ลัก...ยิ้ม
22-06-2010, 08:17
พรหมวิหาร ๔ ต้องเต็มทุกข้อ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสให้ ดังนี้
๑. “หมั่นเอาจิตจดจ่อ พิจารณาพรหมวิหาร ๔ ให้เนือง ๆ ด้วย พยายามให้เกิดแก่อารมณ์ของตนเองเป็นสำคัญ เมตตาภายในให้เต็มเสียก่อน จึงค่อยคิดเมตตาออกภายนอก”
๒. “ที่จิตของเจ้ามีความวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ เพราะพรหมวิหาร ๔ อ่อน ไม่เมตตาจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้เบียดเบียนตนเองอยู่เสมอมิได้ขาด เจ้าจงอย่าทิ้งกรรมฐานบทนี้ พยายามทำควบคู่ไว้กับมรณาและกายคตา และอสุภะและอุปสมา โดยอาศัยอานาปานุสติเป็นพื้นฐานยังจิตให้มีกำลัง”
๓. “การพิจารณาก็ต้องให้เห็นทุกข์ อันเกิดจากอารมณ์เบียดเบียนจิตของตนเอง อันมีสาเหตุมาจากพรหมวิหาร ๔ ไม่ทรงตัว ขาดกรรมฐานบทนี้ตัวใดตัวหนึ่งใน ๔ ตัว จิตของเจ้าก็ไม่พ้นจากอารมณ์ที่เบียดเบียนตนเอง และไม่พ้นจากอารมณ์ที่ไปเบียดเบียนผู้อื่น แล้วไม่พ้นจากโลกธรรมที่เข้ามากระทบอารมณ์ของจิต”
๔. “การขาดพรหมวิหาร ๔ หรือทรงพรหมวิหาร ๔ ไม่ครบทุกตัว ธรรมแห่งการถูกเบียดเบียนก็จักกระทบเข้ามาเป็นลูกโซ่ ดังนั้น ขอให้พวกเจ้าใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี ๆ จักได้เป็นแนวทางปฏิบัติ ทำพรหมวิหาร ๔ ให้เต็มได้”
๕. “แล้วอย่าทิ้งอิทธิบาท ๔ เสียล่ะ จรณะ ๑๕ ก็ต้องทรงให้ครบ ใช้วิชชาทั้ง ๘ คือญาณทั้ง ๘ หรือมโนมยิทธินั้นกำหนดรู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นเครื่องประกอบศึกษาธรรมหมวดพรหมวิหาร ๔ ไปด้วย จักได้รู้ว่า ผลของการขาดพรหมวิหาร ๔ มีผลส่งทำให้เกิดกรรมเช่นใด และจักได้รู้ผลของการรักษาพรหมวิหาร ๔ ถ้าครบอนาคตจักเป็นเช่นใด และรู้ผลของจิตปัจจุบันที่กำลังทำความเพียรอยู่ในขณะนี้ มีอารมณ์เช่นใด”
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสให้ ดังนี้
๑. “หมั่นเอาจิตจดจ่อ พิจารณาพรหมวิหาร ๔ ให้เนือง ๆ ด้วย พยายามให้เกิดแก่อารมณ์ของตนเองเป็นสำคัญ เมตตาภายในให้เต็มเสียก่อน จึงค่อยคิดเมตตาออกภายนอก”
๒. “ที่จิตของเจ้ามีความวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ เพราะพรหมวิหาร ๔ อ่อน ไม่เมตตาจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้เบียดเบียนตนเองอยู่เสมอมิได้ขาด เจ้าจงอย่าทิ้งกรรมฐานบทนี้ พยายามทำควบคู่ไว้กับมรณาและกายคตา และอสุภะและอุปสมา โดยอาศัยอานาปานุสติเป็นพื้นฐานยังจิตให้มีกำลัง”
๓. “การพิจารณาก็ต้องให้เห็นทุกข์ อันเกิดจากอารมณ์เบียดเบียนจิตของตนเอง อันมีสาเหตุมาจากพรหมวิหาร ๔ ไม่ทรงตัว ขาดกรรมฐานบทนี้ตัวใดตัวหนึ่งใน ๔ ตัว จิตของเจ้าก็ไม่พ้นจากอารมณ์ที่เบียดเบียนตนเอง และไม่พ้นจากอารมณ์ที่ไปเบียดเบียนผู้อื่น แล้วไม่พ้นจากโลกธรรมที่เข้ามากระทบอารมณ์ของจิต”
๔. “การขาดพรหมวิหาร ๔ หรือทรงพรหมวิหาร ๔ ไม่ครบทุกตัว ธรรมแห่งการถูกเบียดเบียนก็จักกระทบเข้ามาเป็นลูกโซ่ ดังนั้น ขอให้พวกเจ้าใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี ๆ จักได้เป็นแนวทางปฏิบัติ ทำพรหมวิหาร ๔ ให้เต็มได้”
๕. “แล้วอย่าทิ้งอิทธิบาท ๔ เสียล่ะ จรณะ ๑๕ ก็ต้องทรงให้ครบ ใช้วิชชาทั้ง ๘ คือญาณทั้ง ๘ หรือมโนมยิทธินั้นกำหนดรู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นเครื่องประกอบศึกษาธรรมหมวดพรหมวิหาร ๔ ไปด้วย จักได้รู้ว่า ผลของการขาดพรหมวิหาร ๔ มีผลส่งทำให้เกิดกรรมเช่นใด และจักได้รู้ผลของการรักษาพรหมวิหาร ๔ ถ้าครบอนาคตจักเป็นเช่นใด และรู้ผลของจิตปัจจุบันที่กำลังทำความเพียรอยู่ในขณะนี้ มีอารมณ์เช่นใด”