ลัก...ยิ้ม
06-05-2010, 11:50
เรื่องอารมณ์ราคะ กับปฏิฆะ
จากนั้นสมเด็จองค์ปฐมก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนต่อ เรื่องอารมณ์ ๒ ให้ ดังนี้
๑. “เจ้าจงหมั่นดึงอารมณ์ให้ช้าลงด้วยอานาปานุสติ ควบคู่กับภาพพระในอก”
๒. “ที่ยังหุนหันพลันแล่นเพราะอารมณ์จิตมันร้อน ใจเร็วเกินไปหน่อย ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่มีอารมณ์ใคร่ครวญ กามฉันทะ ปฏิฆะกระทบทีไร อารมณ์จึงเตลิดไปก่อนทุกที”
๓. "นิสัมมะ กะระณัง เสยโย ยังอ่อนเกินไป สติไม่ไว รู้ไม่เท่าทันความคิด ต้องพยายามรู้ลม จับภาพพระ โจทย์จิตตนเองไว้เสมอ ๆ”
๔. “เพ่งโทษของความรัก และความโกรธเข้าไว้เนือง ๆ แต่รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ”
๕. “ให้พิจารณาขันธ์ ๕ ของตนเองและผู้อื่นว่า ในที่สุดก็ต้องตาย ขันธ์ ๕ มีแต่ความเสื่อมสกปรกหมด ถ้าหากไม่ชำระจิตให้สะอาดดีแล้ว ก็ต้องจุติสู่ภพสู่ชาติกันอีกต่อไป จักมานั่งรัก นั่งโกรธขันธ์ ๕ ของตนและบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อันใด เพราะขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ มันไม่เที่ยง เป็นเพียงธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ เข้ามาประชุมกันชั่วครั้งชั่วคราว ขันธ์ ๕ ทุกรูปทุกนามเต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยโทษ ยิ่งมัวเมาอยู่ในอารมณ์ราคะ ปฏิฆะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องกลับมาเกิดพบกับขันธ์ ๕ ที่เต็มไปด้วยโทษและทุกข์เช่นนี้อีก”
๖. “การมีขันธ์ ๕ กรรมที่ล่วงปัญจเวรทั้ง ๕ มาแต่อดีตชาติ ก็เข้ามาเล่นงานได้ตามวาระ ไม่มีใครอยากได้ขันธ์ ๕ ที่เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะกฎของกรรมเยี่ยงนั้น แต่สภาพจริง ๆ ของขันธ์ ๕ ก็เป็นเยี่ยงนี้เป็นปกติ เกิดเป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ มีชีวิตอยู่ก็พลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีการกระทบกระทั่งของอารมณ์เป็นต้นเหตุ”
หมายเหตุ นิสมฺม กรณํ เสยฺโย .. ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
จากนั้นสมเด็จองค์ปฐมก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนต่อ เรื่องอารมณ์ ๒ ให้ ดังนี้
๑. “เจ้าจงหมั่นดึงอารมณ์ให้ช้าลงด้วยอานาปานุสติ ควบคู่กับภาพพระในอก”
๒. “ที่ยังหุนหันพลันแล่นเพราะอารมณ์จิตมันร้อน ใจเร็วเกินไปหน่อย ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่มีอารมณ์ใคร่ครวญ กามฉันทะ ปฏิฆะกระทบทีไร อารมณ์จึงเตลิดไปก่อนทุกที”
๓. "นิสัมมะ กะระณัง เสยโย ยังอ่อนเกินไป สติไม่ไว รู้ไม่เท่าทันความคิด ต้องพยายามรู้ลม จับภาพพระ โจทย์จิตตนเองไว้เสมอ ๆ”
๔. “เพ่งโทษของความรัก และความโกรธเข้าไว้เนือง ๆ แต่รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ”
๕. “ให้พิจารณาขันธ์ ๕ ของตนเองและผู้อื่นว่า ในที่สุดก็ต้องตาย ขันธ์ ๕ มีแต่ความเสื่อมสกปรกหมด ถ้าหากไม่ชำระจิตให้สะอาดดีแล้ว ก็ต้องจุติสู่ภพสู่ชาติกันอีกต่อไป จักมานั่งรัก นั่งโกรธขันธ์ ๕ ของตนและบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อันใด เพราะขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ มันไม่เที่ยง เป็นเพียงธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ เข้ามาประชุมกันชั่วครั้งชั่วคราว ขันธ์ ๕ ทุกรูปทุกนามเต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยโทษ ยิ่งมัวเมาอยู่ในอารมณ์ราคะ ปฏิฆะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องกลับมาเกิดพบกับขันธ์ ๕ ที่เต็มไปด้วยโทษและทุกข์เช่นนี้อีก”
๖. “การมีขันธ์ ๕ กรรมที่ล่วงปัญจเวรทั้ง ๕ มาแต่อดีตชาติ ก็เข้ามาเล่นงานได้ตามวาระ ไม่มีใครอยากได้ขันธ์ ๕ ที่เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะกฎของกรรมเยี่ยงนั้น แต่สภาพจริง ๆ ของขันธ์ ๕ ก็เป็นเยี่ยงนี้เป็นปกติ เกิดเป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ มีชีวิตอยู่ก็พลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีการกระทบกระทั่งของอารมณ์เป็นต้นเหตุ”
หมายเหตุ นิสมฺม กรณํ เสยฺโย .. ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