เถรี
28-02-2010, 11:21
เมื่อนั่งได้ที่แล้ว ก็นึกถึงลมหายใจเข้าออกของเราเป็นปกติ ลมหายใจเข้าออกเป็นสิ่งที่ทิ้งไม่ได้เด็ดขาด ลืมลมหายใจเข้าออกเมื่อไร กิเลสตีตายเมื่อนั้น..!
สำหรับวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานประจำเดือนกุมภาพันธ์ของเราในวันสุดท้าย ในเรื่องของการปฏิบัตินั้น ได้ย้ำนักย้ำหนาอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาว่า เมื่อทำได้แล้ว ให้พยายามประคับประคองเพื่อรักษาอารมณ์ ให้อยู่กับเราให้ได้นานที่สุด ก็ขออาศัยระยะเวลาที่ว่างเว้นจากการปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือน ลองดูว่าเราสามารถประคองอารมณ์ใจของเรา เพื่อรักษาอารมณ์ให้ทรงตัวได้โดยไม่พลาด ได้นานกี่วัน ?
เรื่องอย่างนี้ต้องซ้อมกันบ่อย ๆ เพราะถ้าหากไม่ซ้อมเอาไว้ เราจะยืนระยะไม่เป็น เมื่อยืนระยะไม่เป็น ถึงเวลาชนกับกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง เราก็จะไม่มีความคล่องตัวที่จะไปสู้กับเขา และไม่มีกำลังที่จะยืนหยัดต่อต้านเขาได้นานเท่าที่ต้องการ
อีกข้อหนึ่งก็คือ การซ้อมเข้าฌานออกฌานของเรา หลายต่อหลายท่านปฏิบัติมา เป็นระยะเวลานับสิบปีหรือหลายสิบปีแล้ว แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะต่อต้านอำนาจของ รัก โลภ โกรธ หลง ได้อย่างใจ เพราะขาดความคล่องตัวในการเข้าออกฌาน ถ้าหากว่าซ้อมจนคล่องตัวจริง ๆ สามารถเข้าได้ทุกเมื่อที่เราต้องการ ถ้ารู้สึกว่าราคะมา โลภะมา โทสะมา โมหะมา เราเข้าฌานหนีได้ทันที ถ้าสมาธิทรงตัวเมื่อไร ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ จะไม่มีอำนาจกินใจเราได้เลย ยกเว้นว่าหลุดจากสมาธิเมื่อไรค่อยว่ากันใหม่
เมื่อฟังมาถึงตรงนี้ ทุกท่านคงเห็นแล้วว่าการซ้อมเข้าออกฌานนั้น จริง ๆ แล้วสำคัญมาก ๆ เหมือนกับนักมวยซ้อมเพื่อความคล่องตัว ก่อนที่จะขึ้นเวทีไปชกกับคู่ต่อสู้ ถ้าหากว่าเราไม่ได้ซ้อมให้เกิดความคล่องตัว ไม่รู้จักสมมติสถานการณ์ ถึงเวลาเจอสถานการณ์จริงเข้า เราก็ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไร โอกาสที่จะแพ้ก็มีสูง
การขยันหมั่นซ้อมบ่อย ๆ เป็นคุณสมบัติที่ดีของนักปฏิบัติ โดยเฉพาะการมีความเพียร ความอดทนบากบั่นไม่ท้อถอย เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัตินั้นเป็นการค่อย ๆ สั่งสมความดีของเรา ทีละเล็กทีละน้อย เหมือนน้ำทีละหยด ๆ ถ้าเราไม่มีความอดทนไม่มีความพากเพียร ระยะแรก ๆ เราแทบมองไม่เห็นว่าเรามีน้ำหรือยัง เพราะว่าภาชนะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างใหญ่
สมมติว่าเป็นตุ่มน้ำ บรรจุเสีย ๘๐ ปีบ พอถึงเวลาน้ำหยดลงไปไม่กี่หยด มองไม่เห็นเลยว่าน้ำอยู่ตรงไหน แต่ถ้ามีความอดทน มีความพากเพียร ค่อย ๆ ทำความดีในแต่ละวัน ๆ ของเรา สะสมไปเรื่อย ๆ นาน ๆ เข้าก็ได้เป็นถ้วย ได้เป็นขัน ได้เป็นถัง พอมาก ๆ เข้า ก็ได้ครึ่งโอ่ง คราวนี้เห็นชัดแล้วว่าเรามีต้นทุนอยู่
สำหรับวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานประจำเดือนกุมภาพันธ์ของเราในวันสุดท้าย ในเรื่องของการปฏิบัตินั้น ได้ย้ำนักย้ำหนาอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาว่า เมื่อทำได้แล้ว ให้พยายามประคับประคองเพื่อรักษาอารมณ์ ให้อยู่กับเราให้ได้นานที่สุด ก็ขออาศัยระยะเวลาที่ว่างเว้นจากการปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือน ลองดูว่าเราสามารถประคองอารมณ์ใจของเรา เพื่อรักษาอารมณ์ให้ทรงตัวได้โดยไม่พลาด ได้นานกี่วัน ?
