ลัก...ยิ้ม
23-06-2011, 11:19
กลัวทุกชนิดล้วนเป็นสักกายทิฏฺฐิทั้งสิ้น
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “ขึ้นชื่อว่ากลัว เช่น กลัวอด ก็คือกลัวตาย กลัวเจ็บ ก็คือกลัวตาย กลัวหนาว กลัวร้อน ก็คือกลัวตาย”
๒. “ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่สักกายทิฏฐิตัวเดียว ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องของจิต” (กายกับเวทนาเป็นเรื่องทุกข์ของกาย หาใช่เรา หาใช่ของเราไม่)
๓. “ต้นเหตุเพราะจิตของเจ้าไปติดในกาย เกาะความรู้สึกว่ากายนี้มีในเรา เรามีในกาย เมื่อกายเป็นอะไรก็ทนไม่ไหว จิตเกาะทุกข์จนลืมกำหนดรู้ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่มีในกาย แล้วพิจารณาโดยอริยสัจ รู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย”
๔. “การมีขันธ์ ๕ ทรงอยู่นั้นเป็นทุกข์ เพราะเราฝืนบังคับมันไม่ได้ดังใจนึก ถ้าจะเปรียบเป็นการเจริญกรรมฐาน การยืนนาน เดินนาน นั่งนาน นอนนาน ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากกว่าเป็นคุณ” (ล้วนเป็นอารมณ์หลงหรือโมหะทั้งสิ้น)
๕. "การล่วงรู้อิริยาบถบรรพในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับจุดนี้ การมีสติกำหนดรู้อิริยาบถบรรพ เพื่อจักได้รู้หลักมัชฌิมาปฏิปทาของร่างกายที่เคลื่อนไหวไปในทุก ๆ สถาน ทุก ๆ เวลา รู้ความเหมาะสม ความพอดีของอิริยาบถของร่างกาย มีความยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไม่เบียดเบียน ไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเอง และไม่เป็นที่เบียดเบียนผู้อื่น ตัวอย่าง บางคนนั่งนานอัมพาตกิน นี่เบียดเบียนตนเอง และทำให้คนข้างเคียงหรือคนใกล้กันจักต้องมาคอยปฐมพยาบาล นี่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น อย่างนี้ก็ไม่เป็นการสมควรเพราะเกินพอดีไป"(ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนาน ๆ ที่ซอยสายลม เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “ขึ้นชื่อว่ากลัว เช่น กลัวอด ก็คือกลัวตาย กลัวเจ็บ ก็คือกลัวตาย กลัวหนาว กลัวร้อน ก็คือกลัวตาย”
๒. “ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่สักกายทิฏฐิตัวเดียว ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องของจิต” (กายกับเวทนาเป็นเรื่องทุกข์ของกาย หาใช่เรา หาใช่ของเราไม่)
๓. “ต้นเหตุเพราะจิตของเจ้าไปติดในกาย เกาะความรู้สึกว่ากายนี้มีในเรา เรามีในกาย เมื่อกายเป็นอะไรก็ทนไม่ไหว จิตเกาะทุกข์จนลืมกำหนดรู้ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่มีในกาย แล้วพิจารณาโดยอริยสัจ รู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย”
๔. “การมีขันธ์ ๕ ทรงอยู่นั้นเป็นทุกข์ เพราะเราฝืนบังคับมันไม่ได้ดังใจนึก ถ้าจะเปรียบเป็นการเจริญกรรมฐาน การยืนนาน เดินนาน นั่งนาน นอนนาน ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากกว่าเป็นคุณ” (ล้วนเป็นอารมณ์หลงหรือโมหะทั้งสิ้น)
๕. "การล่วงรู้อิริยาบถบรรพในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับจุดนี้ การมีสติกำหนดรู้อิริยาบถบรรพ เพื่อจักได้รู้หลักมัชฌิมาปฏิปทาของร่างกายที่เคลื่อนไหวไปในทุก ๆ สถาน ทุก ๆ เวลา รู้ความเหมาะสม ความพอดีของอิริยาบถของร่างกาย มีความยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไม่เบียดเบียน ไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเอง และไม่เป็นที่เบียดเบียนผู้อื่น ตัวอย่าง บางคนนั่งนานอัมพาตกิน นี่เบียดเบียนตนเอง และทำให้คนข้างเคียงหรือคนใกล้กันจักต้องมาคอยปฐมพยาบาล นี่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น อย่างนี้ก็ไม่เป็นการสมควรเพราะเกินพอดีไป"(ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนาน ๆ ที่ซอยสายลม เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)