ลัก...ยิ้ม
17-12-2010, 09:29
อุปาทานและอคติ ๔ (ตัวเดียวกัน)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “กฎของกรรมนั้นเที่ยงอยู่เสมอ ไม่ว่าจักเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว การมีชีวิตอยู่ในวัฏฏสงสารย่อมไม่พ้นกฎของกรรมตามส่งผล”
๒. “จิตของบุคคลผู้ไม่หมดจากกิเลส ย่อมหวั่นไหวไปตามผลของกฎของกรรมนั้น ๆ ที่มากระทบ กรรมดีปรากฎแก่ตนก็ย่อมจักดีใจ กรรมชั่วปรากฎแก่ตนก็ย่อมจักเสียใจ จัดเป็นความหวั่นไหว อันเป็นธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล เรียกว่ายังไม่พ้นอุปาทานและอคติ ๔ นั้นแหละเจ้า ตัวเดียวกัน”
๓. “เพราะฉะนั้นจงศึกษากฎของกรรม อย่าตำหนิกรรมเพราะพวกเจ้าเองก็ยังไม่หมดอุปาทาน เมื่ออุปาทานมี อคติ ๔ ก็ยังหมดไปไม่ได้เช่นกัน ดูอารมณ์จิตของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ อย่าหลงอารมณ์ของตนเอง ตราบใดที่ยังมีอารมณ์พอใจกับไม่พอใจอยู่ ก็ยังเป็นแค่อนาคามีมรรค ยังไม่ถึงผล สังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อ ก็ยังไม่หมด ดังนั้น อย่าพึงคิดว่าตนเองดี อย่าพึงตำหนิใคร จักเป็นเหตุให้ตนเองสิ้นความดีเพราะมีความประมาทในกรรมทั้งปวง”
๔. “การที่จักให้เข้าถึงความหมดอุปาทาน หรืออคติ ๔ นั้น จักต้องไม่วางอารมณ์กำหนดรู้ในอริยสัจ ๔ หรือกำหนดรู้กฎของกรรมทั้งปวง คือ รู้ทั้งกรรมที่เป็นกุศล-อกุศลและอัพยากฤต รู้ผลของกรรมทั้ง ๓ ประการ ที่ส่งผลแก่มนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก และอบายภูมิ ๔ อยู่เนือง ๆ”
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. “กฎของกรรมนั้นเที่ยงอยู่เสมอ ไม่ว่าจักเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว การมีชีวิตอยู่ในวัฏฏสงสารย่อมไม่พ้นกฎของกรรมตามส่งผล”
๒. “จิตของบุคคลผู้ไม่หมดจากกิเลส ย่อมหวั่นไหวไปตามผลของกฎของกรรมนั้น ๆ ที่มากระทบ กรรมดีปรากฎแก่ตนก็ย่อมจักดีใจ กรรมชั่วปรากฎแก่ตนก็ย่อมจักเสียใจ จัดเป็นความหวั่นไหว อันเป็นธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล เรียกว่ายังไม่พ้นอุปาทานและอคติ ๔ นั้นแหละเจ้า ตัวเดียวกัน”
๓. “เพราะฉะนั้นจงศึกษากฎของกรรม อย่าตำหนิกรรมเพราะพวกเจ้าเองก็ยังไม่หมดอุปาทาน เมื่ออุปาทานมี อคติ ๔ ก็ยังหมดไปไม่ได้เช่นกัน ดูอารมณ์จิตของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ อย่าหลงอารมณ์ของตนเอง ตราบใดที่ยังมีอารมณ์พอใจกับไม่พอใจอยู่ ก็ยังเป็นแค่อนาคามีมรรค ยังไม่ถึงผล สังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อ ก็ยังไม่หมด ดังนั้น อย่าพึงคิดว่าตนเองดี อย่าพึงตำหนิใคร จักเป็นเหตุให้ตนเองสิ้นความดีเพราะมีความประมาทในกรรมทั้งปวง”
๔. “การที่จักให้เข้าถึงความหมดอุปาทาน หรืออคติ ๔ นั้น จักต้องไม่วางอารมณ์กำหนดรู้ในอริยสัจ ๔ หรือกำหนดรู้กฎของกรรมทั้งปวง คือ รู้ทั้งกรรมที่เป็นกุศล-อกุศลและอัพยากฤต รู้ผลของกรรมทั้ง ๓ ประการ ที่ส่งผลแก่มนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก และอบายภูมิ ๔ อยู่เนือง ๆ”