ลัก...ยิ้ม
09-03-2011, 09:16
ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตน
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. กิจ ๒ ประการที่ต้องจำไว้ให้ดี ๆ คือ เรื่องกิจของงานทางโลกให้ทำไปเรื่อย ๆ ในทางสายกลาง ใครจักว่าอย่างไรก็ช่างเขา ให้ถือเอาเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลักสำคัญ กับเรื่องกิจของงานทางธรรมซึ่งทำที่จิตเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย เป็นชาติสุดท้ายในทางสายกลางเช่นกัน
๒. เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดี ถ้าระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้นในจิตได้เพียงประการเดียว ความดีก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่ายเพียงแต่บังคับจิตให้คิดอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรือมหาสติปัฏฐาน ๔ กองใดกองหนึ่ง ก็ย่อมได้ตลอดเวลา สำคัญคือต้องใช้อารมณ์ให้เป็นมวย ต้องรู้เท่าทัน มีชั้นเชิงชกให้เป็น
๓. การต่อสู้กับกิเลส มิใช่จักมานั่งประมาทเฉย ๆ นั้นก็ชนะกิเลสไม่ได้ จักต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย โดยใช้จริตหกนั่นแหละเป็นอาวุธ หากใช้เป็นผลที่ได้รับก็คือมีแต่ชัยชนะลูกเดียว
๔. อย่าสนใจร่างกายจนเกินพอดี บางคนห่วงกาย ปรนเปรอร่างกายจนเกินพอดี เป็นการเพิ่มสักกายทิฏฐิ มิใช่ลดสักกายทิฏฐิ แต่บางคนก็ไร้ปัญญา เบียดเบียนร่างกายจนเกินไป แม้กายจักหิว-กระหายก็ไม่ให้กิน ไม่ให้ดื่ม ทั้ง ๆ ที่พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย (เภสัชทั้ง ๕ มีนมสด, นมส้มหรือนมเปรี้ยว, เนยแข็ง, เนยเหลว คือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์, น้ำผึ้ง-น้ำอ้อย-น้ำผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)
๕. บางคนป่วยแต่ไม่ยอมรับการรักษา คิดว่าตนเองทนสู้โรคได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นความโง่ หลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นี่ตถาคตมิได้ตรัสเพื่อให้พวกเจ้าไปตำหนิพระ เพียงแต่ตรัสเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่พวกเจ้า ให้รู้เท่าทันสภาวะของร่างกายตามปกติ อย่าฝืนโรคจนเกิดเป็นภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่ร่างกายมันยังทรงชีวิตอยู่ ให้รู้จักรักษาร่างกายไว้ เพื่อไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้มากจนเกินไป
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. กิจ ๒ ประการที่ต้องจำไว้ให้ดี ๆ คือ เรื่องกิจของงานทางโลกให้ทำไปเรื่อย ๆ ในทางสายกลาง ใครจักว่าอย่างไรก็ช่างเขา ให้ถือเอาเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลักสำคัญ กับเรื่องกิจของงานทางธรรมซึ่งทำที่จิตเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย เป็นชาติสุดท้ายในทางสายกลางเช่นกัน
๒. เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดี ถ้าระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้นในจิตได้เพียงประการเดียว ความดีก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่ายเพียงแต่บังคับจิตให้คิดอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรือมหาสติปัฏฐาน ๔ กองใดกองหนึ่ง ก็ย่อมได้ตลอดเวลา สำคัญคือต้องใช้อารมณ์ให้เป็นมวย ต้องรู้เท่าทัน มีชั้นเชิงชกให้เป็น
๓. การต่อสู้กับกิเลส มิใช่จักมานั่งประมาทเฉย ๆ นั้นก็ชนะกิเลสไม่ได้ จักต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย โดยใช้จริตหกนั่นแหละเป็นอาวุธ หากใช้เป็นผลที่ได้รับก็คือมีแต่ชัยชนะลูกเดียว
๔. อย่าสนใจร่างกายจนเกินพอดี บางคนห่วงกาย ปรนเปรอร่างกายจนเกินพอดี เป็นการเพิ่มสักกายทิฏฐิ มิใช่ลดสักกายทิฏฐิ แต่บางคนก็ไร้ปัญญา เบียดเบียนร่างกายจนเกินไป แม้กายจักหิว-กระหายก็ไม่ให้กิน ไม่ให้ดื่ม ทั้ง ๆ ที่พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย (เภสัชทั้ง ๕ มีนมสด, นมส้มหรือนมเปรี้ยว, เนยแข็ง, เนยเหลว คือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์, น้ำผึ้ง-น้ำอ้อย-น้ำผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)
๕. บางคนป่วยแต่ไม่ยอมรับการรักษา คิดว่าตนเองทนสู้โรคได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นความโง่ หลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นี่ตถาคตมิได้ตรัสเพื่อให้พวกเจ้าไปตำหนิพระ เพียงแต่ตรัสเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่พวกเจ้า ให้รู้เท่าทันสภาวะของร่างกายตามปกติ อย่าฝืนโรคจนเกิดเป็นภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่ร่างกายมันยังทรงชีวิตอยู่ ให้รู้จักรักษาร่างกายไว้ เพื่อไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้มากจนเกินไป