เถรี
21-11-2009, 08:01
นั่งในท่าที่ตัวเองสบายที่สุดเท่าที่ทำได้ สำคัญที่สุดก็คือกำหนดร่างของเราให้ตั้งตรงไว้ เพราะว่าร่างกายที่ตั้งตรงนั้น เรื่องของปราณหรือลมหายใจเข้าออก จะเดินได้สะดวก และทำให้สมาธิทรงตัวได้ง่ายขึ้น ให้หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบให้หมดเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นให้กำหนดความรู้สึกไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา
เรื่องของลมหายใจเข้าออก เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทุกกอง เราจะทิ้งเสียไม่ได้ กรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีการกำหนดอานาปานสติกรรมฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกแล้ว จะไม่สามารถทรงตัวได้ อย่างเก่งก็เกิดสมาธิขึ้นมาเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็สูญสลายไป
วันนี้วันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๒ เป็นวันเสาร์ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่ง มาปรารภว่าหลงทาง ก็คือ ไปปฏิบัติในกลุ่มซึ่งดูไประยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่าเพี้ยน จึงได้ถอนตัวออกมา แต่ว่ายังมีโยมเป็นจำนวนมากที่อยู่กับกลุ่มที่ปฏิบัตินั้นอยู่ ก็ขอบอกว่าการปฏิบัติของเรานั้น มันต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อย การไปเข้ากลุ่ม เข้าพวก เข้าสำนัก เปรียบเหมือนกับเราไปเข้าร้านอาหาร เมื่อรู้ตัวว่าร้านนี้ทำอาหารไม่ถูกปาก ไม่ถูกใจของเรา เราก็ขยับเปลี่ยนแปลงไปร้านใหม่ได้ ดังนั้นในเรื่องของการปฏิบัติ ความผิดพลาดหรือหลงทางไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ แต่ว่าถ้ารู้ตัวแล้วไม่แก้ไขต่างหากจึงเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ
นักปฏิบัติจึงต้องมีการทบทวนตัวเองอยู่เสมอ ๆ อย่างเช่นว่า กำลังใจวันนี้ของเราดีกว่าเมื่อวานหรือเปล่า ? ถ้าหากว่าไม่ดี ไม่ดีเพราะเหตุใด ? ถ้าหากว่าดี ดีด้วยเหตุใด ? ถ้าหากว่าท่านทั้งหลาย สามารถที่จะติดตามกำลังใจของตนเองได้ สามารถที่จะรับรู้กำลังใจของตนเองได้ชัดเจน ต่อไปถ้ามีอะไรก็ตามที่เข้ามาสู่ใจของเรา เราก็สามารถกำหนดรู้ได้ง่ายขึ้น ได้สะดวกขึ้น ถึงเวลานั้น การที่จะก้าวขึ้นไปสู่ เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรม ของมหาสติปัฏฐานสูตร ก็จะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น
การที่ตัวเราทบทวนตัวเรานั้น ให้ดูด้วยว่า เรามีความยินดีหรือพอใจในการปฏิบัติอย่างแท้จริงหรือไม่ ? หรือยังเปลี่ยนกลุ่มนั้น ไปกลุ่มนี้ เข้าสำนักนั้นไปเรื่อย โดยที่หาไม่เจอว่าตนเองรักชอบแบบไหน ถ้ายังไม่เจอกลุ่มหรือสายการปฏิบัติที่ถูกต้องตรงกับใจของตนเอง ยังไม่ว่ากัน แต่ถ้าหากเจอแล้ว ยังเปลี่ยนอยู่นั้น เท่าที่เคยพบมาก็มีสองสาเหตุด้วยกัน
สาเหตุที่หนึ่งก็คือ ปฏิบัติแล้วอยากได้ดีจนเกินไป เมื่อได้ดีไม่ทันใจ ก็คิดว่าน่าจะมีแนวการปฏิบัติที่ได้ดีเร็วกว่านี้ ง่ายกว่านี้
สาเหตุที่สองนั้น มีความอดทนอดกลั้นไม่เพียงพอ จะว่าไปแล้วก็คล้ายคลึงกับข้อที่หนึ่ง แต่ว่าความอดทนอดกลั้นไม่เพียงพอนั้น คือเป็นคนใจร้อนใจเร็ว อยากเห็นผลในการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว
ขอบอกว่าหลักการปฏิบัติทุกอย่างเป็นการสั่งสม ค่อย ๆ ไปทีละเล็กทีละน้อย นานไปก็จะมีมากเข้า ได้มากเข้า ถ้าไม่ใช่บุคคลที่มีของเก่าจริง ๆ โอกาสที่จะปฏิบัติแล้วเกิดผลทันตาทันใจนั้น เป็นเรื่องยาก ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือว่า เราต้องทำตนให้พอใจกับหลักการปฏิบัติ แล้วทุ่มเทให้กับการปฏิบัติอย่างจริง ๆ จัง ๆ ไม่อย่างนั้นต่อให้เปลี่ยนสำนักการปฏิบัติกี่ครั้ง เปลี่ยนสายการปฏิบัติกี่ครั้ง มันก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น คนอื่นอาจจะแซงหน้าไปแล้ว เราเองที่เคยอยู่หน้าก็กลายเป็นล้าหลังแล้ว
