ลัก...ยิ้ม
29-10-2010, 12:04
การไม่มีจิตกังวลได้ชื่อว่าเป็นสุข
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้
๑. “การไม่มีจิตกังวลชื่อว่าเป็นสุข เพราะได้ชื่อว่าปลอดจากกิเลส แม้แค่ชั่วขณะจิตหนึ่งก็สมควรจักพอใจ ตามปกติแล้วจิตมักจักมีอารมณ์ปรุงแต่งไปทางด้านอกุศลกรรม แค่เพียงระงับได้ชั่วคราวก็นับว่ามีกำไร อย่าลืมแม้เพียงกำหนดลมหายใจเข้าออกเฉย ๆ โดยไม่ภาวนาควบ ก็ยังอยู่ในขอบเขตพระกรรมฐาน อารมณ์นี้เป็นกุศลเพราะยังจิตให้เกิดความสงบได้”
๒. “จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น จะเป็นด้านกุศลหรืออกุศลก็ตาม ให้เห็นเป็นปกติธรรมของเขา ให้อยู่ในอารมณ์รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น แล้วจิตจักเป็นสุข”
๓. “บุคคลผู้ยังหนาไปด้วยสักกายทิฏฐิ มีเอกาธิปไตย ย่อมถือเอาทิฏฐิหรือความเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นของดี ถูกต้องเสมอ มีอารมณ์ “อีโก้”หรืออุปาทานสูง ซึ่งให้ผลได้ทั้งทางบวกและลบ แต่ส่วนใหญ่ใช้ไปในทางลบ หลงตนเองคือ เห็นผิดเป็นชอบทั้งสิ้น”
๔. “บุคคลเหล่านี้แหละ ที่ชอบตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่ แสดงความอวดรู้ด้วยปัญญาแห่งตน จึงมักสอนผู้อื่นตามความเข้าใจของตน นั่นเป็นกรรมของเขา จงอย่าไปขวาง”
๕. “บุคคลเหล่านี้รู้ไม่จริง แต่สำคัญตนว่ารู้จริง เพราะธรรมของตถาคตมิใช่ของตื้นเขิน เป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน สุขุม ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนคนธรรมดา ๆ จักพึงเข้าใจได้ ดังนั้นหากไม่เข้าใจจริงก็จงอย่าพูดตามอำเภอใจ ทางที่ถูกพวกเจ้าอย่าไปยุ่งกับกรรมของใคร ให้ดูอารมณ์ของตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมเป็นสำคัญเท่านั้นเป็นพอ”
๖. “จงอย่าติเขาว่าเลว เพราะเขากำลังถูกอกุศลกรรมเข้าครอบงำ ติเขาเมื่อไหร่ ใจของเราก็เลวเมื่อนั้น มองอารมณ์ของตนเอาไว้อย่าให้ชั่วก็แล้วกัน โดยยอมรับกฎธรรมดา หรือกฎของกรรมเข้าไว้ หรือจงอย่าไปแก้โง่ที่คนอื่น จักต้องแก้โง่ที่ตนเองให้หลุดพ้นไปเสียก่อน”
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้
๑. “การไม่มีจิตกังวลชื่อว่าเป็นสุข เพราะได้ชื่อว่าปลอดจากกิเลส แม้แค่ชั่วขณะจิตหนึ่งก็สมควรจักพอใจ ตามปกติแล้วจิตมักจักมีอารมณ์ปรุงแต่งไปทางด้านอกุศลกรรม แค่เพียงระงับได้ชั่วคราวก็นับว่ามีกำไร อย่าลืมแม้เพียงกำหนดลมหายใจเข้าออกเฉย ๆ โดยไม่ภาวนาควบ ก็ยังอยู่ในขอบเขตพระกรรมฐาน อารมณ์นี้เป็นกุศลเพราะยังจิตให้เกิดความสงบได้”
๒. “จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น จะเป็นด้านกุศลหรืออกุศลก็ตาม ให้เห็นเป็นปกติธรรมของเขา ให้อยู่ในอารมณ์รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น แล้วจิตจักเป็นสุข”
๓. “บุคคลผู้ยังหนาไปด้วยสักกายทิฏฐิ มีเอกาธิปไตย ย่อมถือเอาทิฏฐิหรือความเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นของดี ถูกต้องเสมอ มีอารมณ์ “อีโก้”หรืออุปาทานสูง ซึ่งให้ผลได้ทั้งทางบวกและลบ แต่ส่วนใหญ่ใช้ไปในทางลบ หลงตนเองคือ เห็นผิดเป็นชอบทั้งสิ้น”
๔. “บุคคลเหล่านี้แหละ ที่ชอบตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่ แสดงความอวดรู้ด้วยปัญญาแห่งตน จึงมักสอนผู้อื่นตามความเข้าใจของตน นั่นเป็นกรรมของเขา จงอย่าไปขวาง”
๕. “บุคคลเหล่านี้รู้ไม่จริง แต่สำคัญตนว่ารู้จริง เพราะธรรมของตถาคตมิใช่ของตื้นเขิน เป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน สุขุม ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนคนธรรมดา ๆ จักพึงเข้าใจได้ ดังนั้นหากไม่เข้าใจจริงก็จงอย่าพูดตามอำเภอใจ ทางที่ถูกพวกเจ้าอย่าไปยุ่งกับกรรมของใคร ให้ดูอารมณ์ของตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมเป็นสำคัญเท่านั้นเป็นพอ”
๖. “จงอย่าติเขาว่าเลว เพราะเขากำลังถูกอกุศลกรรมเข้าครอบงำ ติเขาเมื่อไหร่ ใจของเราก็เลวเมื่อนั้น มองอารมณ์ของตนเอาไว้อย่าให้ชั่วก็แล้วกัน โดยยอมรับกฎธรรมดา หรือกฎของกรรมเข้าไว้ หรือจงอย่าไปแก้โง่ที่คนอื่น จักต้องแก้โง่ที่ตนเองให้หลุดพ้นไปเสียก่อน”