เถรี
07-03-2009, 00:07
วันนี้มีผู้มาใหม่ แต่ว่าไม่ได้ใหม่ในการปฏิบัติ เคยมีพื้นฐานการปฏิบัติมาแล้ว แต่ว่าต้องขอกล่าวถึงพื้นฐานการปฏิบัติเสียก่อน เพราะมีหลายท่านที่ลืม แม้แต่ผู้เก่าก็ลืม
ความรู้สึกของเราที่จะหลุดจากลมหายใจเข้าออกนั้น คือ ความกังวลใจ ภาษาบาลี เรียกว่า ปลิโพธ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ปลิโพธิ เป็นตัวสำคัญอย่างหนึ่ง ปลิโพธิ หรือความห่วงกังวลนั้น มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน เช่น ห่วงงาน ห่วงครอบครัว ห่วงการเดินทาง ห่วงความเจ็บไข้ได้ป่วย เหล่านี้เป็นต้น
ขอให้ทุกท่านทำใจว่า ตอนนี้เรานั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามมันไม่สามารถที่จะไปกระทำได้ ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ แม้กระทั่งความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ตาม ถ้ามันเกิดขึ้นตรงนี้ กำเริบขึ้นตรงนี้ เราขอแลกกับการทำความดีครั้งนี้ด้วยชีวิต หมายความว่า ถ้ามันจะตายลงไปในขณะที่เราทำความดีนี้ เราก็ยินดี ถ้าสามารถตัดใจดังนี้ได้ ความรู้สึกที่คอยแวบออกไปห่วงใยเรื่องต่าง ๆ ก็จะลดน้อยถอยลง กำลังใจก็จะยอมอยู่กับลมหายใจเข้าออกมากขึ้น การภาวนาก็จะทรงตัวได้ง่ายขึ้น
ประการต่อไปก็คือ ให้สังเกตดูว่า ใจของเรามีกิเลสหยาบ ๕ อย่าง คือ นิวรณ์ ๕ อยู่หรือไม่ ?
นิวรณ์ ๕ ข้อที่หนึ่งก็คือ กามฉันทะ ความพอใจในอารมณ์ระหว่างเพศ จะเป็นรูปสวย กลิ่นหอม เสียงเพราะ รสอร่อย หรือสัมผัสก็ตาม
ข้อที่สองคือ พยาบาท พยาปาทะนิวรณ์ คือการผูกโกรธ ความโกรธเป็นเรื่องปกติ แต่การผูกโกรธนี้มันอาฆาตแค้นยาวนาน จะโผล่ขึ้นมารบกวนเราเสมอในขณะที่ปฏิบัติความดี
ข้อที่สาม ถีนมิทธะ เป็นอาการง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ
ข้อที่สี่เรียก อุทธัจจกุกกุจจะ เป็นความหงุดหงิด รำคาญใจ
ข้อที่ห้า วิจิกิจฉา ลังเลว่าปฏิบัติไปแล้วจะมีผลจริงหรือไม่ ?
ถ้ากำลังใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก ทรงตัวมั่นคง นิวรณ์ทั้งห้าข้อนี้ไม่มี แต่ถ้าหากหลุดจากลมหายใจเมื่อไร นิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งก็ตามจะแทรกเข้ามาแทนที่ทันที คำว่านิวรณ์นั้นก็คือ กิเลสหยาบที่ทำให้ปัญญาถอยหลัง สร้างความลำบากให้แก่เราไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างใจ
ลองดูว่าขณะนี้ใจของเรามีนิวรณ์ทั้งห้านี้อยู่หรือไม่ ? ถ้ามีดึงกำลังใจทั้งหมดอยู่กับลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา ถ้าหากว่าไม่มีก็ให้สนใจจดจ่ออยู่กับคำภาวนาและลมหายใจเข้าออกของเรา ระมัดระวังไว้อย่าให้นิวรณ์แทรกเข้ามาได้
ความรู้สึกของเราที่จะหลุดจากลมหายใจเข้าออกนั้น คือ ความกังวลใจ ภาษาบาลี เรียกว่า ปลิโพธ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ปลิโพธิ เป็นตัวสำคัญอย่างหนึ่ง ปลิโพธิ หรือความห่วงกังวลนั้น มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน เช่น ห่วงงาน ห่วงครอบครัว ห่วงการเดินทาง ห่วงความเจ็บไข้ได้ป่วย เหล่านี้เป็นต้น
ขอให้ทุกท่านทำใจว่า ตอนนี้เรานั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามมันไม่สามารถที่จะไปกระทำได้ ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ แม้กระทั่งความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ตาม ถ้ามันเกิดขึ้นตรงนี้ กำเริบขึ้นตรงนี้ เราขอแลกกับการทำความดีครั้งนี้ด้วยชีวิต หมายความว่า ถ้ามันจะตายลงไปในขณะที่เราทำความดีนี้ เราก็ยินดี ถ้าสามารถตัดใจดังนี้ได้ ความรู้สึกที่คอยแวบออกไปห่วงใยเรื่องต่าง ๆ ก็จะลดน้อยถอยลง กำลังใจก็จะยอมอยู่กับลมหายใจเข้าออกมากขึ้น การภาวนาก็จะทรงตัวได้ง่ายขึ้น
ประการต่อไปก็คือ ให้สังเกตดูว่า ใจของเรามีกิเลสหยาบ ๕ อย่าง คือ นิวรณ์ ๕ อยู่หรือไม่ ?
นิวรณ์ ๕ ข้อที่หนึ่งก็คือ กามฉันทะ ความพอใจในอารมณ์ระหว่างเพศ จะเป็นรูปสวย กลิ่นหอม เสียงเพราะ รสอร่อย หรือสัมผัสก็ตาม
ข้อที่สองคือ พยาบาท พยาปาทะนิวรณ์ คือการผูกโกรธ ความโกรธเป็นเรื่องปกติ แต่การผูกโกรธนี้มันอาฆาตแค้นยาวนาน จะโผล่ขึ้นมารบกวนเราเสมอในขณะที่ปฏิบัติความดี
ข้อที่สาม ถีนมิทธะ เป็นอาการง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ
ข้อที่สี่เรียก อุทธัจจกุกกุจจะ เป็นความหงุดหงิด รำคาญใจ
ข้อที่ห้า วิจิกิจฉา ลังเลว่าปฏิบัติไปแล้วจะมีผลจริงหรือไม่ ?
ถ้ากำลังใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก ทรงตัวมั่นคง นิวรณ์ทั้งห้าข้อนี้ไม่มี แต่ถ้าหากหลุดจากลมหายใจเมื่อไร นิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งก็ตามจะแทรกเข้ามาแทนที่ทันที คำว่านิวรณ์นั้นก็คือ กิเลสหยาบที่ทำให้ปัญญาถอยหลัง สร้างความลำบากให้แก่เราไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างใจ
ลองดูว่าขณะนี้ใจของเรามีนิวรณ์ทั้งห้านี้อยู่หรือไม่ ? ถ้ามีดึงกำลังใจทั้งหมดอยู่กับลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา ถ้าหากว่าไม่มีก็ให้สนใจจดจ่ออยู่กับคำภาวนาและลมหายใจเข้าออกของเรา ระมัดระวังไว้อย่าให้นิวรณ์แทรกเข้ามาได้