ลัก...ยิ้ม
27-12-2010, 08:20
พรหมวิหาร ๔ อัปปมัญญา-อุเบกขา
อาจารย์เทสก์ เทสรังสีท่านเมตตาสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “พรหมวิหาร ๔ มีได้ในคนทั่วไป เช่น บิดา-มารดามีแก่บุตร แต่มักไม่ถึงอุเบกขา จึงไม่ครบ ๔ เห็นชัดในตอนโกรธ สามข้อแรกหายไปหมดเพราะอุเบกขาไม่มี และเพราะขาดปัญญา”
๒. “ส่วนอัปปมัญญา ย่อมมีแก่นักปฏิบัติผู้ฝึกหัดจนสติ-ปัญญา (สติ-สัมปชัญญะ) สมบูรณ์แล้วเท่านั้น ถ้ายังไม่สมบูรณ์จะมีพรหมวิหาร ๔ เฉพาะตอนอารมณ์สงบอยู่เท่านั้น”
๓. “อัปปมัญญาวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของท่านที่ได้รูปฌานแล้ว คือ ท่านพิจารณาเห็นมนุษย์-สัตว์เป็นอันเดียวกัน เห็นเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ ไม่เที่ยงเสมอกัน คน-สัตว์ก็หายไป มีอารมณ์เกลียดทุกข์ รักสุขเสมอกัน จิตวางเสมอภาค (หมายความว่า หมดมานะ หมดอคติ ๔ หมดอุปาทาน)”
๔. “เพราะฉะนั้น อัปปมัญญาต้องเกิดจากจิตที่เป็นรูปฌาน คือ ปรารถนารูปเป็นอารมณ์ จนจิตแน่วแน่อยู่กับรูปนั้น จนเห็นรูปกายใน คือ ตัวเอง กับรูปภายนอก (ผู้อื่น) มีสภาพเหมือนกัน เป็นธาตุ ๔ หมด เป็นอกาลิโก จึงเกิดอุเบกขาในรูปนั้น ๆ ขึ้น จิตที่วางเฉยแบบนี้จึงจะเรียกว่า อัปปมัญญา”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
อาจารย์เทสก์ เทสรังสีท่านเมตตาสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “พรหมวิหาร ๔ มีได้ในคนทั่วไป เช่น บิดา-มารดามีแก่บุตร แต่มักไม่ถึงอุเบกขา จึงไม่ครบ ๔ เห็นชัดในตอนโกรธ สามข้อแรกหายไปหมดเพราะอุเบกขาไม่มี และเพราะขาดปัญญา”
๒. “ส่วนอัปปมัญญา ย่อมมีแก่นักปฏิบัติผู้ฝึกหัดจนสติ-ปัญญา (สติ-สัมปชัญญะ) สมบูรณ์แล้วเท่านั้น ถ้ายังไม่สมบูรณ์จะมีพรหมวิหาร ๔ เฉพาะตอนอารมณ์สงบอยู่เท่านั้น”
๓. “อัปปมัญญาวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของท่านที่ได้รูปฌานแล้ว คือ ท่านพิจารณาเห็นมนุษย์-สัตว์เป็นอันเดียวกัน เห็นเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ ไม่เที่ยงเสมอกัน คน-สัตว์ก็หายไป มีอารมณ์เกลียดทุกข์ รักสุขเสมอกัน จิตวางเสมอภาค (หมายความว่า หมดมานะ หมดอคติ ๔ หมดอุปาทาน)”
๔. “เพราะฉะนั้น อัปปมัญญาต้องเกิดจากจิตที่เป็นรูปฌาน คือ ปรารถนารูปเป็นอารมณ์ จนจิตแน่วแน่อยู่กับรูปนั้น จนเห็นรูปกายใน คือ ตัวเอง กับรูปภายนอก (ผู้อื่น) มีสภาพเหมือนกัน เป็นธาตุ ๔ หมด เป็นอกาลิโก จึงเกิดอุเบกขาในรูปนั้น ๆ ขึ้น จิตที่วางเฉยแบบนี้จึงจะเรียกว่า อัปปมัญญา”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com