เถรี
21-08-2010, 12:18
ถาม : จริง ๆ แล้วชีวิตคนเรา อยู่ที่เรากำหนดเองหรืออยู่ที่กรรมกำหนด ?
ตอบ : เราทำกรรม แล้วกรรมนั้นเป็นตัวบังคับให้เป็นไป เคยได้ยินโบราณเขาว่าไหม ? สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนนำทาง
สี่คนหาม ก็คือสภาพร่างกายของเรา ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม สามคนแห่ คือ สภาพของความปกติธรรมดา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ต้องมีกันทุกคน คนหนึ่งนั่งแคร่ คือตัวเราที่เป็นจิตอาศัยอยู่ในร่างกายนี้ สองคนนำทาง ก็คือ ความดีความชั่ว หรือบุญบาปที่เราทำสร้างเอาไว้ ถึงเวลาก็จะนำเราไป
ฉะนั้น..เราเป็นคนทำ ในเมื่อเราทำ ถึงเวลาผลดีผลชั่วส่งผลขึ้นมา เรากลับไปยินดีรับแต่ผลดี แล้วไม่ยินดีรับในสิ่งที่ไม่ดี ก็เลยทำให้สภาพจิตของเราดิ้นรน จนเกิดความทุกข์มากเป็นพิเศษ กลายเป็นว่าทุกข์เพราะเราไปดิ้นรนเอง
แต่ถ้าสภาพจิตเรายอมรับได้ว่า เราทำเราก็ต้องรับ ถ้าสภาพจิตยอมรับอย่างนั้น เห็นเป็นธรรมดา ความดิ้นรนมีน้อย ความทุกข์ก็จะน้อยไปด้วย
ฉะนั้น..ตอบคำถามของโยมตรง ๆ ก็คือ เราทำ แต่สิ่งที่เราทำนั้นส่งผลให้เราเป็น อย่างพรหมลิขิตก็คือตัวเราทำให้เป็นไปเอง
อยากจะได้ในสิ่งที่ดี ๆ แต่ไม่ทำสิ่งที่ดี ๆ ให้ต่อเนื่อง ไปทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง ถึงเวลาความดีมาสนองก็ยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ ถึงเวลาความชั่วเข้ามาก็เดือดร้อนทุกข์ใจ รำคาญใจ กลายเป็นว่าสภาพจิตหาความเที่ยงไม่ได้ เดี๋ยวก็ฟูด้วยความยินดี เดี๋ยวก็ฟุบด้วยความยินร้าย ก็เท่ากับว่าเราสร้างทุกข์ให้แก่ตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ถ้าหากสภาพจิตของเราเป็นกลาง มั่นคง ไม่ยินดียินร้ายตามอารมณ์ต่าง ๆ ได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เราหวั่นไหวได้ พระพุทธเจ้าท่านเปรียบว่า เหมือนกับภูเขาหินที่เป็นแท่งทึบ แรงลมพัดมาเท่าไรก็ไม่หวั่นไหว ถ้าอย่างนั้นเราเองก็ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะบรรดาโลกธรรมและสุขทุกข์ต่าง ๆ
ตอบ : เราทำกรรม แล้วกรรมนั้นเป็นตัวบังคับให้เป็นไป เคยได้ยินโบราณเขาว่าไหม ? สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนนำทาง
สี่คนหาม ก็คือสภาพร่างกายของเรา ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม สามคนแห่ คือ สภาพของความปกติธรรมดา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ต้องมีกันทุกคน คนหนึ่งนั่งแคร่ คือตัวเราที่เป็นจิตอาศัยอยู่ในร่างกายนี้ สองคนนำทาง ก็คือ ความดีความชั่ว หรือบุญบาปที่เราทำสร้างเอาไว้ ถึงเวลาก็จะนำเราไป
ฉะนั้น..เราเป็นคนทำ ในเมื่อเราทำ ถึงเวลาผลดีผลชั่วส่งผลขึ้นมา เรากลับไปยินดีรับแต่ผลดี แล้วไม่ยินดีรับในสิ่งที่ไม่ดี ก็เลยทำให้สภาพจิตของเราดิ้นรน จนเกิดความทุกข์มากเป็นพิเศษ กลายเป็นว่าทุกข์เพราะเราไปดิ้นรนเอง
แต่ถ้าสภาพจิตเรายอมรับได้ว่า เราทำเราก็ต้องรับ ถ้าสภาพจิตยอมรับอย่างนั้น เห็นเป็นธรรมดา ความดิ้นรนมีน้อย ความทุกข์ก็จะน้อยไปด้วย
ฉะนั้น..ตอบคำถามของโยมตรง ๆ ก็คือ เราทำ แต่สิ่งที่เราทำนั้นส่งผลให้เราเป็น อย่างพรหมลิขิตก็คือตัวเราทำให้เป็นไปเอง
อยากจะได้ในสิ่งที่ดี ๆ แต่ไม่ทำสิ่งที่ดี ๆ ให้ต่อเนื่อง ไปทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง ถึงเวลาความดีมาสนองก็ยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ ถึงเวลาความชั่วเข้ามาก็เดือดร้อนทุกข์ใจ รำคาญใจ กลายเป็นว่าสภาพจิตหาความเที่ยงไม่ได้ เดี๋ยวก็ฟูด้วยความยินดี เดี๋ยวก็ฟุบด้วยความยินร้าย ก็เท่ากับว่าเราสร้างทุกข์ให้แก่ตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ถ้าหากสภาพจิตของเราเป็นกลาง มั่นคง ไม่ยินดียินร้ายตามอารมณ์ต่าง ๆ ได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เราหวั่นไหวได้ พระพุทธเจ้าท่านเปรียบว่า เหมือนกับภูเขาหินที่เป็นแท่งทึบ แรงลมพัดมาเท่าไรก็ไม่หวั่นไหว ถ้าอย่างนั้นเราเองก็ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะบรรดาโลกธรรมและสุขทุกข์ต่าง ๆ