เถรี
27-08-2010, 23:31
อบรมที่เกาะพระฤๅษี วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐
วันนี้เป็นวันพระสิ้นเดือน พวกคุณได้เตรียมรถเอาไว้ไปปาฏิโมกข์กันหรือยัง ? เพราะว่าเดี๋ยวผมต้องเข้ากรุงเทพฯ แวะหลายที่กว่าจะถึง เรื่องของการฟังพระปาฏิโมกข์ เป็นการทวนศีลของเรา ความจริงเราทวนเองก็ได้
แต่ว่าการไปฟังปาฏิโมกข์นั้น อันดับแรก เป็นความสามัคคีในหมู่คณะ อันดับที่สอง ได้ทวนศีลของตัวเอง อันดับที่สาม เมื่อรู้ว่าตนเองมีข้อบกพร่องที่ไหน ก็จะแสดงคืนอาบัติตรงจุดนั้น เรื่องของการฟังพระปาฏิโมกข์ พระพุทธเจ้าท่านให้ความสำคัญที่สุด
พระมหากัปปินเถระ* ท่านเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน ท่านนี้สุดยอดในความเลื่อมใสพระพุทธเจ้า พอท่านทราบว่ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็สละราชสมบัติเลย ทิ้งอย่างชนิดไม่ใยดี ขี่ม้าตรงไปที่ ๆ มั่นใจว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่
ปรากฏว่าไปเจอแม่น้ำใหญ่ขวางหน้า ท่านตั้งใจว่า ในเมื่อคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่อย่างแท้จริงในโลก ท่านเองต้องการที่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ในเมื่อแม่น้ำใหญ่ขวางหน้า ท่านก็จะขอผ่านไปด้วยพุทธานุภาพนี้แหละ
ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าที่ท่านได้ข่าวว่ามีอยู่นั้น เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ก็ขออย่าให้น้ำนั้นเปียกแม้แต่ข้อเท้าม้าเลย แล้วท่านก็ขี่ม้าผ่านน้ำไปได้จริง ๆ
ท่านบวชไม่นานก็เป็นพระอรหันต์ มีอยู่วันหนึ่ง ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่า คุณจะสังเกตว่าพระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้งกิจวัตร ในเรื่องของทาน ของศีล ของภาวนา ท่านยังทำอยู่เป็นปรกติ เพื่อความอยู่สุขในปัจจุบันตอนนั้น เพื่อเป็นความไม่ประมาท จะได้ทบทวนอยู่เสมอว่า ตอนนี้จิตมีความชั่วแทรกเข้ามาได้หรือเปล่า ?
ท่านเดินจงกรมอยู่ในป่า ปรากฏว่าเห็นพระจันทร์เต็มดวง ขอให้จำไว้แม่น ๆ ว่าวันที่พระจันทร์เต็มดวงจริง ๆ นั้น พระจันทร์จะขึ้นก่อนพระอาทิตย์ตก พอท่านเห็นว่าพระจันทร์เต็มดวง ท่านก็นึกได้ว่า วันนี้เป็นวันปาฏิโมกข์ แล้วท่านก็คิดว่า
“เออ..เราอยู่ในป่า อยู่ไกล การไปฟังพระปาฏิโมกข์ เท่ากับเป็นการทวนศีลของตัวเอง แต่ว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ต้องไปก็น่าจะได้”
พระพุทธเจ้าอยู่ที่พระคันธกุฎี ในพระเชตวันมหาวิหารโน่น ทรงทราบความคิดนี้จึงเปล่งฉัพพรรณรังสีไปปรากฏเฉพาะหน้า เหมือนกับพระองค์ไปเอง ตรัสว่า “ดูก่อน..กัปปินะ ถ้าหากว่าภิกษุทุกรูปคิดอย่างเธอ ศาสนานี้จะตั้งอยู่ไม่ได้”
นั่นพระอรหันต์นะ พระพุทธเจ้าท่านยังไม่ยอมผ่อนปรนให้เลย เพราะว่าทุกอย่างถ้าหากว่าขันให้ตึงไว้ ถ้าผ่อนก็จะพอดี แต่ถ้าขืนปล่อยให้หย่อน ผ่อนเมื่อไรก็จะยาน แล้วเราจะเอาดีไม่ได้
หมายเหตุ :
* พระสุตตันตปิฎก : อังคุตตรนิกาย : เอกนิบาต - ทุกนิบาต - ติกนิบาต : เอตทัคคะปาลิ : เอตทัคควรรค : วรรคที่ ๔
