ลัก...ยิ้ม
16-03-2011, 10:21
เบียดเบียนผู้อื่นเห็นง่าย เบียดเบียนตนเองเห็นยาก
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้
๑. “เรื่องการเบียดเบียนจัดเป็นธรรมขั้นสูงในพรหมวิหาร ๔ ข้อแรก คือ เมตตา ความรักจักต้องรักตนเองก่อนอื่น เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลกนี้ก็คือตัวเราเอง ปุถุชนหลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา จึงเอาอกเอาใจร่างกายตนเอง ปรนเปรอตนเองจนเกินพอดี แต่กลับไม่ค่อยสนใจจิต ซึ่งความจริงก็คือตัวเราที่อาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น”
๒. “ขนาดสิ่งที่เรารักที่สุด เราก็ยังเบียดเบียนมันได้ แล้วผู้อื่น คนอื่น ทำไมเราจักเบียดเบียนเขาไม่ได้ ดังนั้นการเบียดเบียนผู้อื่นจึงทำได้ง่าย เห็นง่าย แต่ที่จะเห็นเบียดเบียนตนเองนั้นเห็นยาก รู้ตนเองยาก เพราะชอบเข้าข้างตนเองอยู่แล้ว”
๓. “จึงเป็นของธรรมดา เพราะการเห็นความเบียดเบียนของผู้อื่น นั่นเป็นการเห็นของปุถุชน ซึ่งผู้เห็นก็มักจักโทษบุคคลผู้มากระทำความเบียดเบียนต่อตนเองนั้น แต่การเห็นความเบียดเบียนตนเอง คือ การรู้กฎของกรรม รู้อารมณ์ที่เบียดเบียนตนเอง รู้กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุเป็นการรู้ของอริยชน จึงต่างกันที่ตรงนี้ จักให้เห็นเหมือน ๆ กันหมดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้”
ขอสรุปว่า ผู้ใดพิจารณาธรรมในธรรมเรื่องนี้ได้ด้วยตนเองแล้ว ก็จะรู้ธรรมในระดับเดียวกันได้หมด เช่น เรื่องตำหนิผู้อื่นนั้นง่าย แต่ตำหนิตนเองนั้นยาก, เรื่องทำชั่วนั้นทำง่าย แต่ทำดีนั้นทำยาก, เรื่องขี้เกียจนั้นทำง่าย ขยันนั้นทำยาก, เรื่องผู้อื่นมาบอกให้เรารู้ร้อยครั้งพันครั้ง ก็สู้เรารู้ด้วยตนเองครั้งเดียวไม่ได้ เป็นต้น
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้
๑. “เรื่องการเบียดเบียนจัดเป็นธรรมขั้นสูงในพรหมวิหาร ๔ ข้อแรก คือ เมตตา ความรักจักต้องรักตนเองก่อนอื่น เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลกนี้ก็คือตัวเราเอง ปุถุชนหลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา จึงเอาอกเอาใจร่างกายตนเอง ปรนเปรอตนเองจนเกินพอดี แต่กลับไม่ค่อยสนใจจิต ซึ่งความจริงก็คือตัวเราที่อาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น”
๒. “ขนาดสิ่งที่เรารักที่สุด เราก็ยังเบียดเบียนมันได้ แล้วผู้อื่น คนอื่น ทำไมเราจักเบียดเบียนเขาไม่ได้ ดังนั้นการเบียดเบียนผู้อื่นจึงทำได้ง่าย เห็นง่าย แต่ที่จะเห็นเบียดเบียนตนเองนั้นเห็นยาก รู้ตนเองยาก เพราะชอบเข้าข้างตนเองอยู่แล้ว”
๓. “จึงเป็นของธรรมดา เพราะการเห็นความเบียดเบียนของผู้อื่น นั่นเป็นการเห็นของปุถุชน ซึ่งผู้เห็นก็มักจักโทษบุคคลผู้มากระทำความเบียดเบียนต่อตนเองนั้น แต่การเห็นความเบียดเบียนตนเอง คือ การรู้กฎของกรรม รู้อารมณ์ที่เบียดเบียนตนเอง รู้กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุเป็นการรู้ของอริยชน จึงต่างกันที่ตรงนี้ จักให้เห็นเหมือน ๆ กันหมดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้”
ขอสรุปว่า ผู้ใดพิจารณาธรรมในธรรมเรื่องนี้ได้ด้วยตนเองแล้ว ก็จะรู้ธรรมในระดับเดียวกันได้หมด เช่น เรื่องตำหนิผู้อื่นนั้นง่าย แต่ตำหนิตนเองนั้นยาก, เรื่องทำชั่วนั้นทำง่าย แต่ทำดีนั้นทำยาก, เรื่องขี้เกียจนั้นทำง่าย ขยันนั้นทำยาก, เรื่องผู้อื่นมาบอกให้เรารู้ร้อยครั้งพันครั้ง ก็สู้เรารู้ด้วยตนเองครั้งเดียวไม่ได้ เป็นต้น
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)