ลัก...ยิ้ม
02-09-2010, 10:56
คนหลงขันธ์ ๕ อยากให้ขันธ์ ๕ อยู่นาน ๆ
ในวันเดียวกันนั้น หลวงปู่บุดดา ท่านก็เมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ว่า
๑. “คนหลงขันธ์ ๕ ก็อยากให้ขันธ์ ๕ ทรงอยู่นาน ๆ แต่คนใดหมดความหลงในขันธ์ ๕ แล้ว ก็หมดความอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ อยู่นาน ๆ ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เห็นปกติธรรมที่เกิดดับของขันธ์ ๕ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครจะฝืนกฎของกรรมได้”
๒. “เอ็งก็จงดูความทุกข์ของขันธ์ ๕ เข้าไว้ มันหาความปกติสุขไม่ได้เลย ไม่ว่าขันธ์ ๕ ของใครหรือขันธ์ ๕ ของเรา อย่าคิดแสวงหาความสุขของร่างกายเลย เพราะมันไม่จีรังยั่งยืน พยายามแสวงหาความสุขทางใจเข้าไว้ ขันธ์ ๕ มันจะเป็นเช่นไรก็ช่างมัน เอาพระธรรมเข้ามาทำให้จิตเป็นสุขสงบเยือกเย็นดีกว่า จิตจักพ้นทุกข์เพราะเข้าถึงธรรมนี้แหละ”
๓. “อย่าห่วงขันธ์ ๕ ของใคร และอย่าห่วงใจของใครให้มากไปกว่าห่วงใจของเรา ดูอารมณ์ใจเอาไว้ให้ดี ๆ ว่ามันเบียดเบียนขันธ์ ๕ ตัวเองและผู้อื่นหรือไม่ ดูเอาไว้ว่าอารมณ์ใจไปเบียดเบียนจิตตนเองและบุคคลอื่นหรือไม่”
๔. “การเบียดเบียนนั้นต้องไม่มีทางกาย วาจา และใจ ไม่เบียดเบียนทั้งธรรมภายในและภายนอก จึงจัดว่าเป็นสุขอย่างแท้จริง” (เพื่อนของผมฟังท่านสอนแล้ว ก็เข้าใจว่าธรรมภายนอก หมายถึง ไม่ใช้กาย วาจา ใจ ไปเบียดเบียนผู้อื่น และธรรมภายใน หมายถึง ไม่ใช้กาย วาจา ใจ มาเบียดเบียนตนเอง)
๕. “หลวงปู่ท่านก็บอกว่า “ใช่ แต่ยังคิดไม่ลึกซึ้งพอ มีเวลาก็คิดให้เป็น คิดให้ถูกอย่างนี้ก็แล้วกันนะ หลวงปู่ไปล่ะ”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ในวันเดียวกันนั้น หลวงปู่บุดดา ท่านก็เมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ว่า
๑. “คนหลงขันธ์ ๕ ก็อยากให้ขันธ์ ๕ ทรงอยู่นาน ๆ แต่คนใดหมดความหลงในขันธ์ ๕ แล้ว ก็หมดความอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ อยู่นาน ๆ ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เห็นปกติธรรมที่เกิดดับของขันธ์ ๕ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครจะฝืนกฎของกรรมได้”
๒. “เอ็งก็จงดูความทุกข์ของขันธ์ ๕ เข้าไว้ มันหาความปกติสุขไม่ได้เลย ไม่ว่าขันธ์ ๕ ของใครหรือขันธ์ ๕ ของเรา อย่าคิดแสวงหาความสุขของร่างกายเลย เพราะมันไม่จีรังยั่งยืน พยายามแสวงหาความสุขทางใจเข้าไว้ ขันธ์ ๕ มันจะเป็นเช่นไรก็ช่างมัน เอาพระธรรมเข้ามาทำให้จิตเป็นสุขสงบเยือกเย็นดีกว่า จิตจักพ้นทุกข์เพราะเข้าถึงธรรมนี้แหละ”
๓. “อย่าห่วงขันธ์ ๕ ของใคร และอย่าห่วงใจของใครให้มากไปกว่าห่วงใจของเรา ดูอารมณ์ใจเอาไว้ให้ดี ๆ ว่ามันเบียดเบียนขันธ์ ๕ ตัวเองและผู้อื่นหรือไม่ ดูเอาไว้ว่าอารมณ์ใจไปเบียดเบียนจิตตนเองและบุคคลอื่นหรือไม่”
๔. “การเบียดเบียนนั้นต้องไม่มีทางกาย วาจา และใจ ไม่เบียดเบียนทั้งธรรมภายในและภายนอก จึงจัดว่าเป็นสุขอย่างแท้จริง” (เพื่อนของผมฟังท่านสอนแล้ว ก็เข้าใจว่าธรรมภายนอก หมายถึง ไม่ใช้กาย วาจา ใจ ไปเบียดเบียนผู้อื่น และธรรมภายใน หมายถึง ไม่ใช้กาย วาจา ใจ มาเบียดเบียนตนเอง)
๕. “หลวงปู่ท่านก็บอกว่า “ใช่ แต่ยังคิดไม่ลึกซึ้งพอ มีเวลาก็คิดให้เป็น คิดให้ถูกอย่างนี้ก็แล้วกันนะ หลวงปู่ไปล่ะ”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com