ลัก...ยิ้ม
08-03-2011, 11:02
ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจตนเอง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. “ให้เก็บแต่สิ่งที่ดี สำหรับสิ่งเลว ๆ จงตัดทิ้งไป วางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดา”
๒. “กระทบกับสิ่งใด แล้วรู้ว่าไม่เที่ยง-เป็นทุกข์ ก็จงอย่ายึดสิ่งนั้นมาเป็นอารมณ์”
๓. “ไม่เพียงแต่วัตถุเท่านั้น แม้คนหรือสัตว์มาแสดงความโกรธ-โลภ-หลง แสดงอารมณ์ให้เห็นว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจออกมาทางกาย-วาจา-ใจ ก็จงเห็นเป็นธรรมดาของคนและสัตว์นั้น ๆ ซึ่งเขาก็แสดงออกมาถึงความไม่เที่ยงแห่งจิต ที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมดสิ้น”
๔. “จงอย่ายึดการแสดงออกแห่งอารมณ์นั้น ๆ ของเขามาเป็นสาระ เพราะอารมณ์เขานั้นยังไม่เที่ยง เราไปเกาะติดอยู่กับการแสดงออกของเขา จึงได้ชื่อว่าเกาะทุกข์”
๕. “จงเห็นเป็นธรรมดา เจ้าเองยังไม่สามารถจักบังคับจิตของตนเองได้ ห้ามไม่ให้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจยังไม่ได้ หรือไฉนจึงจักไปห้ามคนอื่นหรือสัตว์อื่นไม่ให้มีอารมณ์ได้เล่า”
๖. “เพราะฉะนั้น จึงพึงลงความเห็นเป็นตัวธรรมดาให้มาก ๆ ใครจักนินทาหรือสรรเสริญก็เป็นเรื่องธรรมดา เราไปห้ามปากเขาใจเขาได้อย่างไรกัน เมื่อห้ามไม่ได้เพราะเป็นกฎธรรมดา เจ้าก็จงอย่าฝืนกฎธรรมดา ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจของเราเองดีกว่า นั่นแหละเป็นของจริงของแท้”
๗. “อย่าไปห้ามคนอื่นให้ฝืนกฎธรรมดาของชาวโลก พวกเจ้าปรารถนาอยากจักเข้าพระนิพพาน จักต้องห้ามกาย วาจา ใจของตนเอง ไม่ให้ชั่วไปในสังโยชน์ ๑๐ ประการ ค่อย ๆ ทำไป ถ้าตั้งใจทำจริง ๆ ไม่มีอะไรที่จักยาก ขอให้ทำให้จริงก็แล้วกัน”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. “ให้เก็บแต่สิ่งที่ดี สำหรับสิ่งเลว ๆ จงตัดทิ้งไป วางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดา”
๒. “กระทบกับสิ่งใด แล้วรู้ว่าไม่เที่ยง-เป็นทุกข์ ก็จงอย่ายึดสิ่งนั้นมาเป็นอารมณ์”
๓. “ไม่เพียงแต่วัตถุเท่านั้น แม้คนหรือสัตว์มาแสดงความโกรธ-โลภ-หลง แสดงอารมณ์ให้เห็นว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจออกมาทางกาย-วาจา-ใจ ก็จงเห็นเป็นธรรมดาของคนและสัตว์นั้น ๆ ซึ่งเขาก็แสดงออกมาถึงความไม่เที่ยงแห่งจิต ที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมดสิ้น”
๔. “จงอย่ายึดการแสดงออกแห่งอารมณ์นั้น ๆ ของเขามาเป็นสาระ เพราะอารมณ์เขานั้นยังไม่เที่ยง เราไปเกาะติดอยู่กับการแสดงออกของเขา จึงได้ชื่อว่าเกาะทุกข์”
๕. “จงเห็นเป็นธรรมดา เจ้าเองยังไม่สามารถจักบังคับจิตของตนเองได้ ห้ามไม่ให้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจยังไม่ได้ หรือไฉนจึงจักไปห้ามคนอื่นหรือสัตว์อื่นไม่ให้มีอารมณ์ได้เล่า”
๖. “เพราะฉะนั้น จึงพึงลงความเห็นเป็นตัวธรรมดาให้มาก ๆ ใครจักนินทาหรือสรรเสริญก็เป็นเรื่องธรรมดา เราไปห้ามปากเขาใจเขาได้อย่างไรกัน เมื่อห้ามไม่ได้เพราะเป็นกฎธรรมดา เจ้าก็จงอย่าฝืนกฎธรรมดา ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจของเราเองดีกว่า นั่นแหละเป็นของจริงของแท้”
๗. “อย่าไปห้ามคนอื่นให้ฝืนกฎธรรมดาของชาวโลก พวกเจ้าปรารถนาอยากจักเข้าพระนิพพาน จักต้องห้ามกาย วาจา ใจของตนเอง ไม่ให้ชั่วไปในสังโยชน์ ๑๐ ประการ ค่อย ๆ ทำไป ถ้าตั้งใจทำจริง ๆ ไม่มีอะไรที่จักยาก ขอให้ทำให้จริงก็แล้วกัน”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com (http://www.tangnipparn.com)