โอรส
02-08-2010, 01:56
ถาม : ขอถามเรื่องที่เกี่ยวกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นแก่นแท้..ถ้าเกิดมีคนถามผมว่า พระพุทธศาสนาสอนอะไร ผมก็เลย..?
ตอบ : ถ้าในลักษณะนั้นให้ตอบว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักจริง ๆ ก็คือ “โอวาทปาฏิโมกข์”
ท่านสอนว่า “ให้ทุกคนละความชั่วทั้งหมด ทำความดีให้ถึงพร้อม รักษาจิตใจของตนให้เบิกบานผ่องใสอยู่เสมอ” นี่เป็นเนื้อหาคำสอนหลักของท่าน
แต่ว่าก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าท่านสรุปลงคำว่า “ไม่ประมาท” คำเดียว นั่นหนักเกินไป ต้องคนที่เข้าถึงธรรมะระดับที่เรียกว่าสูงมาก ถึงจะเห็นตัวนี้ชัดเจน
ตอนที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ พระองค์ท่านสรุปเอาไว้ดังนี้ว่า
"ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา" ขันติเป็นตบะอย่างยิ่งของนักปฎิบัติ ก็หมายความว่า คนที่ปฎิบัติต้องอาศัยความอดทนเป็นหลักเลย
"นิพพานัง ปรมัง วะทันติ พุทธา" พระพุทธเจ้าทุกองค์ย่อมกล่าวถึงพระนิพพานเหมือนกัน
"นะหิ ปัพพชิโต ปะรูปะฆาตี" การฆ่าผู้อื่นไม่ชื่อว่าบรรพชิต แตะนิดเดียวก็ไม่ได้
"สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต" ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่เรียกว่าสมณะ
แล้วพระองค์ท่านก็บอกวิธีการปฏิบัติต่อไปว่าว่า "อนูปะวาโท" ต้องไม่ว่าร้ายใคร "อนูปะฆาโต" ต้องไม่ทำร้ายใคร
"ปาฎิโมก เข จะสังวะโร" ให้สำรวมในศีลของเราเอาไว้ เรามี ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อย่างไร ต้องระมัดระวังทุกสิกขาบทให้ดี
ตอบ : ถ้าในลักษณะนั้นให้ตอบว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักจริง ๆ ก็คือ “โอวาทปาฏิโมกข์”
ท่านสอนว่า “ให้ทุกคนละความชั่วทั้งหมด ทำความดีให้ถึงพร้อม รักษาจิตใจของตนให้เบิกบานผ่องใสอยู่เสมอ” นี่เป็นเนื้อหาคำสอนหลักของท่าน
แต่ว่าก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าท่านสรุปลงคำว่า “ไม่ประมาท” คำเดียว นั่นหนักเกินไป ต้องคนที่เข้าถึงธรรมะระดับที่เรียกว่าสูงมาก ถึงจะเห็นตัวนี้ชัดเจน
ตอนที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ พระองค์ท่านสรุปเอาไว้ดังนี้ว่า
"ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา" ขันติเป็นตบะอย่างยิ่งของนักปฎิบัติ ก็หมายความว่า คนที่ปฎิบัติต้องอาศัยความอดทนเป็นหลักเลย
"นิพพานัง ปรมัง วะทันติ พุทธา" พระพุทธเจ้าทุกองค์ย่อมกล่าวถึงพระนิพพานเหมือนกัน
"นะหิ ปัพพชิโต ปะรูปะฆาตี" การฆ่าผู้อื่นไม่ชื่อว่าบรรพชิต แตะนิดเดียวก็ไม่ได้
"สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต" ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่เรียกว่าสมณะ
แล้วพระองค์ท่านก็บอกวิธีการปฏิบัติต่อไปว่าว่า "อนูปะวาโท" ต้องไม่ว่าร้ายใคร "อนูปะฆาโต" ต้องไม่ทำร้ายใคร
"ปาฎิโมก เข จะสังวะโร" ให้สำรวมในศีลของเราเอาไว้ เรามี ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อย่างไร ต้องระมัดระวังทุกสิกขาบทให้ดี