ลัก...ยิ้ม
03-05-2011, 11:32
ธรรมของพระองค์เป็นปัจจัตตัง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “ธรรมของตถาคตเป็นปัจจัตตัง ใครปฏิบัติถึงแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตนของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน ธรรมของใครก็ของผู้นั้น ทำแทนกันไม่ได้”
๒. “เมื่อเข้าใจธรรมในข้อแรกแล้ว ก็จะเข้าใจคำสอนที่ว่าธรรมของตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ หรือรู้ได้ด้วยตนเองเพียงครั้งเดียว ดีกว่ามีผู้อื่นมาบอกให้รู้ร้อยครั้งพันครั้ง”
๓. “ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้-เห็นไม่เหมือนกันตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก”
๔. “ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ ๔-๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด”
๕. “ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒ โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา (ธัมมวิจยะ) ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็นเอโกธัมโม”
๖. “ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานุสติควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระ จึงยังเอาดีกันไม่ได้”
๗. “ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ พอทำได้หรือพอสัมผัสได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิดความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ให้ผิดศีลอีกเป็นสีลานุสติ เพียรทำทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียวเป็นจาคานุสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็นเทวตานุสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเราทำร้ายจิตเราเองได้ทรงตัว ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน”
๘. ทรงตรัสว่า “การกำหนดรู้วาระจิตในทุก ๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้ จนกว่าจะปฏิบัติถึงแล้ว จึงจักเข้าใจเพราะธรรมเป็นปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง”
๙. “และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้ ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้ เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่งถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ” (จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)
๑๐. “นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึงอริยมรรค อริยผลเบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้นได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “ธรรมของตถาคตเป็นปัจจัตตัง ใครปฏิบัติถึงแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตนของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน ธรรมของใครก็ของผู้นั้น ทำแทนกันไม่ได้”
๒. “เมื่อเข้าใจธรรมในข้อแรกแล้ว ก็จะเข้าใจคำสอนที่ว่าธรรมของตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ หรือรู้ได้ด้วยตนเองเพียงครั้งเดียว ดีกว่ามีผู้อื่นมาบอกให้รู้ร้อยครั้งพันครั้ง”
๓. “ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้-เห็นไม่เหมือนกันตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก”
๔. “ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ ๔-๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด”
๕. “ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒ โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา (ธัมมวิจยะ) ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็นเอโกธัมโม”
๖. “ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานุสติควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระ จึงยังเอาดีกันไม่ได้”
๗. “ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ พอทำได้หรือพอสัมผัสได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิดความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ให้ผิดศีลอีกเป็นสีลานุสติ เพียรทำทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียวเป็นจาคานุสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็นเทวตานุสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเราทำร้ายจิตเราเองได้ทรงตัว ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน”
๘. ทรงตรัสว่า “การกำหนดรู้วาระจิตในทุก ๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้ จนกว่าจะปฏิบัติถึงแล้ว จึงจักเข้าใจเพราะธรรมเป็นปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง”
๙. “และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้ ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้ เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่งถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ” (จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)
๑๐. “นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึงอริยมรรค อริยผลเบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้นได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)