ฅนเมืองพริบพรี
01-10-2009, 11:52
หลวงพ่อ (หลวงพ่อฤๅษีหรือพระราชพรหมยานมหาเถระ) มาสอนวิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม ๔) โดยให้หลักไว้ดังนี้
โรคปากเสีย คือ โรคชอบต่อกรรม เมื่อถูกกระทบทางทวารทั้ง ๖ (ประตูทั้ง ๖ , อายตนะ ๖)
(ประตูทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะสัมผัส ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบผิวกายและธรรมารมณ์) เพราะอุเบกขาหรือวางเฉยไม่เป็น เบรกจึงแตกอยู่เป็นปกติ มีผลให้ทำกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ไม่เต็มสักที (กรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ มี ไม่พูดโกหก , ไม่พูดคำหยาบ , ไม่พูดส่อเสียดหรือพูดนินทาผู้อื่น และไม่พูดเรื่องไร้สาระไม่เกิดประโยชน์)
วิธีปฏิบัติ
๑) พยายามคิดเสียก่อนจึงค่อยพูด
๒) พยายามคิดอยู่ตลอดเวลาที่ฟังคนอื่นเขาพูด
๓) พยายามดึงจิตอย่าไปไหวตามคำพูดของผู้อื่น (โดยฟังอย่างเดียว ห้ามปรุงแต่งธรรมนั้น ๆ )
๔) พยายามฟังแล้วกรองเอาสาระจากคำพูดนั้น ๆ ของเขา ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (ด้วยปัญญา)
๕) เวลาคนอื่นเขาพูด จะยาวหรือสั้น ปล่อยเขาพูดให้จบก่อน เราใช้ความคิดฟังไปแล้วจะรู้ว่า คำพูดนั้น ๆ มีสาระหรือไม่มีสาระ ควรพูดหรือไม่ควรพูดต่อ หรือควรวาง ควรตัด ก็รู้ได้ด้วยความคิด ไม่ใช่ประโยคไหนมากระทบหูแล้ว กูอยากจะพูดก็ว่าไปเรื่อย ๆ โดยไร้ความคิดพิจารณา
๖) หากทำตาม ๕ ข้อแรกแล้ว คิดอยากพูดบ้าง ก็ให้พิจารณาว่า พูดแล้วเป็นคุณหรือโทษ มีสาระหรือไม่มีสาระ ยิ่งเป็นสาระธรรมในพระพุทธศาสนายิ่งสำคัญ จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเป็นความจริง ไม่ผิดศีล ไม่ผิดพระวินัย ไม่ผิดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ผิดก็พูดได้
สรุปว่าต้อง นิสสัมมะ กรณัง เสยโย หรือใคร่ครวญด้วยปัญญาเสียก่อนจึงค่อยพูด เพราะแม้ว่าจะเป็นจริงแต่พูดแล้วคนฟังไม่เชื่อไม่ศรัทธา ก็ไร้ประโยชน์ที่จะพูด
โรคปากเสีย คือ โรคชอบต่อกรรม เมื่อถูกกระทบทางทวารทั้ง ๖ (ประตูทั้ง ๖ , อายตนะ ๖)
(ประตูทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะสัมผัส ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบผิวกายและธรรมารมณ์) เพราะอุเบกขาหรือวางเฉยไม่เป็น เบรกจึงแตกอยู่เป็นปกติ มีผลให้ทำกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ไม่เต็มสักที (กรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ มี ไม่พูดโกหก , ไม่พูดคำหยาบ , ไม่พูดส่อเสียดหรือพูดนินทาผู้อื่น และไม่พูดเรื่องไร้สาระไม่เกิดประโยชน์)
วิธีปฏิบัติ
๑) พยายามคิดเสียก่อนจึงค่อยพูด
๒) พยายามคิดอยู่ตลอดเวลาที่ฟังคนอื่นเขาพูด
๓) พยายามดึงจิตอย่าไปไหวตามคำพูดของผู้อื่น (โดยฟังอย่างเดียว ห้ามปรุงแต่งธรรมนั้น ๆ )
๔) พยายามฟังแล้วกรองเอาสาระจากคำพูดนั้น ๆ ของเขา ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (ด้วยปัญญา)
๕) เวลาคนอื่นเขาพูด จะยาวหรือสั้น ปล่อยเขาพูดให้จบก่อน เราใช้ความคิดฟังไปแล้วจะรู้ว่า คำพูดนั้น ๆ มีสาระหรือไม่มีสาระ ควรพูดหรือไม่ควรพูดต่อ หรือควรวาง ควรตัด ก็รู้ได้ด้วยความคิด ไม่ใช่ประโยคไหนมากระทบหูแล้ว กูอยากจะพูดก็ว่าไปเรื่อย ๆ โดยไร้ความคิดพิจารณา
๖) หากทำตาม ๕ ข้อแรกแล้ว คิดอยากพูดบ้าง ก็ให้พิจารณาว่า พูดแล้วเป็นคุณหรือโทษ มีสาระหรือไม่มีสาระ ยิ่งเป็นสาระธรรมในพระพุทธศาสนายิ่งสำคัญ จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเป็นความจริง ไม่ผิดศีล ไม่ผิดพระวินัย ไม่ผิดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ผิดก็พูดได้
สรุปว่าต้อง นิสสัมมะ กรณัง เสยโย หรือใคร่ครวญด้วยปัญญาเสียก่อนจึงค่อยพูด เพราะแม้ว่าจะเป็นจริงแต่พูดแล้วคนฟังไม่เชื่อไม่ศรัทธา ก็ไร้ประโยชน์ที่จะพูด