วันนี้เป็นวันพระสิ้นเดือน พวกคุณได้เตรียมรถเอาไว้ไปปาฏิโมกข์กันหรือยัง ? เพราะว่าเดี๋ยวผมต้องเข้ากรุงเทพฯ แวะหลายที่กว่าจะถึง เรื่องของการฟังพระปาฏิโมกข์ เป็นการทวนศีลของเรา ความจริงเราทวนเองก็ได้
แต่ว่าการไปฟังปาฏิโมกข์นั้น อันดับแรก เป็นความสามัคคีในหมู่คณะ อันดับที่สอง ได้ทวนศีลของตัวเอง อันดับที่สาม เมื่อรู้ว่าตนเองมีข้อบกพร่องที่ไหน ก็จะแสดงคืนอาบัติตรงจุดนั้น เรื่องของการฟังพระปาฏิโมกข์ พระพุทธเจ้าท่านให้ความสำคัญที่สุด
พระมหากัปปินเถระ* ท่านเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน ท่านนี้สุดยอดในความเลื่อมใสพระพุทธเจ้า พอท่านทราบว่ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็สละราชสมบัติเลย ทิ้งอย่างชนิดไม่ใยดี ขี่ม้าตรงไปที่ ๆ มั่นใจว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่
ปรากฏว่าไปเจอแม่น้ำใหญ่ขวางหน้า ท่านตั้งใจว่า ในเมื่อคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่อย่างแท้จริงในโลก ท่านเองต้องการที่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ในเมื่อแม่น้ำใหญ่ขวางหน้า ท่านก็จะขอผ่านไปด้วยพุทธานุภาพนี้แหละ
ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าที่ท่านได้ข่าวว่ามีอยู่นั้น เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ก็ขออย่าให้น้ำนั้นเปียกแม้แต่ข้อเท้าม้าเลย แล้วท่านก็ขี่ม้าผ่านน้ำไปได้จริง ๆ
ท่านบวชไม่นานก็เป็นพระอรหันต์ มีอยู่วันหนึ่ง ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่า คุณจะสังเกตว่าพระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้งกิจวัตร ในเรื่องของทาน ของศีล ของภาวนา ท่านยังทำอยู่เป็นปรกติ เพื่อความอยู่สุขในปัจจุบันตอนนั้น เพื่อเป็นความไม่ประมาท จะได้ทบทวนอยู่เสมอว่า ตอนนี้จิตมีความชั่วแทรกเข้ามาได้หรือเปล่า ?
ท่านเดินจงกรมอยู่ในป่า ปรากฏว่าเห็นพระจันทร์เต็มดวง ขอให้จำไว้แม่น ๆ ว่าวันที่พระจันทร์เต็มดวงจริง ๆ นั้น พระจันทร์จะขึ้นก่อนพระอาทิตย์ตก พอท่านเห็นว่าพระจันทร์เต็มดวง ท่านก็นึกได้ว่า วันนี้เป็นวันปาฏิโมกข์ แล้วท่านก็คิดว่า
“เออ..เราอยู่ในป่า อยู่ไกล การไปฟังพระปาฏิโมกข์ เท่ากับเป็นการทวนศีลของตัวเอง แต่ว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ต้องไปก็น่าจะได้”
พระพุทธเจ้าอยู่ที่พระคันธกุฎี ในพระเชตวันมหาวิหารโน่น ทรงทราบความคิดนี้จึงเปล่งฉัพพรรณรังสีไปปรากฏเฉพาะหน้า เหมือนกับพระองค์ไปเอง ตรัสว่า “ดูก่อน..กัปปินะ ถ้าหากว่าภิกษุทุกรูปคิดอย่างเธอ ศาสนานี้จะตั้งอยู่ไม่ได้”
นั่นพระอรหันต์นะ พระพุทธเจ้าท่านยังไม่ยอมผ่อนปรนให้เลย เพราะว่าทุกอย่างถ้าหากว่าขันให้ตึงไว้ ถ้าผ่อนก็จะพอดี แต่ถ้าขืนปล่อยให้หย่อน ผ่อนเมื่อไรก็จะยาน แล้วเราจะเอาดีไม่ได้
หมายเหตุ :
* พระสุตตันตปิฎก : อังคุตตรนิกาย : เอกนิบาต - ทุกนิบาต - ติกนิบาต : เอตทัคคะปาลิ : เอตทัคควรรค : วรรคที่ ๔