ลัก...ยิ้ม
09-05-2011, 11:04
ธรรมในโลกเที่ยงมีไหม
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. ทรงตรัสถามว่า “ธรรมในโลกเที่ยงมีไหม” (ตอบว่า ไม่มี)
๒. ทรงตรัสว่า “มี ความเที่ยงในโลกก็คือธรรมไม่เที่ยงนั้นเป็นปกติธรรม เช่น ขันธโลกของคน ซึ่งมีความแปรปรวนอยู่เป็นปกติตามนั้น เราไม่อยากเจ็บ ไม่อยากป่วย แต่มันก็ต้องเจ็บต้องป่วยอยู่ตามธรรมนั้น ธาตุ ๔ ที่ประชุมกันขึ้นมาเป็นร่างกายนี้ มันก็ต้องมีการแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา การเจ็บป่วยก็เพราะกรรมปาณาติบาตอันตนทำไว้เองแต่ในอดีตหนหลัง บางท่านไม่เจ็บไม่ป่วยเพราะกรรมปาณาติบาตน้อย อย่างท่านพระสีวลีในกัปนี้ แต่ท่านก็เป็นโรคธาตุ ๔ พร่องอยู่เป็นนิจ ให้เป็นภาระที่ต้องรักษาทุกวันเหมือนกัน คือ โรคชิคัจฉา ปรมาโรคา (โรคหิว) จึงจักเห็นได้ว่าทุกคนที่มีร่างกายหนีโรคกันไปไม่พ้น ตั้งแต่พระบรมศาสดาลงมายันยาจกเข็ญใจ มีโรคเนื่องด้วยกายเหมือนกันหมด (ดังนั้น อโรคยา ปรมาลาภา การไม่มีโรคทางร่างกายจึงไม่มีใครหนีพ้น เพราะเป็นสัจธรรม ทรงหมายถึงโรคทางใจเป็นสำคัญ)
๓. “เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น กรรมเหล่านี้ใครทำ เราต่างเป็นผู้กระทำเอาไว้เอง กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เหตุที่ทำให้เกิดกรรมตัวนี้ คือ จิตของตนมีความทะยานอยาก อยากในการมีร่างกาย นิวรณ์ ๕ คือ กิเลสหยาบที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง จิตโง่หลงผิดคิดอยากในการมีร่างกาย กามคุณ ๕ จึงเกิดขึ้นได้ตามอายตนะสัมผัส จิตติดในสัมผัสอันเป็นกามคุณนั้น ๆ รูปดี เสียงดี รสดี กลิ่นดี สัมผัสระหว่างเพศดี จุดนี้เป็นเหตุให้จิตมีกามเป็นเครื่องนำโคจรจุติหาภพหาชาติไม่มีที่สิ้นสุด และขณะเดียวกัน รูปไม่ดี รสไม่ดี กลิ่นไม่ดี เสียงไม่ดี สัมผัสระหว่างเพศไม่ดี จุดนี้เป็นเหตุให้จิตมีปฏิฆะ เป็นเครื่องนำโคจรจุติหาภพหาชาติไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน”
๔. “ถีนมิทธะ เกิดขึ้นก็เนื่องด้วยร่างกายเช่นกัน นั่นเป็นธรรมเบื้องสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง จึงยังไม่ขอกล่าวให้ละเอียดในที่นี้ อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งก็เช่นกัน ความสงสัย (วิจิกิจฉา) ในธรรมก็เช่นกัน จักยังไม่กล่าวในที่นี้ จะเอาแค่นิวรณ์เบื้องต้น ๒ ข้อเป็นเกณฑ์ที่พวกเจ้าจักต้องพิจารณา พยายามนำจิตให้หลุดจากนิวรณ์ (กามคุณ ๕) คือหลุดจากราคะและปฏิฆะ อันเป็นตัวนำจิตให้ต้องจุตินั้น”
๕. “และเป็นการถูกต้อง ที่เจ้าคิดว่าการสอนให้พิจารณาพรหมวิหาร ๔ ควบกับอายตนะสัมผัสภายในและภายนอก ก็คือการสอนเทียบเคียงกับมหาสติปัฏฐานสูตร ว่ากันตั้งแต่อานาปาบรรพ กายบรรพ การรู้ทุก ๆ อายตนะสัมผัส ก็รวมหมายถึงรู้อิริยาบถบรรพไปด้วย และรู้เวทนาบรรพ คือสัมผัสภายในทั้งหมด ไม่ว่าอะไรเกิดแก่ร่างกาย จิตจักต้องรู้ธรรมนั้น รู้สัมผัสภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็รู้ด้วย”
๖. “การเห็นปกติธรรมในธรรม คือจิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เมื่อรู้ทั้งธรรมภายในและธรรมภายนอก รู้อย่างมีสติสัมปชัญญะพร้อม ก็เป็นธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน สอนไปสอนมาก็วนอยู่ตรงนี้ เป็นกรรมฐาน ๔๐ ด้วย เป็นมหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ก็ธรรมอันเดียวกันนั่นแหละ”
๗. “เมื่อเจ้าเข้าใจแล้ว ทำได้หรือยัง” (ตอบว่า ยังทำไม่ได้) “ก็ใช่ เพราะถ้าทำได้ครบและตลอดเวลา พวกเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ เลยไม่ต้องสอนกันอีก นี่เพราะทำกันยังไม่จบ ก็ต้องสอนกันอยู่ต่อไปจนกว่าจักจบ แต่ถ้าผู้รับฟังแล้วไม่นำไปปฏิบัติ ผู้สอนก็จักไม่สอนอีก เพราะสอนเท่าไหร่ก็ไม่มีผล อย่าลืมนะฟังแล้วจำ จำแล้วนำไปปฏิบัติด้วย”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. ทรงตรัสถามว่า “ธรรมในโลกเที่ยงมีไหม” (ตอบว่า ไม่มี)
