ลัก...ยิ้ม
17-11-2010, 09:14
พรหมวิหาร ๔
เป็นธรรมที่ปิดกั้นความเลวทั้งปวง
สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
๑. เป็นอย่างไรเจ้า ความดียังไม่ได้ทำ เพียงแค่คิดก็ยากเสียแล้วใช่ไหม แล้วใยความเลวเล่า ทำได้โดยไม่ทันคิด ทำไมจึงง่ายยิ่งนัก ที่ร่างกายของพวกเจ้าต้องประสบกับความลำบากเหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจ อันมีความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย เป็นต้น นี่เป็นผลของความเลวหรือความดี (ก็ยอมรับว่า เป็นผลของความเลว)
๒. พรหมวิหาร ๔ เมื่อเข้าใจดีแล้ว ธรรมนี้แหละเป็นทำนบปิดกั้นความเลวทั้งปวง จงหมั่นนำมาประพฤติปฏิบัติเถิด
๓. เศรษฐีรวยทรัพย์ ต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอบริบประการหนึ่ง อาศัยทานบารมีที่มีแต่อดีตชาติหนึ่ง การสะสมพรหมวิหาร ๔ ก็เช่นกัน จักต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอบริบ ดูมันทุกวันว่า วันนี้เก็บพรหมวิหาร ๔ ไปได้เท่าใด
๔. สำหรับทานบารมีก็จักต้องอาศัย เพื่อวัดกำลังใจของการทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ หากพรหมวิหาร ๔ มีกำลังต่ำ การให้ทานก็เกิดขึ้นไม่ได้ จิตมันละโมบโลภมาก แม้แต่ทรัพย์สินนอกกายก็ไม่ยอมให้ใคร ถ้ามีกำลังปานกลาง การให้อามิสทานก็ยังมีการหวังผลเป็นการตอบแทน แต่ถ้ามีกำลังสูง การให้อามิสทานก็ให้โดยไม่มีการหวังผลตอบแทน รวมทั้งมีกำลังใจให้อภัยทานแก่บุคคลผู้หลงผิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ประพฤติผิดในพระธรรมวินัย ใครเขาจักมีอารมณ์โกรธ โลภ หลง ก็เรื่องของเขา แม้เขาจักด่า นินทา ชม สรรเสริญร่างกายของเรา จิตของเราก็ไม่หวั่นไหวไปกับถ้อยคำนั้น ๆ
๕. จิตมีพรหมวิหาร ๔ เต็ม มีอภัยทานอยู่เสมอ แม้ในบุคคลที่กระทำผิดในพระธรรมวินัย ก็ใช่ว่าจักโกรธแค้นขุ่นเคืองก็หาไม่ หากเตือนได้ก็เตือนด้วยจิตเมตตา กรุณา อารมณ์พระอรหันต์ไม่ข้องติดอยู่ในกรรมทั้งปวง จิตมีมุทิตาเยือกเย็นอยู่เสมอ หากเตือนไม่ได้ อุเบกขาก็ทรงตัวอยู่แล้ว ไม่มีอะไรจักทำให้จิตของพระอรหันต์พร่องได้จากพรหมวิหาร ๔
เป็นธรรมที่ปิดกั้นความเลวทั้งปวง
สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
๑. เป็นอย่างไรเจ้า ความดียังไม่ได้ทำ เพียงแค่คิดก็ยากเสียแล้วใช่ไหม แล้วใยความเลวเล่า ทำได้โดยไม่ทันคิด ทำไมจึงง่ายยิ่งนัก ที่ร่างกายของพวกเจ้าต้องประสบกับความลำบากเหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจ อันมีความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย เป็นต้น นี่เป็นผลของความเลวหรือความดี (ก็ยอมรับว่า เป็นผลของความเลว)
๒. พรหมวิหาร ๔ เมื่อเข้าใจดีแล้ว ธรรมนี้แหละเป็นทำนบปิดกั้นความเลวทั้งปวง จงหมั่นนำมาประพฤติปฏิบัติเถิด
๓. เศรษฐีรวยทรัพย์ ต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอบริบประการหนึ่ง อาศัยทานบารมีที่มีแต่อดีตชาติหนึ่ง การสะสมพรหมวิหาร ๔ ก็เช่นกัน จักต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอบริบ ดูมันทุกวันว่า วันนี้เก็บพรหมวิหาร ๔ ไปได้เท่าใด
๔. สำหรับทานบารมีก็จักต้องอาศัย เพื่อวัดกำลังใจของการทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ หากพรหมวิหาร ๔ มีกำลังต่ำ การให้ทานก็เกิดขึ้นไม่ได้ จิตมันละโมบโลภมาก แม้แต่ทรัพย์สินนอกกายก็ไม่ยอมให้ใคร ถ้ามีกำลังปานกลาง การให้อามิสทานก็ยังมีการหวังผลเป็นการตอบแทน แต่ถ้ามีกำลังสูง การให้อามิสทานก็ให้โดยไม่มีการหวังผลตอบแทน รวมทั้งมีกำลังใจให้อภัยทานแก่บุคคลผู้หลงผิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ประพฤติผิดในพระธรรมวินัย ใครเขาจักมีอารมณ์โกรธ โลภ หลง ก็เรื่องของเขา แม้เขาจักด่า นินทา ชม สรรเสริญร่างกายของเรา จิตของเราก็ไม่หวั่นไหวไปกับถ้อยคำนั้น ๆ
๕. จิตมีพรหมวิหาร ๔ เต็ม มีอภัยทานอยู่เสมอ แม้ในบุคคลที่กระทำผิดในพระธรรมวินัย ก็ใช่ว่าจักโกรธแค้นขุ่นเคืองก็หาไม่ หากเตือนได้ก็เตือนด้วยจิตเมตตา กรุณา อารมณ์พระอรหันต์ไม่ข้องติดอยู่ในกรรมทั้งปวง จิตมีมุทิตาเยือกเย็นอยู่เสมอ หากเตือนไม่ได้ อุเบกขาก็ทรงตัวอยู่แล้ว ไม่มีอะไรจักทำให้จิตของพระอรหันต์พร่องได้จากพรหมวิหาร ๔