ลัก...ยิ้ม
08-10-2010, 15:43
อารมณ์ใจร้อนเป็นปฏิฆะกับการบรรลุของพระอานนท์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตา ตรัสสอนไว้ ดังนี้
๑. อย่าฝืนอารมณ์ของจิต ให้ตามรู้อารมณ์ไปตลอด คิดชั่วก็รู้ คิดดีก็รู้ ให้ตามแก้ไขอารมณ์ชั่วที่ถูกกิเลสครอบงำด้วยกรรมฐานแก้จริต หากคิดดีอยู่แล้วก็หาทางส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น อย่างที่เจ้าทำเมื่อเย็นนี้นั้นถูกต้องแล้ว แม้ผลจักยังไม่ทรงตัวเท่าที่ควร ก็ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ อย่าท้อถอย
๒. การเข้าสู่สัจธรรมอยู่เสมอ ๆ นั้นเป็นของดี เพราะจักทำให้จิตยอมรับความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ค่อย ๆ ทำไปอย่าใจร้อน ทำไปเรื่อย ๆ อย่างมีเป้าหมาย ดีกว่าใจร้อน ทำไปด้วยอารมณ์ตัณหาทะยานอยาก หวังมรรคผลจนเกิดความเศร้าหมองแห่งจิต ทำเช่นนั้นไม่สมควร
๓. ให้ใจเย็นเข้าไว้ เป็นการฝึกสมาธิจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความสงบเยือกเย็น เป็นการละได้จากอารมณ์ใจร้อน ซึ่งเป็นปฏิฆะตัวหนึ่งเช่นกัน ถ้าหากเจ้ารักษาอารมณ์ใจไปอย่างนี้เรื่อย ๆ อารมณ์ใจร้อนก็จักคลายลงไป ขอให้ดูท่านพระอานนท์เป็นตัวอย่าง ทีท่านเคร่งเครียดรีบเร่ง จักให้มรรคผลบังเกิดขึ้นฉับพลัน ตลอดคืนยันรุ่งก็ไม่บรรลุ พออารมณ์เย็นลง ความเครียดผ่อนคลาย จิตเริ่มมีความสบาย ตั้งใจจักเอนกายลงพักผ่อน ก็บรรลุพระอรหันต์ที่ตรงนั้นเอง
๔. ที่กล่าวมานี้ เพื่อให้เจ้าได้เข้าใจถึงสภาพจิตในจิต ต้องอาศัยหลักมัชฌิมาปฏิปทาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของจิต ไม่ตึงไป ไม่หย่อนเกินไป ทำให้พอสบาย ๆ ใจเย็น ๆ เกี่ยวกับมรรคผลไปเรื่อย ๆ ก็จักถึงจุดหมายปลายทางได้เอง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตา ตรัสสอนไว้ ดังนี้
๑. อย่าฝืนอารมณ์ของจิต ให้ตามรู้อารมณ์ไปตลอด คิดชั่วก็รู้ คิดดีก็รู้ ให้ตามแก้ไขอารมณ์ชั่วที่ถูกกิเลสครอบงำด้วยกรรมฐานแก้จริต หากคิดดีอยู่แล้วก็หาทางส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น อย่างที่เจ้าทำเมื่อเย็นนี้นั้นถูกต้องแล้ว แม้ผลจักยังไม่ทรงตัวเท่าที่ควร ก็ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ อย่าท้อถอย
๒. การเข้าสู่สัจธรรมอยู่เสมอ ๆ นั้นเป็นของดี เพราะจักทำให้จิตยอมรับความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ค่อย ๆ ทำไปอย่าใจร้อน ทำไปเรื่อย ๆ อย่างมีเป้าหมาย ดีกว่าใจร้อน ทำไปด้วยอารมณ์ตัณหาทะยานอยาก หวังมรรคผลจนเกิดความเศร้าหมองแห่งจิต ทำเช่นนั้นไม่สมควร
๓. ให้ใจเย็นเข้าไว้ เป็นการฝึกสมาธิจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความสงบเยือกเย็น เป็นการละได้จากอารมณ์ใจร้อน ซึ่งเป็นปฏิฆะตัวหนึ่งเช่นกัน ถ้าหากเจ้ารักษาอารมณ์ใจไปอย่างนี้เรื่อย ๆ อารมณ์ใจร้อนก็จักคลายลงไป ขอให้ดูท่านพระอานนท์เป็นตัวอย่าง ทีท่านเคร่งเครียดรีบเร่ง จักให้มรรคผลบังเกิดขึ้นฉับพลัน ตลอดคืนยันรุ่งก็ไม่บรรลุ พออารมณ์เย็นลง ความเครียดผ่อนคลาย จิตเริ่มมีความสบาย ตั้งใจจักเอนกายลงพักผ่อน ก็บรรลุพระอรหันต์ที่ตรงนั้นเอง
๔. ที่กล่าวมานี้ เพื่อให้เจ้าได้เข้าใจถึงสภาพจิตในจิต ต้องอาศัยหลักมัชฌิมาปฏิปทาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของจิต ไม่ตึงไป ไม่หย่อนเกินไป ทำให้พอสบาย ๆ ใจเย็น ๆ เกี่ยวกับมรรคผลไปเรื่อย ๆ ก็จักถึงจุดหมายปลายทางได้เอง