อย่าทำลืม..จุดนี้มีความสำคัญมาก”
๓) “ตรวจสอบดูการกระทำของกาย วาจา ใจ เป็นที่ขัดต่อศีล สมาธิ ปัญญาหรือไม่ หากกำหนดรู้อยู่เนืองนิตย์ จิตก็จักไม่มีความประมาท ความเผลอในศีล สมาธิ ปัญญาก็จักลดน้อยลง”
๔) “ให้ระวังจนถึงที่สุดด้วยการตรวจสอบกรรม คือ การกระทำของกาย วาจา ใจ ในที่สุดก็ถึงจุดวิมุตติได้ อันเป็นจุดหมายปลายทางของพระนิพพานที่มุ่งหวังไว้”
(หากทุกครั้งที่เราทำกรรมดี แล้วใช้อธิษฐานบารมีให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ เราขอทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว หากทำจนจิตชินในอธิษฐานบารมีเช่นนี้แล้ว บารมีข้อนี้ก็เต็มได้ มีผลทำให้บารมีอีก ๙ ข้อเต็มตาม จึงเสมือนหนึ่งการตัดอวิชชาหรือสังโยชน์ข้อที่ ๑๐ เลย คือ อุปสมานุสตินั่นเอง)
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)