เรื่องอย่างนี้ต้องซ้อมกันบ่อย ๆ เพราะถ้าหากไม่ซ้อมเอาไว้ เราจะยืนระยะไม่เป็น เมื่อยืนระยะไม่เป็น ถึงเวลาชนกับกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง เราก็จะไม่มีความคล่องตัวที่จะไปสู้กับเขา และไม่มีกำลังที่จะยืนหยัดต่อต้านเขาได้นานเท่าที่ต้องการ
อีกข้อหนึ่งก็คือ การซ้อมเข้าฌานออกฌานของเรา หลายต่อหลายท่านปฏิบัติมา เป็นระยะเวลานับสิบปีหรือหลายสิบปีแล้ว แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะต่อต้านอำนาจของ รัก โลภ โกรธ หลง ได้อย่างใจ เพราะขาดความคล่องตัวในการเข้าออกฌาน ถ้าหากว่าซ้อมจนคล่องตัวจริง ๆ สามารถเข้าได้ทุกเมื่อที่เราต้องการ ถ้ารู้สึกว่าราคะมา โลภะมา โทสะมา โมหะมา เราเข้าฌานหนีได้ทันที ถ้าสมาธิทรงตัวเมื่อไร ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ จะไม่มีอำนาจกินใจเราได้เลย ยกเว้นว่าหลุดจากสมาธิเมื่อไรค่อยว่ากันใหม่
เมื่อฟังมาถึงตรงนี้ ทุกท่านคงเห็นแล้วว่าการซ้อมเข้าออกฌานนั้น จริง ๆ แล้วสำคัญมาก ๆ เหมือนกับนักมวยซ้อมเพื่อความคล่องตัว ก่อนที่จะขึ้นเวทีไปชกกับคู่ต่อสู้ ถ้าหากว่าเราไม่ได้ซ้อมให้เกิดความคล่องตัว ไม่รู้จักสมมติสถานการณ์ ถึงเวลาเจอสถานการณ์จริงเข้า เราก็ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไร โอกาสที่จะแพ้ก็มีสูง
การขยันหมั่นซ้อมบ่อย ๆ เป็นคุณสมบัติที่ดีของนักปฏิบัติ โดยเฉพาะการมีความเพียร ความอดทนบากบั่นไม่ท้อถอย เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัตินั้นเป็นการค่อย ๆ สั่งสมความดีของเรา ทีละเล็กทีละน้อย เหมือนน้ำทีละหยด ๆ ถ้าเราไม่มีความอดทนไม่มีความพากเพียร ระยะแรก ๆ เราแทบมองไม่เห็นว่าเรามีน้ำหรือยัง เพราะว่าภาชนะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างใหญ่
สมมติว่าเป็นตุ่มน้ำ บรรจุเสีย ๘๐ ปีบ พอถึงเวลาน้ำหยดลงไปไม่กี่หยด มองไม่เห็นเลยว่าน้ำอยู่ตรงไหน แต่ถ้ามีความอดทน มีความพากเพียร ค่อย ๆ ทำความดีในแต่ละวัน ๆ ของเรา สะสมไปเรื่อย ๆ นาน ๆ เข้าก็ได้เป็นถ้วย ได้เป็นขัน ได้เป็นถัง พอมาก ๆ เข้า ก็ได้ครึ่งโอ่ง คราวนี้เห็นชัดแล้วว่าเรามีต้นทุนอยู่