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องดูให้เป็น ต้องมองให้เห็น และใช้วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ แก้ไขให้ได้ ไม่อย่างนั้นโอกาสที่เราจะก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมีน้อย
เรื่องของลมหายใจเข้าออก เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทุกกอง เราจะทิ้งเสียไม่ได้ กรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีการกำหนดอานาปานสติกรรมฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกแล้ว จะไม่สามารถทรงตัวได้ อย่างเก่งก็เกิดสมาธิขึ้นมาเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็สูญสลายไป
วันนี้วันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๒ เป็นวันเสาร์ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่ง มาปรารภว่าหลงทาง ก็คือ ไปปฏิบัติในกลุ่มซึ่งดูไประยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่าเพี้ยน จึงได้ถอนตัวออกมา แต่ว่ายังมีโยมเป็นจำนวนมากที่อยู่กับกลุ่มที่ปฏิบัตินั้นอยู่ ก็ขอบอกว่าการปฏิบัติของเรานั้น มันต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อย การไปเข้ากลุ่ม เข้าพวก เข้าสำนัก เปรียบเหมือนกับเราไปเข้าร้านอาหาร เมื่อรู้ตัวว่าร้านนี้ทำอาหารไม่ถูกปาก ไม่ถูกใจของเรา เราก็ขยับเปลี่ยนแปลงไปร้านใหม่ได้ ดังนั้นในเรื่องของการปฏิบัติ ความผิดพลาดหรือหลงทางไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ แต่ว่าถ้ารู้ตัวแล้วไม่แก้ไขต่างหากจึงเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ
นักปฏิบัติจึงต้องมีการทบทวนตัวเองอยู่เสมอ ๆ อย่างเช่นว่า กำลังใจวันนี้ของเราดีกว่าเมื่อวานหรือเปล่า ? ถ้าหากว่าไม่ดี ไม่ดีเพราะเหตุใด ? ถ้าหากว่าดี ดีด้วยเหตุใด ? ถ้าหากว่าท่านทั้งหลาย สามารถที่จะติดตามกำลังใจของตนเองได้ สามารถที่จะรับรู้กำลังใจของตนเองได้ชัดเจน ต่อไปถ้ามีอะไรก็ตามที่เข้ามาสู่ใจของเรา เราก็สามารถกำหนดรู้ได้ง่ายขึ้น ได้สะดวกขึ้น ถึงเวลานั้น การที่จะก้าวขึ้นไปสู่ เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรม ของมหาสติปัฏฐานสูตร ก็จะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น
การที่ตัวเราทบทวนตัวเรานั้น ให้ดูด้วยว่า เรามีความยินดีหรือพอใจในการปฏิบัติอย่างแท้จริงหรือไม่ ? หรือยังเปลี่ยนกลุ่มนั้น ไปกลุ่มนี้ เข้าสำนักนั้นไปเรื่อย โดยที่หาไม่เจอว่าตนเองรักชอบแบบไหน ถ้ายังไม่เจอกลุ่มหรือสายการปฏิบัติที่ถูกต้องตรงกับใจของตนเอง ยังไม่ว่ากัน แต่ถ้าหากเจอแล้ว ยังเปลี่ยนอยู่นั้น เท่าที่เคยพบมาก็มีสองสาเหตุด้วยกัน
สาเหตุที่หนึ่งก็คือ ปฏิบัติแล้วอยากได้ดีจนเกินไป เมื่อได้ดีไม่ทันใจ ก็คิดว่าน่าจะมีแนวการปฏิบัติที่ได้ดีเร็วกว่านี้ ง่ายกว่านี้
สาเหตุที่สองนั้น มีความอดทนอดกลั้นไม่เพียงพอ จะว่าไปแล้วก็คล้ายคลึงกับข้อที่หนึ่ง แต่ว่าความอดทนอดกลั้นไม่เพียงพอนั้น คือเป็นคนใจร้อนใจเร็ว อยากเห็นผลในการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว
ขอบอกว่าหลักการปฏิบัติทุกอย่างเป็นการสั่งสม ค่อย ๆ ไปทีละเล็กทีละน้อย นานไปก็จะมีมากเข้า ได้มากเข้า ถ้าไม่ใช่บุคคลที่มีของเก่าจริง ๆ โอกาสที่จะปฏิบัติแล้วเกิดผลทันตาทันใจนั้น เป็นเรื่องยาก ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือว่า เราต้องทำตนให้พอใจกับหลักการปฏิบัติ แล้วทุ่มเทให้กับการปฏิบัติอย่างจริง ๆ จัง ๆ ไม่อย่างนั้นต่อให้เปลี่ยนสำนักการปฏิบัติกี่ครั้ง เปลี่ยนสายการปฏิบัติกี่ครั้ง มันก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น คนอื่นอาจจะแซงหน้าไปแล้ว เราเองที่เคยอยู่หน้าก็กลายเป็นล้าหลังแล้ว
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องดูให้เป็น ต้องมองให้เห็น และใช้วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ แก้ไขให้ได้ ไม่อย่างนั้นโอกาสที่เราจะก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมีน้อย