ลัก...ยิ้ม
16-02-2011, 07:37
พุทโธ อัปปมาโณ ธัมโม อัปปมาโณ สังโฆ อัปปมาโณ
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. “การคิดถึงเรื่องราวในพระสูตร หรือในพระธรรมวินัยก็ดี จงคิดให้ได้สารธรรม คือ ธรรมในธรรมแห่งเรื่องราวในบทนั้น ๆ อย่ามุ่งหวังเอาแต่เพียงความจำได้ ให้วกเข้าสู่สัจธรรมคือของจริงอยู่เสมอ แล้วพวกเจ้าจักได้ประโยชน์ และเพลิดเพลินอยู่ในธรรมนั้น ๆ อย่างหาที่สุดมิได้ นี่แหละเจ้า..ที่เขาเรียกว่า ธัมโม อัปปมาโณ”
๒. “ในนั้นมีพระอริยสงฆ์หรือพระอริยเจ้าเป็นตัวดำเนินเรื่อง ชี้ให้เห็นชัดในกฎของกรรมของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ให้เห็นอริยสัจคือทุกข์ อันสืบเนื่องมาจากกฎของกรรมนั้น ๆ ให้เห็นอริยมรรคคือ การบำเพ็ญเพียรเพื่อพ้นทุกข์ที่ติดอยู่ในสักกายทิฏฐินั้น ๆ จนในที่สุดให้เห็นว่าท่านทำอย่างไร จึงได้ซึ่งอริยผลในการแสวงหาความพ้นทุกข์ได้ นี่ก็เป็นสังโฆ อัปปมาโณ”
๓. “เรื่องราวที่มีมาเป็นพระสูตรก็ดี พระธรรมวินัยก็ดี พระอภิธรรมก็ดี มาจากคำสั่งสอนของพระตถาคตเจ้าซึ่งประกาศซึ่งพระธรรมอันเป็นหนทางพ้นทุกข์ อันเป็นแนวทางให้พระอริยสงฆ์เดินตามทางปฏิบัตินี้มาแล้วพ้นทุกข์ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ตรัสเหมือนกันหมดว่า ให้ดับที่เหตุแห่งธรรมนั้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงธรรมให้งามทั้ง ๓ กาล อาทิกัลยาณัง (งามเบื้องต้นคือ งามด้วยศีล มีอธิศีล-มีกรรมบถ ๑๐ พ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔) มัชเฌกัลยาณัง (งามท่ามกลางคือ งามด้วยสมาธิ มีจิตตั้งมั่น นิวรณ์หรือราคะ โทสะ โมหะ แทรกเข้ามาไม่ได้) ปริโยสานกัลยาณัง (งามในที่สุด คืองามด้วยปัญญา มีอธิปัญญาตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ไปนิพพานได้) ยังบุคคล พรหม เทวดาให้งามด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ได้เข้าถึงอริยมรรค อริยผล หมดจดแล้วจากกิเลสตามลำดับ นี่ก็เป็น พุทโธ อัปปมาโณ”
๔. “เพราะฉะนั้นการใคร่ครวญในพระธรรมวินัยก็ดี ในพระสูตรก็ดี ในพระอภิธรรมก็ดี เป็นการระลึกถึงพุทธะรัตนะ ธัมมะรัตนะ สังฆะรัตนะ เป็นธรรมพ้นโลกที่เจริญอยู่ในจิตของพวกเจ้าอยู่ตลอดเวลา ที่ยังระลึกนึกถึงอยู่นั้น”
๕. “แต่จงอย่าลืม พระในพระสูตรก็ดี ในพระธรรมก็ดี ขันธ์ ๕ ของท่านไปไหน ตายหมดแล้วใช่ไหม (ก็รับว่าใช่) ก็จงคิดให้ลงที่ตนเองว่า ในไม่ช้าร่างกายของเราก็ตาย อย่าหลงลืมความตาย ให้ระลึกนึกถึงเอาไว้เสมอ”
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. “การคิดถึงเรื่องราวในพระสูตร หรือในพระธรรมวินัยก็ดี จงคิดให้ได้สารธรรม คือ ธรรมในธรรมแห่งเรื่องราวในบทนั้น ๆ อย่ามุ่งหวังเอาแต่เพียงความจำได้ ให้วกเข้าสู่สัจธรรมคือของจริงอยู่เสมอ แล้วพวกเจ้าจักได้ประโยชน์ และเพลิดเพลินอยู่ในธรรมนั้น ๆ อย่างหาที่สุดมิได้ นี่แหละเจ้า..ที่เขาเรียกว่า ธัมโม อัปปมาโณ”
๒. “ในนั้นมีพระอริยสงฆ์หรือพระอริยเจ้าเป็นตัวดำเนินเรื่อง ชี้ให้เห็นชัดในกฎของกรรมของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ให้เห็นอริยสัจคือทุกข์ อันสืบเนื่องมาจากกฎของกรรมนั้น ๆ ให้เห็นอริยมรรคคือ การบำเพ็ญเพียรเพื่อพ้นทุกข์ที่ติดอยู่ในสักกายทิฏฐินั้น ๆ จนในที่สุดให้เห็นว่าท่านทำอย่างไร จึงได้ซึ่งอริยผลในการแสวงหาความพ้นทุกข์ได้ นี่ก็เป็นสังโฆ อัปปมาโณ”
๓. “เรื่องราวที่มีมาเป็นพระสูตรก็ดี พระธรรมวินัยก็ดี พระอภิธรรมก็ดี มาจากคำสั่งสอนของพระตถาคตเจ้าซึ่งประกาศซึ่งพระธรรมอันเป็นหนทางพ้นทุกข์ อันเป็นแนวทางให้พระอริยสงฆ์เดินตามทางปฏิบัตินี้มาแล้วพ้นทุกข์ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ตรัสเหมือนกันหมดว่า ให้ดับที่เหตุแห่งธรรมนั้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงธรรมให้งามทั้ง ๓ กาล อาทิกัลยาณัง (งามเบื้องต้นคือ งามด้วยศีล มีอธิศีล-มีกรรมบถ ๑๐ พ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔) มัชเฌกัลยาณัง (งามท่ามกลางคือ งามด้วยสมาธิ มีจิตตั้งมั่น นิวรณ์หรือราคะ โทสะ โมหะ แทรกเข้ามาไม่ได้) ปริโยสานกัลยาณัง (งามในที่สุด คืองามด้วยปัญญา มีอธิปัญญาตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ไปนิพพานได้) ยังบุคคล พรหม เทวดาให้งามด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ได้เข้าถึงอริยมรรค อริยผล หมดจดแล้วจากกิเลสตามลำดับ นี่ก็เป็น พุทโธ อัปปมาโณ”
๔. “เพราะฉะนั้นการใคร่ครวญในพระธรรมวินัยก็ดี ในพระสูตรก็ดี ในพระอภิธรรมก็ดี เป็นการระลึกถึงพุทธะรัตนะ ธัมมะรัตนะ สังฆะรัตนะ เป็นธรรมพ้นโลกที่เจริญอยู่ในจิตของพวกเจ้าอยู่ตลอดเวลา ที่ยังระลึกนึกถึงอยู่นั้น”
๕. “แต่จงอย่าลืม พระในพระสูตรก็ดี ในพระธรรมก็ดี ขันธ์ ๕ ของท่านไปไหน ตายหมดแล้วใช่ไหม (ก็รับว่าใช่) ก็จงคิดให้ลงที่ตนเองว่า ในไม่ช้าร่างกายของเราก็ตาย อย่าหลงลืมความตาย ให้ระลึกนึกถึงเอาไว้เสมอ”