PDA

View Full Version : อารมณ์นี้สำคัญมาก คิดอย่างไรก็ไปตามนั้น


ลัก...ยิ้ม
18-05-2011, 09:11
อารมณ์นี้สำคัญมาก คิดอย่างไรก็ไปตามนั้น

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ความสำคัญดังนี้

๑. “การปฏิบัติธรรมอย่าทำแบบรวบรัดส่งเดช จักต้องรู้จุดหมายปลายทางของอริยสัจด้วย เพราะทุกอย่างมีเหตุมีผลรองรับอยู่ในตัวเสร็จ อย่าทำแบบผักชีโรยหน้า การเจริญสมถะวิปัสสนาก็เช่นกัน ต้องตั้งใจภาวนา ตั้งใจคิดให้จบลงเป็นตอน ๆ เกาะหลักอริยสัจเข้าไว้ จิตก็จักสงบลงเป็นระยะ ๆ มีเวลาก็คิดยาว ไม่มีเวลาก็คิดสั้น ๆ สรุปลงในอริยสัจเสมอ ๆ”

๒. “พยายามหาสนามบินลงทุกครั้ง อย่าปล่อยให้เครื่องบินมันค้างอยู่บนอากาศ ส่วนใหญ่พอความคิดของวิปัสสนาขาดตอน ก็ขาดตอนไปเลย คือลืมไปเลยว่าตะกี้คิดอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่ หรือไม่ก็ปล่อยให้เครื่องดับ เครื่องบินก็ตกไปเสียแล้ว กู้ไม่ขึ้น อย่างนี้เป็นต้น”

๓. “เมื่อจิตทำงานทางธรรมได้ไม่สม่ำเสมอ เพราะจิตขาดสันตติธรรมนั่นเอง คือจิตขี้เกียจติดตามความดี แต่จิตกลับขยันติดตามความชั่วมีมาก ไม่ยอมปล่อยวางอดีต มีอารมณ์ขี้เก็บ (ของไม่ดี-ของเหม็น ๆ ชอบ) หรือเก็บขี้”

๔. “การปฏิบัติทำทีเดียวถึงกันหมด มิใช่จักอานาปาพอเริ่มคล่องก็ทิ้งไปจับอิริยาบถ พอเริ่มคล่องก็ทิ้งไปจับนวสี เป็นการทำทิ้งทำขว้าง เหมือนคนเปลี่ยนงานอยู่เรื่อย ทำอะไรไม่เสร็จสักที”

๕. “อารมณ์นี้สำคัญมาก คิดอย่างไรก็ไปตามนั้น หากเป็นผู้ไม่ประมาทในความตาย ก็ต้องมีสติกำหนดรู้อารมณ์ของตนไว้เสมอว่า รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน ก็เข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่าย ๆ เหตุก็เพราะจิตมีสภาพจำ เมื่อให้เขารู้อะไร เขาก็เร็วไปตามนั้น เพราะจิตไม่มีเวลาเป็นอกาลิโก ความตายนั้นเที่ยง แต่ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ก่อนตายก็ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย อาจตายได้ทุก ๆ ขณะจิต ผู้ไม่ประมาทในความตาย จึงซ้อมตายและพร้อมตายอยู่เสมอ ด้วยอุบายสั้น ๆ ว่า รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน ซ้อมจนจิตชินเป็นฌาน เอาจิตเข้าสู่พระนิพพานได้ ทุก ๆ ขณะจิตเช่นกัน”

๖. “เพราะฉะนั้น จงอย่าประมาทในอารมณ์ ธรรมใดที่ไม่ใช่เพื่อมรรคผลนิพพาน ก็จงหมั่นตัดสลัดทิ้งไปจากอารมณ์ขณะจิตของธรรมปัจจุบัน”


(หมายเหตุ ผู้ใดที่เลี้ยงสัตว์ จิตย่อมรักสัตว์ที่ตนเลี้ยงเป็นธรรมดา จงอย่าประมาทในอารมณ์ เพราะก่อนตายจิตเกาะอะไรก็ไปตามนั้น จิตเกาะสัตว์ที่เลี้ยงก็ไปเกิดเป็นสัตว์ที่เลี้ยง ประมาทที่จุดนี้ ต้องปิดนรกหรืออบายภูมิ ๔ ให้ได้ก่อน)


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)