๒. ทรงตรัสว่า “มี ความเที่ยงในโลกก็คือธรรมไม่เที่ยงนั้นเป็นปกติธรรม เช่น ขันธโลกของคน ซึ่งมีความแปรปรวนอยู่เป็นปกติตามนั้น เราไม่อยากเจ็บ ไม่อยากป่วย แต่มันก็ต้องเจ็บต้องป่วยอยู่ตามธรรมนั้น ธาตุ ๔ ที่ประชุมกันขึ้นมาเป็นร่างกายนี้ มันก็ต้องมีการแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา การเจ็บป่วยก็เพราะกรรมปาณาติบาตอันตนทำไว้เองแต่ในอดีตหนหลัง บางท่านไม่เจ็บไม่ป่วยเพราะกรรมปาณาติบาตน้อย อย่างท่านพระสีวลีในกัปนี้ แต่ท่านก็เป็นโรคธาตุ ๔ พร่องอยู่เป็นนิจ ให้เป็นภาระที่ต้องรักษาทุกวันเหมือนกัน คือ โรคชิคัจฉา ปรมาโรคา (โรคหิว) จึงจักเห็นได้ว่าทุกคนที่มีร่างกายหนีโรคกันไปไม่พ้น ตั้งแต่พระบรมศาสดาลงมายันยาจกเข็ญใจ มีโรคเนื่องด้วยกายเหมือนกันหมด (ดังนั้น อโรคยา ปรมาลาภา การไม่มีโรคทางร่างกายจึงไม่มีใครหนีพ้น เพราะเป็นสัจธรรม ทรงหมายถึงโรคทางใจเป็นสำคัญ)
๓. “เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น กรรมเหล่านี้ใครทำ เราต่างเป็นผู้กระทำเอาไว้เอง กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เหตุที่ทำให้เกิดกรรมตัวนี้ คือ จิตของตนมีความทะยานอยาก อยากในการมีร่างกาย นิวรณ์ ๕ คือ กิเลสหยาบที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง จิตโง่หลงผิดคิดอยากในการมีร่างกาย กามคุณ ๕ จึงเกิดขึ้นได้ตามอายตนะสัมผัส จิตติดในสัมผัสอันเป็นกามคุณนั้น ๆ รูปดี เสียงดี รสดี กลิ่นดี สัมผัสระหว่างเพศดี จุดนี้เป็นเหตุให้จิตมีกามเป็นเครื่องนำโคจรจุติหาภพหาชาติไม่มีที่สิ้นสุด และขณะเดียวกัน รูปไม่ดี รสไม่ดี กลิ่นไม่ดี เสียงไม่ดี สัมผัสระหว่างเพศไม่ดี จุดนี้เป็นเหตุให้จิตมีปฏิฆะ เป็นเครื่องนำโคจรจุติหาภพหาชาติไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน”
๔. “ถีนมิทธะ เกิดขึ้นก็เนื่องด้วยร่างกายเช่นกัน นั่นเป็นธรรมเบื้องสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง จึงยังไม่ขอกล่าวให้ละเอียดในที่นี้ อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งก็เช่นกัน ความสงสัย (วิจิกิจฉา) ในธรรมก็เช่นกัน จักยังไม่กล่าวในที่นี้ จะเอาแค่นิวรณ์เบื้องต้น ๒ ข้อเป็นเกณฑ์ที่พวกเจ้าจักต้องพิจารณา พยายามนำจิตให้หลุดจากนิวรณ์ (กามคุณ ๕) คือหลุดจากราคะและปฏิฆะ อันเป็นตัวนำจิตให้ต้องจุตินั้น”
๕. “และเป็นการถูกต้อง ที่เจ้าคิดว่าการสอนให้พิจารณาพรหมวิหาร ๔ ควบกับอายตนะสัมผัสภายในและภายนอก ก็คือการสอนเทียบเคียงกับมหาสติปัฏฐานสูตร ว่ากันตั้งแต่อานาปาบรรพ กายบรรพ การรู้ทุก ๆ อายตนะสัมผัส ก็รวมหมายถึงรู้อิริยาบถบรรพไปด้วย และรู้เวทนาบรรพ คือสัมผัสภายในทั้งหมด ไม่ว่าอะไรเกิดแก่ร่างกาย จิตจักต้องรู้ธรรมนั้น รู้สัมผัสภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็รู้ด้วย”
๖. “การเห็นปกติธรรมในธรรม คือจิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เมื่อรู้ทั้งธรรมภายในและธรรมภายนอก รู้อย่างมีสติสัมปชัญญะพร้อม ก็เป็นธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน สอนไปสอนมาก็วนอยู่ตรงนี้ เป็นกรรมฐาน ๔๐ ด้วย เป็นมหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ก็ธรรมอันเดียวกันนั่นแหละ”
๗. “เมื่อเจ้าเข้าใจแล้ว ทำได้หรือยัง” (ตอบว่า ยังทำไม่ได้) “ก็ใช่ เพราะถ้าทำได้ครบและตลอดเวลา พวกเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ เลยไม่ต้องสอนกันอีก นี่เพราะทำกันยังไม่จบ ก็ต้องสอนกันอยู่ต่อไปจนกว่าจักจบ แต่ถ้าผู้รับฟังแล้วไม่นำไปปฏิบัติ ผู้สอนก็จักไม่สอนอีก เพราะสอนเท่าไหร่ก็ไม่มีผล อย่าลืมนะฟังแล้วจำ จำแล้วนำไปปฏิบัติด้วย”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)