View Full Version : พุทธพจน์วันละบท
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=11423&stc=1&d=1298997891
"ดูกร..อตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้
คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูดมาก แม้ผู้พูดพอประมาณ
ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่มี แล้วจักไม่มี และไม่มีในบัดนี้"
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=11437&stc=1&d=1299076141
"ตัณหานี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก
เมื่อครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบาง อันฝนตกรดแล้วงอกงามอยู่
แต่ผู้ใดย่อมย่ำยีตัณหานั้น ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้
ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัว ฉันนั้น"
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=11469&stc=1&d=1299220189
ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก
เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักในโลกไหน ๆ ฯ
วิสาขาสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=11487&stc=1&d=1299320152
ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มีราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม บุคคลนั่นแล ย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น
ส่วนภิกษุใดยินดีในธรรมเป็นที่เข้าไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ
ภิกษุนั่นแลจักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้.
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=11489&stc=1&d=1299397795
ผู้ใดมีส่วนแห่งจิตประกอบด้วยเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ย่อมไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ชนะ
เวรของผู้นั้นย่อมไม่มีเพราะเหตุอะไร ๆ เลย ๆ
เมตตาภาวสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12019&stc=1&d=1300713180
ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่ประสบสมาธิ
ภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภน้อย ก็ไม่ดูหมิ่นลาภของตน เทพยดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นแลว่า เป็นผู้มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน.
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12029&stc=1&d=1300818895
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บุคคลคนเดียวคือใคร? คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริต
เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากอสัทธรรม แล้วให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12133&stc=1&d=1301229120
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด
กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเจริญเมตตาในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น
เมตตสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12171&stc=1&d=1301476405
ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12215&stc=1&d=1302013557
คนผู้ตระหนี่กลัวยากจน ย่อมไม่ให้อะไร ๆ แก่ผู้ใดเลย
ความกลัวจนนั่นแล จะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้
คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าว อยากน้ำ
ความกลัวนั้นแหละ จะกลับมาถูกต้องคนพาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดตระหนี่เสียแล้ว พึงให้ทานเถิด
เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
พิลารโกสิยชาดก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12234&stc=1&d=1302094440
ผู้ใดในโลกนี้ ไม่เชื่อฟังคำของผู้เจริญ
ผู้นั้นย่อมถึงความพินาศ เพราะไม่ทำตามคำสอนของท่านผู้รู้
ดุจแร้งละเมิดคำสั่งสอน บินเลยเขตแดน ถึงความพินาศหมด ฉะนั้น.
มิคาโลปชาดกที่ ๖
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12304&stc=1&d=1302580145
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของขนเอาสิ่งของอันใดออกได้ สิ่งของอันนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น
แต่ของที่ถูกไฟไหม้ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา
โลกถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้ บุคคลพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน
ทานที่ให้แล้วจะน้อยก็ตาม มากก็ตาม ชื่อว่าเป็นอันนำออกดีแล้ว.
อาทิตตชาดก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12354&stc=1&d=1302664084
ความกำหนัดใดของชนทั้งหลายผู้กำหนัด ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตร แลในภรรยาทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า
เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง มีปกติเหนี่ยวลง อันหย่อน แต่เปลื้องได้โดยยาก
นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั่นแล้ว เป็นผู้ไม่มีไยดี ละกามสุขแล้วบวช
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12572&stc=1&d=1303138913
ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ายินดี
ทุกข์อันไม่น่ารัก ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ารัก
ทุกข์ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาทโดยความเป็นสุข
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12579&stc=1&d=1303202052
บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิตเสียจากบาป
เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป.
คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12584&stc=1&d=1303280666
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด
ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด
ราคะก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น
เปือกตมคือกามอันผู้ใดข้ามได้แล้ว
หนามคือกามอันผู้ใดย่ำยีได้แล้ว
ผู้นั้นบรรลุความสิ้นไปแห่งโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์.
คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ เรื่องพระนันทเถระ
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12612&stc=1&d=1303347775
ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนาทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ
ปกิณณวรรคที่ ๒๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12622&stc=1&d=1303454294
ผู้ใดยังเพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
อภินันทสูตรที่ ๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12628&stc=1&d=1303528281
ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย
จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก
ตัณหาวรรค
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12645&stc=1&d=1303672325
โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก
เพราะว่าบุคคลนั้นย่อมโปรยโทษของคนอื่น ดุจบุคคลโปรยแกลบ
แต่ปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยกิ่งไม้
ฉะนั้น อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเพ่งโทษผู้อื่น
มลวรรคที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12658&stc=1&d=1303781803
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมามัว ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง
ย่อมฉันเพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์
สารีปุตตสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12670&stc=1&d=1303869659
ดูก่อน...ท่านผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข
ดูก่อน...ผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้
คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ
สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกันย่อมโกรธเคืองเขา
สุขสูตรที่ ๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12677&stc=1&d=1303951541
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น
ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน
สมถสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12686&stc=1&d=1304167278
ในเวลาเกิดความลำบาก บุคคลใดอดทนต่อความลำบากได้
บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นไปตามความลำบาก
บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมบรรลุสุข
ปราศจากเครื่องประกอบอันเป็นที่สุดแห่งความลำบาก
อินทริยชาดกที่ ๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=12827&stc=1&d=1305291829
คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น
คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13124&stc=1&d=1306157658
ภิกษุใดชนะหนาม คือ กาม การด่า การฆ่า และการจองจำได้แล้ว
ภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจภูเขา
ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์
ยโสชสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13433&stc=1&d=1309434186
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13711&stc=1&d=1311127904
บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง
คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อม
ในกาลไหน ๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น
ฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน
เสวิสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13724&stc=1&d=1311243796
ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย
จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย
จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง
จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก
ตัณหาวรรค
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13732&stc=1&d=1311320926
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13761&stc=1&d=1311581290
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา
ราหุลสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=13809&stc=1&d=1312190821
ราหุล....เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น
จูฬราหุโลวาทสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=14605&stc=1&d=1317180400
ภิกษุ...เธอจงวิดน้ำออกจากเรือนี้
เมื่อวิดน้ำออกหมดแล้ว เรือจักแล่นเร็ว
ทำลายราคะ โทสะ (โมหะ) เสียแล้ว
เธอจักไปถึงพระนิพพาน
คาถาธรรมบท
ภิกขุวรรคที่ ๒๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15577&stc=1&d=1321267660
ดูกรพราหมณ์...สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว
สิ่งที่ควรทำให้เจริญ เราทำให้เจริญแล้ว
สิ่งที่ควรละ เราละได้แล้ว
ดังนั้นเราจึงได้ชื่อว่าตรัสรู้
ขุททกนิกาย
พระสุตตันตปิฎก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15604&stc=1&d=1321366590
พระสารีบุตร : ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย....นิพพานนี้เป็นสุข
พระอุทายี : ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร....นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร?
พระสารีบุตร : ดูก่อนอาวุโส...นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข
นิพพานสูตร
อังคุตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15684&stc=1&d=1321451438
คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต
ทั้งมั่งมีทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
ภาชนะดินที่นายช่างหม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิด
มีความแตกเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
มหาปรินิพพานสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15697&stc=1&d=1321972982
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....กายนี้อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวลเข้าแล้ว
ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15698&stc=1&d=1322129099
ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะว่าฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15741&stc=1&d=1322563051
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก
ดูกรพราหมณ์...พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
อันมีมูลเป็นพิษ มีที่สุดอันคืนคลาย
เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
พราหมณสังยุตต์
อรหันตวรรคที่ ๑
ธนัญชานีสูตรที่ ๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15750&stc=1&d=1322741815
บุคคลไม่พึงใส่ใจคำแสลงหูของชนเหล่าอื่น
ไม่พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำของชนเหล่าอื่น
พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำของตนเท่านั้น
ปุปผวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15753&stc=1&d=1322840925
บุคคลใดพึงชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันคูณด้วยพันในสงคราม
บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม
ส่วนบุคคลใดพึงชนะตนผู้เดียว
บุคคลนั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงสุดในสงคราม
คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15755&stc=1&d=1323003360
บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ
คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15811&stc=1&d=1323142273
หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น
เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้
คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15823&stc=1&d=1323236879
สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา
ดุจแมงมุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง
ฉะนั้น..นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ย่อมละทุกข์ทั้งปวงไป
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15836&stc=1&d=1323331451
ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน
ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15845&stc=1&d=1323405048
ชนทั้งหลายผู้ไม่สำรวมแล้ว ย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา
เหมือนเหล่าทหารที่เป็นข้าศึก ทิ่มแทงกุญชรผู้เข้าสงครามด้วยลูกศร ฉะนั้น
ภิกษุผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย ฟังคำอันหยาบคายที่ชนทั้งหลายเปล่งขึ้นแล้ว พึงอดกลั้น
สุนทรีสูตร เมฆิยวรรค
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15903&stc=1&d=1323682060
พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน
พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางคืน
กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า
พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง
ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น
คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15982&stc=1&d=1324634649
บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้สมควรแก่ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข
ผู้ใดเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อมรรลุอมตธรรม
ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญด้วยยศ.
สามัญญกานิเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15984&stc=1&d=1324809598
บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษา ฉันใด
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีในกาม ฉันนั้น.
ติสสเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15986&stc=1&d=1324893472
ดูกรมาร....บุคคลบางจำพวก ย่อมสะดุ้งกลัวเพราะเสียงคำรามของท่าน และเสียงร้องคำรามแห่งเทวดา
แต่จิตของเราไม่หวั่นไหวเพราะเสียงเหล่านั้น
เพราะจิตของเรายินดีในความเป็นผู้เดียว.
รามเณยยกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=15992&stc=1&d=1324989540
บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน
แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้วก็ไม่ควรไว้วางใจ
ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน
เหมือนภัยของราชสีห์ เกิดจากแม่เนื้อ ฉะนั้น.
วิสสาสโภชนชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16008&stc=1&d=1325165464
คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ
คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อใด ความโลภครอบงำนรชน
เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16011&stc=1&d=1325245662
โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน
กว่าความไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง
คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16014&stc=1&d=1325503746
หากว่าภิกษุพึงทำตนเหมือนอย่างที่ตนพร่ำสอนคนอื่นไซร้
ภิกษุนั้นมีตนอันฝึกดีแล้ว
อัตตวรรค
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16017&stc=1&d=1325589437
ตาเป็นของไม่เที่ยง หูเป็นของไม่เที่ยง จมูกเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง
กายเป็นของไม่เที่ยง ใจเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16022&stc=1&d=1325670451
คนมีเวรกันอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น
เพราะเมื่ออยู่ในพวกคนมีเวรกันคืนเดียว หรือสองคืน ก็อยู่เป็นทุกข์
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
เวริชาดก
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16035&stc=1&d=1326038393
พระอริยบุคคลเหล่าใดแล ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมละรูปอันเป็นที่รักเสียได้
พระอริยบุคคลเล่านั้นแล ย่อมขุดขึ้นได้ซึ่งอามิสแห่งมัจจุราช
อันเป็นมูลแห่งวัฏทุกข์ที่ล่วงได้โดยยาก
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
เอกปุตตสูตร
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16040&stc=1&d=1326099108
ถ้าแม้เด็กกำลังรุ่น มีผมดำสนิท ยังหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย
แต่มีปรกติพูดในกาลอันควร พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย
กล่าววาจาที่ควรจดจำ มีหลักฐาน มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร
เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระผู้ฉลาดโดยแท้
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อุรุเวลสูตรที่ ๒
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16049&stc=1&d=1326277001
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
นิพพิทาสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16059&stc=1&d=1326449240
บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นที่รักของเขา ไม่ควรขอสิ่งนั้น
อนึ่ง คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง ก็เพราะขอจัด
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑ เรื่องฤๅษีสองพี่น้อง
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16064&stc=1&d=1326534785
คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
โกธนาสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16083&stc=1&d=1326610758
ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้
ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย
ถ้าท่านทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้
ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลย
กุมารกสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16099&stc=1&d=1326700258
หน่อไม้มียอดอันงอกงาม เจริญด้วยกิ่งก้านโดยรอบ ย่อมเป็นของที่บุคคลขุดขึ้นได้โดยยาก ฉันใด
เมื่อคุณแม่นำภรรยามาให้แก่ฉันแล้ว ถ้าฉันมีบุตรหรือธิดาขึ้น ก็ยากที่จะถอนตนขึ้นออกบวชได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ฉันจะบวชในบัดนี้
อาตุมเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16103&stc=1&d=1326882462
คนโง่เขลามัวแต่นอนหลับตลอดทั้งคืน
และคลุกคลีอยู่ในหมู่ชนตลอดวันยันค่ำ
เมื่อไรจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เล่า
นีตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับคนโง่
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16110&stc=1&d=1326952319
ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย อยู่ในโอวาทของครูนั้น
และยังความเคารพให้เกิดในโอวาทของครูนั้น
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีภักดี และชื่อว่าเป็นบัณฑิตและพึงเป็นผู้วิเศษ
โกสิยเถรคาถา
สุภาษิตยกย่องผู้เคารพครู
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16111&stc=1&d=1327052756
บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ
บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
โคทัตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16113&d=1327138700
ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรีเพื่อจะหลับโดยแท้
ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้ง ปรารถนาแล้วเพื่อประกอบความเพียร
โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
สุภาษิตแสดงการไม่ยอมแพ้กิเลส
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16117&stc=1&d=1327222273
เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงรูปนั้นว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็ลุ่มหลง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรูปนั้นด้วย
ผู้มัวคำถึงรูปอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้นั้นเป็นผู้ห่างไกลนิพพาน
มาลุงกยปุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16122&stc=1&d=1327317922
เมื่อก่อน ผมของเราประดับด้วยมวยผมอันงดงาม ดังประดับด้วยทองคำอันละเอียด มีกลิ่นหอม เดี๋ยวนี้ล้านตลอดหัวเพราะชรา
เมื่อก่อน คอของเรางดงาม กลมเกลี้ยงเหมือนสังข์ที่ขัดดีแล้ว เดี๋ยวนี้ย่นเพราะชรา
เมื่อก่อน ฟันของเราขาวงามดีเหมือนสีดอกมะลิตูม เดี๋ยวนี้กลายเป็นฟันหัก และมีสีเหลืองเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสจริง เป็นคำจริงแท้ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น
อัมพปาลีเถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16133&stc=1&d=1327385803
ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่
เพราะเป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก
มหากัสสปเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16155&stc=1&d=1327472569
พระนิพพานนี้ไม่แก่ พระนิพพานนี้ไม่ตาย พระนิพพานนี้เป็นบทอันไม่แก่ไม่ตาย
ไม่มีความเศร้าโศก ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียน ไม่น่ากลัว ไม่มีความเดือดร้อน
พระนิพพานนี้..พระอริยะเป็นอันมากบรรลุแล้ว
อมตนิพพานนี้..อันผู้พยายามโดยแยบคายควรได้ในวันนี้นี่แหละ แต่ผู้ไม่พยายามอาจหาได้ไม่
สุเมธาเถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16177&stc=1&d=1327813844
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปประเสริฐกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ก็ ๓ ประการเป็นไฉน
คือไม่มีทุกข์ ๑ ไม่มีความหวงแหน ๑ มีอายุแน่นอน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปประเสริฐกว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์
และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
สัตตาวาสวรรคที่ ๓
ฐานสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16567&stc=1&d=1331990176
บุคคลพึงมีเมตตาในคนเดียวผู้เป็นที่รัก ฉันใด
ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ทั้งปวงในที่ทุกสถาน ฉันนั้น
โสปากเถรคาถา สุภาษิตเกี่ยวกับเมตตา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๖
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16568&stc=1&d=1332244233
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา
ผู้กล่าวเป็นธรรมย่อมไม่ขัดแย้งกับใคร ๆ ในโลก
ปุปผสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16574&stc=1&d=1332417323
ดูกรมหาบพิตร...ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งที่ดิบทั้งที่สุก
ภาชนะดินเหล่านั้นทั้งหมด มีความแตกเป็นธรรมดา
มีความแตกเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความแตกไปได้เลย แม้ฉันใด
ดูกรมหาบพิตร...สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา
มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย ฉันนั้นเหมือนกันแล
อัยยิกาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16710&stc=1&d=1333522949
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม
และไม่ยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม
แต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม
พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น
แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์
เมถุนสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16726&stc=1&d=1333626070
จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่กำหนัด ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน
ชุณหสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16727&stc=1&d=1333712062
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...อุบลก็ดี ปทุมก็ดี บุณฑริกก็ดี
เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด
พระตถาคตเกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ย่อมครอบงำโลกอยู่
แต่โลกฉาบทาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ปุปผสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16728&stc=1&d=1333803181
คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง
พหุสุตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง
สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง
พลสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16729&stc=1&d=1333896537
บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์
ความลับอันบุคคลอื่นรู้เข้า ทำให้แพร่งพรายไม่ดีเลย
ปัณฑรกชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16730&stc=1&d=1333968786
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้
ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16750&stc=1&d=1334147908
ทองคำและเงินนี้ เป็นเหตุให้เกิดความโลภ นำมาซึ่งความมัวเมา ให้เกิดความลุ่มหลง
เป็นเครื่องให้กำหนัดพัวพัน มีความระแวง มีความคับแค้นเป็นอันมาก และไม่มีความยั่งยืนมั่นคง
ก็คนทั้งหลายผู้ยินดีในทรัพย์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท
สุภากัมมารธีตาเถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16765&stc=1&d=1334241087
บุคคลพึงประคองภาชนะอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำมัน (ไว้ด้วยความระมัดระวัง) ฉันใด
บัณฑิตผู้ปรารถนาจะไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงตามรักษาจิตของตนไว้ด้วยสติ ฉันนั้น
เตลปัตตชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16772&stc=1&d=1334407819
ท่านอย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ
ผู้ที่ท่านกล่าวแล้วพึงกล่าวตอบท่าน เพราะว่าถ้อยคำแข็งทำให้เกิดทุกข์
ทัณฑวรรค
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16783&stc=1&d=1334667782
เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
อนภิรติชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16798&stc=1&d=1334747533
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เดินไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ
สุมนสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16829&stc=1&d=1334833733
เมื่อบุคคลถูกงูเห่ากัด หมอบางคนก็รักษาได้ อนึ่ง บุคคลถูกผีเข้าสิง หมอผู้ฉลาดก็ไล่ออกได้
แต่บุคคลถูกความใคร่ครอบงำแล้ว ใคร ๆ ก็รักษาไม่หาย
เพราะว่าเมื่อบุคคลล่วงเลยธรรมขาวเสียแล้ว จะรักษาได้อย่างไร?
กามนีตชาดก ผู้ถูกโรครักครอบงำรักษายาก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16838&stc=1&d=1334919503
ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่รักของประชาชน พึงกล่าวแต่ถ้อยคำสละสลวย พูดพอประมาณ ไม่ฟุ้งซ่าน
ถ้อยคำของผู้แสดงอรรถ และธรรม เป็นถ้อยคำไพเราะ
อุลูกชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16847&stc=1&d=1335004209
คนฉลาดทำสิ่งใด ก็พูดถึงสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ก็ไม่พูดถึงสิ่งนั้น
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรู้จักคนที่ไม่ทำดีแต่พูด
สุจจชชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16853&stc=1&d=1335078189
เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินกัน ตนเองสามารถจะเชื่อมให้สนิทสนมได้
ผู้นั้นแลชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐยิ่ง ผู้นำภาระไป ผู้ทรงธุระไว้
กัสสปมันทิยชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16860&stc=1&d=1335186890
หงส์ก็ดี นกกระเรียนก็ดี นกยูงก็ดี ช้างก็ดี ฟาน(อีเก้ง)ก็ดี ย่อมกลัวราชสีห์ทั้งนั้น
จะถือเอาร่างกายเป็นประมาณไม่ได้ ฉันใด
ในหมู่มนุษย์ ก็ฉันนั้น ถ้าแม้เด็กมีปัญญา ก็เป็นผู้ใหญ่ได้
คนโง่ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้
เกฬิสีลชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16865&stc=1&d=1335268565
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมอันจะนำความสุขมาให้ยิ่งไปกว่าสมาธิย่อมไม่มี
ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่น และตนเอง
สีลวีมังสชาดก
ว่าด้วยธรรมที่นำความสุขมาให้
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16867&stc=1&d=1335350047
ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้
ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่ไม่เป็นสุขทั่วกัน
ราโชวาทชาดก
ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นำ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16869&stc=1&d=1335431293
ความเกษมจากโยคะ ย่อมเจริญเพราะการคบหากับมิตรคนใด
บุรุษผู้ฉลาดในกิจทั้งมวล พึงกระทำกิจทุกอย่างของกัลยาณมิตรให้เหมือนของตน
พยัคฆชาดก
ว่าด้วยเรื่องของมิตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16876&stc=1&d=1335518418
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตควรพยายามร่ำไป ไม่ควรเบื่อหน่าย จงดูผลแห่งความพยายาม
ผลมะม่วงทั้งหลายที่หล่นให้บริโภคอยู่ก็ด้วยความพยายามทั้งนั้น ไม่ใช่ของที่มีมาได้เองเลย
อัมพชาดก
บัณฑิตควรพยายามร่ำไป
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16880&stc=1&d=1335603694
บุคคลย่อมทำความดี และความชั่วด้วยตนเอง
คนอื่นจะทำความดี หรือความชั่วให้แก่คนอื่นไม่ได้เลย
สิริกาฬกัณณิชาดก
ว่าด้วยสิริกับกาฬกรรณี
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16881&stc=1&d=1335693596
ผู้ใดในโลกนี้ ไม่เชื่อฟังคำของผู้เจริญ ผู้นั้นย่อมถึงความพินาศ เพราะไม่ทำตามคำสอนของท่านผู้รู้
ดุจแร้งละเมิดคำสั่งสอน บินเลยเขตแดนถึงความพินาศหมด ฉะนั้น
มิคาโลปชาดก
ว่าด้วยโทษของคนหัวดื้อ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16885&stc=1&d=1335778140
บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรมเหล่านั้นในตน
ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
จุลลนันทิยชาดก
ผลของกรรมดีกรรมชั่ว
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16894&stc=1&d=1335942211
บุรุษผู้คบหากับคนเลวทราม ย่อมเลวทราม
ผู้คบหากับคนที่เสมอกับตน ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหน ๆ
เมื่อจะเข้าไปคบหากับคนที่ดีกว่าตน ควรรีบเข้าไปคบหา เพราะฉะนั้น จงคบแต่ผู้ที่ดีกว่าตน
มโนชชาดก
คบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16966&stc=1&d=1336312349
ผู้ใดไม่ทำความโกรธในบุคคลผู้ควรโกรธ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่โกรธ ณ ในกาลไหน ๆ
บุคคลนั้นแม้จะโกรธ ก็ไม่ทำความโกรธให้ปรากฏ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
จตุโปสถชาดก
ว่าด้วยสมณะ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16977&stc=1&d=1336397210
ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
มหาธรรมปาลชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ไม่ตายในวัยหนุ่ม
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16989&stc=1&d=1336471160
ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่ ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะตายเป็นแน่ ฉันนั้น
ทสรถชาดก
ว่าด้วยผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16990&stc=1&d=1336560255
บุคคลผู้มีศีล ย่อมเป็นที่รักของญาติทั้งหลาย และรุ่งเรืองในหมู่มิตร
เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ
สีลวีมังสชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=16993&stc=1&d=1336651677
บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้ เพราะความกลัว
พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ
ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด
สรภังคชาดก
สรภังคดาบสเฉลยปัญหา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17015&stc=1&d=1336736902
บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้น
ด้วยข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้
ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
โสณนันทชาดก
เรื่องพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17061&stc=1&d=1336903015
ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยความสำคัญว่าเราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำแล้วก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่าอื่น
ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาว เพราะกรรมนั้น
แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้นด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม
อุมมาทันตีชาดก
เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17063&stc=1&d=1336995988
ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ไกลก็เหมือนกับอยู่ใกล้
ใจเหินห่างจากบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ใกล้ก็เหมือนกับอยู่ไกล
ชวนหังสชาดก
รักกันอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17070&d=1337078900
หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บกระเสาะกระแสะ ๑
เป็นคนแก่ ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑
คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่างให้เกิดขึ้น ๑
กุณาลชาดก
ว่าด้วยนางนกดุเหว่า
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17073&stc=1&d=1337165693
แม่น้ำที่เต็มฝั่งย่อมไม่ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กลับมาสู่ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น
แม่น้ำที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป ฉันนั้น
มหานิบาตชาดก
เตมิยชาดก
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17078&stc=1&d=1337245298
หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด
มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น
ชราสุตตนิทเทสที่ ๖
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17117&stc=1&d=1337339981
ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา
ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น
บุคคลไม่หวั่นไหวเพราะความถือตัว ๓ อย่าง
ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น
มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ ว่าด้วยเมถุนธรรม
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17118&stc=1&d=1337426513
โลกถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้ บุคคลพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน
ทานที่ให้แล้วจะน้อยก็ตามมากก็ตาม ชื่อว่าเป็นอันนำออกดีแล้ว
อาทิตตชาดก
ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17122&stc=1&d=1337510898
กรรมชั่วอันบุคคลทำด้วยตนเองแล้ว จักเศร้าหมองด้วยตนเอง
กรรมชั่วอันบุคคลไม่ทำด้วยตนเองแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง
ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นจะช่วยชำระผู้อื่นให้บริสุทธิ์หาได้ไม่
โธตกมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านโธตกะ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17167&d=1337602820
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข
มหาสุทัสสนสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17216&stc=1&d=1337691063
ดูกรภัคควะ...เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์
ปาฏิกสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๓
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17242&stc=1&d=1338001477
พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้
พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ
สุมังคลชาดก
ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17246&stc=1&d=1338130621
ดูกรสารีบุตร....เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพในป่าช้า
พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดแล้ว โปรยฝุ่นรดบ้าง
เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย
ดูกรสารีบุตร...นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา
มหาสีหนาทสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17251&stc=1&d=1338207694
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด เป็นคนอ่อนโยนจัด เป็นคนเรียบร้อยจัด
ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยังไม่ได้กระทบด้วยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...ก็เมื่อใดเธอกระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยนเรียบร้อยอยู่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย.....เมื่อนั้นแหละ ควรถือว่าเธอเป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนอ่อนโยน เป็นคนเรียบร้อยจริง
โอปัมมวรรค
กกจูปมสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17261&stc=1&d=1338289312
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย
พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น
เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว
จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17316&stc=1&d=1338463433
ดูกรราหุล...แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมใดด้วยใจ เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแหละว่า
เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ
ภิกขุวรรค
จูฬราหุโลวาทสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17347&stc=1&d=1338641134
พระพุทธเจ้า : ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า
ภิกษุ..........: เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ภิกษุ..........: ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า
มหาปุณณมสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17348&d=1338812941
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
อานาปานสติสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17360&stc=1&d=1338893332
ภิกษุทั้งหลาย...การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรมีกถากัน เป็นการสมควร
พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือสนทนาธรรมกัน หรือนั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ
ปาสราสิสูตร
อุปมากองบ่วงดักสัตว์
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17406&stc=1&d=1339058353
บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น
บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น
บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าก็ครอบงำบุรุษ
เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ
มธุปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17481&stc=1&d=1340094766
สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต
หรือว่าเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
เขาเจริญปฐวีสัญญาเพียงเล็กน้อย เจริญอาโปสัญญาอย่างแรงกล้า
เขาย่อมยังแผ่นดินนี้ให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวได้
สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17482&stc=1&d=1340156935
ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุก ๆ ชาติไป ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย
เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาดแล้วเว้นเปือกตม ฉะนั้น
หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุก ๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามี
เหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็นบาทบริจาริกายำเกรงพระอินทร์
มหานารทกัสสปชาดก
พระมหานารทกัสสปะ ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://a6.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/s720x720/599653_10150915101815966_1075420148_n.jpg
บุคคลกระทำคนเช่นใดให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น
เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้นได้ ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนติดต่อ
มหานารทกัสสปชาดก
พระมหานารทกัสสปะ ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17505&stc=1&d=1340328151
ผู้ใดประพฤติถ่อมตนแก่สัตว์โลกทั้งปวง แก่หญิงและชาย พร้อมทั้งเด็ก
เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่า ๆ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นของผู้นั้นว่า เป็นสวัสดิมงคล
มหามังคลชาดก
ว่าด้วยมงคล
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17508&d=1340520715
ความอยากเป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยากที่จะให้เต็มได้ มักให้ถึงความวิบัติ
ชนเหล่าใดย่อมยินดีไปตามความอยาก ชนเหล่านั้นต้องเป็นผู้ทรงจักรกรดไว้
ทสกนิบาตชาดก
จตุทวารชาดก
ว่าด้วยจักรกรดพัดบนศีรษะ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17512&stc=1&d=1340799924
ความกตัญญูไม่มีในคนใด การคบคนนั้นย่อมไร้ประโยชน์
ชวสกุณชาดก
ผู้ไม่มีกตัญญูไม่ควรคบ
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17522&stc=1&d=1340707922
บุคคลใดอ่อนน้อมอยู่เป็นนิตย์ด้วยเมตตา
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเมตตาของบุคคลนั้นแลว่า เป็นสวัสดิมงคลในสัตว์ทั้งหลาย
มหามังคลชาดก
ว่าด้วยมงคล
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17523&stc=1&d=1340789608
ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง
ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17534&stc=1&d=1340889999
กรรมดีคนดีทำได้ง่าย กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก
กรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่วพระอริยเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก
อรรถกถา ขุททกนิกาย
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17570&stc=1&d=1341308663
ห้วงน้ำลึกใสไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด
บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส ฉันนั้น
คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17578&stc=1&d=1341420404
บุคคลใดพึงชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันคูณด้วยพัน (ล้าน) ในสงคราม
บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม
ส่วนบุคคลใดพึงชนะตนผู้เดียว บุคคลนั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงสุดในสงคราม
ตนแลอันบุคคลชนะแล้วประเสริฐ
คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17607&stc=1&d=1341481166
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม
การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17619&stc=1&d=1341737456
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก
บุคคลผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย เราเรียกว่า เป็นบัณฑิต
คาถาธรรมบท ธัมมัตถวรรคที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17656&stc=1&d=1341837448
เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17662&stc=1&d=1341906947
บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก
หรือแม้ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ
ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรกเช่นเดียวกัน
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17686&stc=1&d=1342008539
ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตกย่ำยี ผู้มีราคะกล้า
มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น
ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบ มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่
ผู้นั้นแลจักทำตัณหาให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17694&stc=1&d=1342159148
ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี
ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี
ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17762&stc=1&d=1342782456
ดูกรภิกษุทั้งหลาย..ภิกษุไร ๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว
มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์
กายคตาสติสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17781&stc=1&d=1342872844
บุคคลผู้มักโกรธ มีความแค้นเคืองมาก ถูกใครว่าเข้าแต่น้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง
มุ่งร้าย ปองร้าย ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่น่ารังเกียจ
ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17839&stc=1&d=1343216670
พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน
พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางคืน
กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า
พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง
ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น
คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17871&stc=1&d=1343655927
กามสุขในโลกและทิพยสุข ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ (จำแนกออก ๑๖ หน) แห่งสุข คือความสิ้นตัณหา
ราชสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17907&stc=1&d=1343946452
ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ายินดี
ทุกข์อันไม่น่ารัก ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ารัก
ทุกข์ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาทโดยความเป็นสุข
สุปปวาสาสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=17915&stc=1&d=1344307304
บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก
หรือแม้ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรกเช่นเดียวกัน
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=18183&stc=1&d=1349182593
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...ภิกษุเถระผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุผู้เถระย่อมกำหนัดในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๑
ย่อมขัดเคืองในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ๑
ย่อมหลงในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑
ย่อมโกรธในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ๑
ย่อมมัวเมาในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ๑
เถรวรรคที่ ๔
รัชนียสูตร
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=18214&stc=1&d=1349697964
ดูกรภิกษุทั้งหลาย...เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรูปสตรีเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๒
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=22242&stc=1&d=1415970708
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....การขับร้อง คือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า
การฟ้อนรำ คือ ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้า
การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือ ความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า
เพราะเหตุนั้นแหละ จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรม ก็ควรแต่ยิ้มแย้ม
โรณสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=22265&stc=1&d=1416658308
ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่
เพราะเป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก
การสงเคราะห์ชนต่าง ๆ เป็นความลำบากดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ
มหากัสสปเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=22272&stc=1&d=1416830259
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน
ภิกขุวรรค
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/attachment.php?attachmentid=22419&stc=1&d=1420979420
พระอรหันต์นั้นล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้และเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด
มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม
ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
vBulletin® v3.8.11, Copyright ©2000-2025, vBulletin Solutions Inc.